ข้ามไปเนื้อหา

ดาบชัย อัคราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาบชัย อัคราช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ธันวาคม พ.ศ. 2468
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
เสียชีวิต23 มกราคม พ.ศ. 2546 (77 ปี)
คู่สมรสทิพวัลย์ อัคราช

ดาบชัย อัคราช (10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – 23 มกราคม พ.ศ. 2546) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร 4 สมัย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองสกลนคร 4 สมัย[1]

ประวัติ

[แก้]

นายดาบชัย อัคราช เป็นบุตรของนายโส และนางพรหมมา อัคราช เกิดที่บ้านงิ้ว ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2468 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร ด้านครอบครัวสมรสกับนางทิพวัลย์ อัคราช มีบุตร 6 คน คือ

  • นายดิเรก อัคราช อดีต ส.ส.สกลนคร
  • นายดิลก อัคราช อดีตนายกเทศมนตรีเมืองสกลนคร
  • นางชายา มุ่งดี
  • นายศักดา อัคราช
  • นายสุรเดช อัคราช ผู้อำนวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดมุกดาหาร
  • นายเดชา อัคราช

การทำงาน

[แก้]

นายดาบชัย อัคราช เริ่มทำงานเป็นครูที่โรงเรียนราษฎร์อนุกูลวิทยา ต่อมาเริ่มทำงานการเมืองโดยสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสกลนคร ในปี พ.ศ. 2497 และเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ในปี พ.ศ. 2498 กระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ จึงเป็นอันสั้นสุดการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น

ต่อมานายดาบชัย อัคราช ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคชาติไทย และสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติประชาชน

นายดาบชัย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ. 2519[3] แต่คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[4] จึงเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีอายุสั้นที่สุดด้วยคือ 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง ทำให้ได้รับฉายาว่า "รัฐบาลวันเดียว"

นายดาบชัย อัคราช เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสยามประชาธิปไตย และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ในคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ดาบชัย อัคราช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตย (พ.ศ. 2498)[6]
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-19. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๓๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๙ เมษายน ๒๕๑๔