ข้ามไปเนื้อหา

กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าสุเทพ เทพรักษ์
ถัดไปหม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสังข์ทอง ศรีธเรศ
ถัดไปเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (79 ปี)
อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย

กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ 5 สมัย

ประวัติ

[แก้]

กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายวุฒิพงษ์ และ นางทองพูน เรืองกาญจนเศรษฐ์ จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ จาก MURRAY STATE UNIVERSITY MURRAY KY ปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ จาก BALL STATE UNIVERSITY MUNCIE INDI [1]

งานการเมือง

[แก้]

กำชัย ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 5 ครั้ง

กำชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม.48) [2][3] และ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม.50)[4]

ก่อนที่ต่อมาจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายประดุจ มั่นหมาย จากพรรคไทยรักไทย และวางมือทางการเมืองในที่สุด

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
  4. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗