ข้ามไปเนื้อหา

สมศักดิ์ เทพสุทิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมศักดิ์ เทพสุทิน
สมศักดิ์ ใน พ.ศ. 2562
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 239 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
ถัดไปภูมิธรรม เวชยชัย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
พิชัย ชุณหวชิร
อนุทิน ชาญวีรกูล
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(0 ปี 156 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
วิษณุ เครืองาม
ชวลิต ยงใจยุทธ
สุวิทย์ คุณกิตติ
จาตุรนต์ ฉายแสง
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
โภคิน พลกุล
ถัดไปสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ชิดชัย วรรณสถิตย์
จาตุรนต์ ฉายแสง
สุรเกียรติ เสถียรไทย
พินิจ จารุสมบัติ
วิษณุ เครืองาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 213 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าชลน่าน ศรีแก้ว
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(0 ปี 15 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้ามนตรี พงษ์พานิช
ถัดไปรักเกียรติ สุขธนะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547
(0 ปี 333 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยเนวิน ชิดชอบ
ก่อนหน้าสรอรรถ กลิ่นประทุม
ถัดไปวันมูหะมัดนอร์ มะทา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541
(0 ปี 324 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
ถัดไปสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(1 ปี 228 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอดิศัย โพธารามิก
ถัดไปพลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 250 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าประจิน จั่นตอง
ถัดไปวิษณุ เครืองาม
(รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน)
ทวี สอดส่อง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(0 ปี 54 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จรูญ งามพิเชษฐ์
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
รัฐมนตรีว่าการบุญพันธ์ แขวัฒนะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 129 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สมบัติ อุทัยสาง
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย
พรรคการเมืองกิจสังคม (2520–2544)
ไทยรักไทย (2544–2549)
พลังประชาชน (2550)
มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2552–2556)
เพื่อไทย (2556–2561,2566–ปัจจุบัน)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
คู่สมรสอนงค์วรรณ เทพสุทิน
ลายมือชื่อ

สมศักดิ์ เทพสุทิน (เกิด 13 มกราคม พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย

สมศักดิ์เคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จากการเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 แต่ยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการจัดตั้งกลุ่มมัชฌิมา จาก สส. กลุ่มวังน้ำยมเดิม ที่ลาออกจากพรรคไทยรักไทยก่อนการตัดสินคดียุบพรรค โดยต่อมากลุ่มนี้ย้ายไปสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคภูมิใจไทยตามลำดับ

ประวัติ

[แก้]

สมศักดิ์ เทพสุทิน มีชื่อเล่นว่า "เอ็ม" เป็นบุตรของนายประเสริฐ และนางพร เทพสุทิน เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาชั้น มศ.3 จากโรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร จบการศึกษาจาก ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2521 และ ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538[1]

ชีวิตครอบครัว สมรสกับอนงค์วรรณ เทพสุทิน มีบุตร - ธิดา 2 คน คือ ณัฐธิดา เทพสุทิน และ เทิดไท เทพสุทิน และดำเนินธุรกิจก่อสร้าง (ห้างหุ้นส่วน สุโขทัย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) และกิจการฟาร์ม (เทิดไทฟาร์ม) ซึ่งหลังจากโดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากการยุบพรรคไทยรักไทย สมศักดิ์ได้กลับมาบริหารเทิดไทฟาร์ม[2]

พี่ชายของภรรยานายสมศักดิ์ เทพสุทิน ได้แก่ นายมนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยสองสมัย[3]

พ.ศ. 2556 ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุโขทัย

การเมือง

[แก้]

สมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี 2526 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลของพลเอก สุจินดา คราประยูร ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] ในรัฐบาลชุดต่อมาของชวน หลีกภัย จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[5] ต่อมาในคณะรัฐมนตรีบรรหาร เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเช่นเดิม[6] ต่อเนื่องมาจนกระทั่งรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และยังได้รับการปรับใปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สมศักดิ์ เทพสุทิน ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลชวน 2 ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี 2544 โดยให้ภรรยาลงสมัครในระบบเขตแทน และสมศักดิ์ ยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2545 แล้วจึงปรับมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา จากนั้นในปี 2548 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้งในรัฐบาลทักษิณ 2 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[7] และปรับเปลี่ยนมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

สมศักดิ์ เป็นหัวหน้ากลุ่มการเมืองในพรรคไทยรักไทยที่ชื่อ "กลุ่มวังน้ำยม" อันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในพรรค ในการหาเสียงการเลือกตั้งในปี 2548 สมศักดิ์ มีนโยบายที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ "โคล้านตัว" เป็นนโยบายที่จะทำการแจกโคให้แก่เกษตรกรฟรีทั่วประเทศ และเป็นที่มาของการจัดตั้งบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด แต่โครงการดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ สามารถดำเนินการจัดหาโคได้เพียง 21,684 ตัวเท่านั้น[8]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549

[แก้]

หลังการรัฐประหารในปี 2549 สมศักดิ์และกลุ่มวังน้ำยมได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย ไปจัดตั้งกลุ่มของตัวเองขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อว่า "กลุ่มมัชฌิมา" ต่อมาในปี 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[9] แต่ก็ยังดำเนินการทางการเมือง ด้วยการนำพาสมาชิกที่เหลือไปสังกัดกับทางพรรคประชาราช โดยที่นางอนงค์วรรณได้เป็นเลขาธิการพรรคในเวลาต่อมา แต่ก็อยู่กับทางพรรคประชาราชได้ไม่นาน เมื่อประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีความเห็นไม่ลงตัวกับเสนาะ เทียนทอง กลุ่มของประชัยและสมศักดิ์จึงได้ไปรวมตัวกันใหม่ ในชื่อ พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยที่นางอนงค์วรรณก็ได้เป็นเลขาธิการพรรคด้วย

ต่อมาในปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำพิพากษายุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ ส.ส. ในกลุ่มของนายสมศักดิ์ จึงได้ย้ายมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเพื่อนเนวิน ในนามพรรคภูมิใจไทย และนายสมศักดิ์ ก็ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุมส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[10]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 16[11]

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557

[แก้]

ในปี 2561 สมศักดิ์ ได้ระบุจะไม่ทำการยืนยันสมาชิกกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเท่ากับสิ้นสุดการเป็นสมาชิกพรรค[12] และได้ประกาศเข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อกลุ่มการเมืองของตนจากกลุ่ม วังน้ำยม หรือ มัชฌิมา เป็น กลุ่มสามมิตร โดยจับมือกับสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตเลขาธิการ พรรคไทยรักไทย ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มสามมิตรทำการทาบทามบรรดาอดีต ส.ส. ส.ว. และนักการเมืองท้องถิ่นให้เข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ

กระทั่งวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566 สมศักดิ์ได้แถลงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง พร้อมอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และอดีตหัวหน้ากลุ่มสามมิตร สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ[13] [14] หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[15] แต่ต่อมาถูกโยกย้ายตำแหน่งไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แทน น.พ.ชลน่าน ศรีแก้ว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : นายสมศักดิ์  เทพสุทิน
  2. จากเสนาบดีสู่ ผจก.ฟาร์ม "เทิดไท" ชีวิตพอเพียง "สมศักดิ์ เทพสุทิน"[ลิงก์เสีย]
  3. ผลนับคะแนนเลือกตั้ง นายก อบจ.สุโขทัย อย่างไม่เป็นทางการ "มนู พุกประเสริฐ" พี่ภรรยา "สมศักดิ์ เทพสุทิน" แชมป์เก่า ยังรักษาเก้าอี้ไว้ได้
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๑ หน้า ๓, ๑๗ เมษายน ๒๕๓๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๔๔ ง หน้า ๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๒๒ ง หน้า ๒, ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๘
  8. รายงานความคืบหน้าในการยุบเลิกบริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด[ลิงก์เสีย]
  9. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  10. "บุญจง ยัน ภท.มีเอกภาพ ปัดสมคิด เป็นหัวหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2010-11-05.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๖๖, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
  12. "'สมศักดิ์ เทพสุทิน-แกนนำกลุ่มวังน้ำยม' เตรียมโบกมือลา 'เพื่อไทย'". มติชนออนไลน์. 2018-04-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. สมศักดิ์ เปิดใจ ซบ เพื่อไทย ตั้งรัฐบาลพรรคเดียว เผย พปชร.ทำงานยาก
  14. “สุริยะ” อ้างพรรคร่วมไม่มีเอกภาพจึงต้องเข้าหาแลนด์สไลด์
  15. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมศักดิ์ เทพสุทิน ถัดไป
ชลน่าน ศรีแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม.63)
(28 เมษายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
วิษณุ เครืองาม
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
อนุทิน ชาญวีรกูล
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ดอน ปรมัตถ์วินัย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม.63)
(1 กันยายน พ.ศ. 2566 - 27 เมษายน พ.ศ. 2567)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม.62)
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566)
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง