ข้ามไปเนื้อหา

ชูศักดิ์ ศิรินิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูศักดิ์ ศิรินิล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 83 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จิราพร สินธุไพร
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าจักรพงษ์ แสงมณี
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 215 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จักรภพ เพ็ญแข
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าทิพาวดี เมฆสวรรค์
ถัดไปสุขุมพงศ์ โง่นคำ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 64 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าธีรพล นพรัมภา
ถัดไปนิพนธ์ พร้อมพันธุ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 195 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(5 ปี 49 วัน)
รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 58 วัน)
ก่อนหน้าชลน่าน ศรีแก้ว
(หัวหน้าพรรค)
ถัดไปแพทองธาร ชินวัตร
(หัวหน้าพรรค)
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(1 ปี 355 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 (76 ปี)
อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2515–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2556–ปัจจุบัน)
คู่สมรสประภาพรรณ ศิรินิล

รองศาสตราจารย์ ชูศักดิ์ ศิ���ินิล (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491) เป็นนักการเมืองชาวไทย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติ

[แก้]

ชูศักดิ์ ศิรินิล มีชื่อเล่นว่า "ตุ๋ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ที่ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร[1] เป็นบุตรของนายเชื่อม-นางส้มล้ำ ศิรินิล สมรสกับนางประภาพรรณ ศิรินิล มีบุตรสาว 2 คน คือ ทพ.ญ. นฤมล ผลประเสริฐ และ พญ. ดลฤดี ศิรินิล

รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ (เกียรตินิยมดี) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบเนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา) และระดับปริญญาโท สาขากฎหมายเปรียบเทียบ จาก Southern Methodist University, Dallas, รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

[แก้]

รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2515 เรื่อยมาจนกระทั่งได้รับตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2535 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก 2 สมัยติดต่อกัน ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537[2] โดยภารกิจซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือ การอนุญาตให้นักศึกษาจัดการชุมนุมร่วมกับประชาชน ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย ระหว่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นอกจากการเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ยังเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อีกด้วย

นอกเหนือจากการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแล้ว รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) ปัจจุบันคือ ป.ป.ช. และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

งานการเมือง

[แก้]

รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เข้าร่วมงานการเมืองโดยการเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 และยังเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรหลายคณะ ต่อมาภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2549 รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค

ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบงานด้านกฎหมาย ต่อมาภายหลังจากการพ้นจากตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งพรรคพลังประชาชน ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล จึงได้เข้ามารับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[3]

ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 22[5] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 12[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[7] และในการเลือกตั้งอีกสามปีถัดมา เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ในลำดับที่ 4[8] และได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 อีกด้วย[9]

ทั้งนี้ หลังจากนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดรักษาการมีมติเลือกชูศักดิ์เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค[10] ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม ปีเดียวกัน ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติให้แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และชูศักดิ์เป็นรองหัวหน้าพรรรคอีกครั้ง เขาจึงพ้นจากตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรค[11]

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ชูศักดิ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร[12] โดยดูแลและรับผิดชอบข้อกฎหมายให้กับรัฐบาลเป็นหลัก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 215/2551 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายชูศักดิ์ ศิรินิล)
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  8. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  9. "สรุปชื่อ ประธาน กมธ. 35 คณะ ขาด 'กมธ.สวัสดิการสังคม' นัดเลือกอีกที 11 ต.ค. คาด 'ณัฐชา' นั่งหัวโต๊ะ". วอยซ์ทีวี. 2023-10-05. สืบค้นเมื่อ 2023-11-29.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
  11. "มติเพื่อไทย เลือก "แพทองธาร" หัวหน้าพรรคคนใหม่". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
  12. "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ชูศักดิ์ ศิรินิล ถัดไป
จักรพงษ์ แสงมณี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
(3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1
(6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
สุขุมพงศ์ โง่นคำ
สุพล ฟองงาม
ชลน่าน ศรีแก้ว
(หัวหน้าพรรค)

รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(30 สิงหาคม – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566)
แพทองธาร ชินวัตร
(หัวหน้าพรรค)