วีรพงษ์ รามางกูร
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
วีรพงษ์ รามางกูร | |
---|---|
วีรพงษ์ ใน พ.ศ. 2509 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | ประมวล สภาวสุ |
ถัดไป | บรรหาร ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | ชวลิต ธนะชานันท์ |
ถัดไป | ชวลิต โอสถานุเคราะห์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (78 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ลดาวัลย์ รามางกูร |
ลายมือชื่อ | |
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร (1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) หรือ ดร.โกร่ง[1] เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย[2] อดีตที่ปรึกษาเศรษฐกิจในหลายรัฐบาล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [3] อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตประธานกรรมการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)[4] อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) และอดีตกรรมการอิสระ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ชาติภูมิ
[แก้]ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เดิมชื่อ ประดับ บุคคละ เกิดเมื่อวันท���่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรชายร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร (แดง) หรือประดิษฐ์ บุคคละ และนางบุญศรี รามางกูร (สกุลเดิม เกิดเล็ก) เชื้อสายฝ่ายปู่เป็นตระกูลเจ้านายลาวเวียงจันทน์ผู้ปกครองเมืองธาตุพนม (เมืองพนม) ในอดีต เชื้อสายฝ่ายย่าเป็นตระกูลเจ้านายภูไทเมืองวังผู้ปกครองเมืองเรณูนคร (เมืองเว) ในอดีต ปัจจุบันคืออำเภอธาตุพนมและอำเภอเรณูนครในจังหวัดนครพนม
ปู่ของวีรพงษ์ รามางกูร นามว่าเจ้าพระอุปฮาชา (เฮือง รามางกูร) ผู้ตั้งสกุลรามางกูรแห่งอำเภอธาตุพนม บุตรชายลำดับ 3 ของอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุณ (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมคนที่ 2 กับอาชญานางบุษดีธิดาหมื่นนำรวงกรมการธาตุพนมและหลานสาวกวานหลวงอามาตย์ (อำนาจ รามางกูร) นายกองข้าโอกาสพระธาตุพนมและอดีตกวานเวียงชะโนด ในอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ต้นตระกูลฝ่ายคุณปู่นามว่าอาชญาหลวงรามราชรามางกูร หรือขุนรามราชรามางกูร (ราม ต้นตระกูล รามางกูร) คนทั่วไปรู้จักในนามเจ้าพ่อขุนรามหรือเจ้าพ่อขุนโอกาส เจ้าเมืองธาตุพนมคนแรกในราชวงศ์เวียงจันทน์ กับอาชญานางยอดแก้วสิริบุญมาธิดาเจ้าอุปละ (ศรีสุมังค์) แห่งจำปาศักดิ์ นอกจากนี้ วีรพงษ์ รามางกูร ยังมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมคนที่ 3 ลูกพี่ลูกน้องของเจ้าพระอุปราชา (เฮือง รามางกูร) และมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจ้าพระอัครบุตร์ (บุญมี ต้นตระกูล บุคคละ) กรมการธาตุพนมอดีตผู้ปกครองข้าพระธาตุพนมฝั่งซ้ายน้ำโขงในอารักขาฝรั่งเศสซึ่งเป็นพี่ชายของเจ้าพระอุปราชา (เฮือ�� รามางกูร)[5] ตระกูลฝ่ายบิดาของวีรพงษ์ รามางกูร สืบเชื้อสายเจ้าเมือง (ขุนโอกาส) และนายกอง ผู้ดูแลรักษาพระธาตุพนมและปกครองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมมาหลายชั่วอายุคน ตลอดจนรับราชการในเมืองนครจำปาศักดิ์และสืบเชื้อสายปฐมวงศ์จากราชวงศ์เวียงจันทน์สายสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารด้วย
ฝ่ายย่าของวีรพงษ์ รามางกูร นามว่าอาชญานางสูนทอง รามางกูร (สกุลเดิม บัวสาย) ธิดาของอาชญานางผายี หลานของเพี้ยพรรณละบุตร์ (พัน บัวสาย ต้นตระกูลพรรณุวงศ์) แห่งอำเภอเรณูนคร กับอาชญานางซืม ต้นตระกูลฝ่ายย่านามว่า เจ้าอุปฮาต (บุตร บัวสาย) อุปฮาตคนแรกแห่งเมืองเรณูนคร กับอาชญานางเอื้อยกกพี่สาวพระแก้วโกมล (เพชร โกพลรัตน์) เจ้าเมืองเรณูนครคนแรก และพระแก้วโกมล (สาย แก้วมณีชัย) เจ้าเมืองเรณูนครคนที่ 2
ประวัติ
[แก้]เมื่อวัยเยาว์นั้นกรุงเทพมหานครเกิดสงคราม วีรพงษ์จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับยายซึ่งมีอาชีพทำนา ที่อำเภอบางบ่อ โดยมีป้าเป็นผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด ส่วนบิดาทำงานอยู่ที่โรงพักบางรักแล้วย้ายไปอยู่พญาไท ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานตามบิดาไปอยู่ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยอาศัยอยู่กับเจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ผู้เป็นปู่ที่ธาตุพนมเป็นเวลาถึง 7 ปี
ด้วยปัญหาความขัดแย้งของตระกูลเจ้านายธาตุพนมเดิม เป็นเหตุให้เจ้าพระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) ซึ่งแต่เดิมใช้สกุล บุคคละ ตามพี่ชายคนโตคือ เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) เจ้าพระอุปฮาตได้ปรึกษากับบุตรชายคนรองคือ นายดวง รามางกูร (ป.ธ., พระราชทานเพลิง) ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของวีรพงษ์ตั้งสกุลรามางกูรขึ้นใหม่ เป็นเหตุให้ทายาทสกุลบุคคละเดิม รวมถึง วีรพงษ์ต้องเปลี่ยนสกุลจากบุคคละมาเป็นรามางกูรตามปู่และบิดาของตน
วีรพงษ์มีความขยันขันแข็งพากเพียร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนเป็นอันดับ 1 ในชั้นเรียนมาโดยตลอด จนเป็นที่เล่าลือและชื่นชมในหมู่ญาติและครูอาจารย์ เมื่อวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ตัวจังหวัดนครพนม คือโรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสุนทรวิจิตร จนจบประถม 4 ก่อนจะย้ายตามบิดาเข้ากรุงเทพมหานคร อีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2496 ฝ่ายบิดานั้นได้ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนศรีอยุธยา เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จากนั้นศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ รุ่นเดียวกับสุรศักดิ์ นานานุกูล เมธี ครองแก้ว และศิริบูรณ์ เนาถิ่นสุข จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง เป็นคนแรกจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะที่ศึกษาอยู่ก็สอบได้เป็นอันดับ 1 ทุกเทอม ต่อมาได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาการต่างประเทศและการทูต ร่วมมือกับ ศ. บำรุงสุข สีหอำไพ ก่อตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชน ซึ่งต่อมาคือคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่นานจึงได้รับทุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาเศรษฐมิติ (Econometrics) ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกานาน 5 ปีครึ่ง และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มอบทุนค่าใช้จ่ายให้มากสุดถึงเดือนละ 300 เหรียญ เป็นเหตุให้หลังจากกลับจากการศึกษาต่อ วีรพงษ์สามารถสร้างบ้านส่วนตัวหลังแรกได้สำเร็จ
ต้นปี พ.ศ. 2515 ได้กลับมาเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ พ.ศ. 2519 อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังปี พ.ศ. 2526 เข้าทำงานที่สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จากนั้น พ.ศ. 2533 ได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลประเทศลาว ในการวางแผนเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบทุนนิยม ตามนโยบายเปิดประเทศ เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน และยกย่องกันว่าทางรัฐบาลลาวได้ไว้วางใจและนับถือ วีรพงษ์ว่าเป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศลาวเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ได้ให้วีรพงษ์ เข้าไปช่วยเหลือการสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเงินและเศรษฐกิจของลาว[6]
วีรพงษ์มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน ได้แก่
- วีรพงษ์ รามางกูร
- นางสาวนพรัตน์ รามางกูร (หนูแดง)
- จ่าสิบตรี วีรศักดิ์ รามางกูร
- นางวิไลลักษณ์ รามางกูร (นีโบน) สมรสกับนายเควิน นีโบน (Kevin Kneebone)
- นางศิริพร รามางกูร (ธะเศรษฐ) สมรสกับนายกฤตย์ ธะเศรษฐ
- เด็กชายวิโรจน์ รามางกูร (ถึงแก่กรรมเมื่อยังเด็ก)
วีรพงษ์สมรสทั้งสิ้น 2 ครั้ง โดยครั้งแรกกับนางลดาวัลย์ รามางกูร (สกุลเดิม ติรสวัสดิชัย) พี่น้องของนายอภิชาติ ติรสวัสชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ วีรพงษ์ รามางกูร มีบุตรธิดา 3 คนได้แก่[7]
- นางสาววรมน รามางกูร
- นายวีรมน รามางกูร
- นายวรวงศ์ รามางกูร ปัจจุบันเป็น กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
ก่อนเสียชีวิต วีรพงษ์พำนักอยู่ที่ จวนขุนราม เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา[8] และยังเป็นเจ้าของที่ดินบางส่วนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านหัวบึง ทิศเหนือของวัดหัวเวียงรังษี ที่ได้รับส่วนแบ่งจากบรรพบุรุษในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ที่ดินอันเป็นมรดกบริเวณนี้ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของ��าณาบริเวณที่ตั้งโฮงที่ประทับของเจ้าเมืองธาตุพนมและเชื้อสายในอดีต นอกจากนี้ วีรพงษ์ยังเป็นผู้นำบุตรหลานตระกูลรามางกูรในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นผู้นำการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดหัวเวียงรังสี ซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลเจ้าเมืองธาตุพนมมาแต่โบราณ เป็นผู้ร่วมมือกับนายดวง รามางกูร ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ทำการรวบรวมสายสกุลของตระกูลเจ้าเมืองธาตุพนม รวมทั้งได้รับการนับถือว่าเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุดของตระกูลรามางกูร และที่สำคัญยังเป็นผู้อัญเชิญกฐินพระราชทานไปทอดถวายยังวัดสำคัญ ๆ ของประเทศลาวด้วย
วีรพงษ์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 อายุได้ 78 ปี ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ[9]
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร โดยมี พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อาณัติ อาภาภิรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมพิธี
การทำงาน
[แก้]อาจารย์ประจำ
[แก้]หลังจากจบการศึกษาใน พ.ศ. 2508 วีรพงษ์ได้บรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในฐานะผู้บุกเบิกสร้างแผนกอิสระสื่อสารมวลชนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาเป็นคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น วีรพงษ์ได้ทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ จบปริญญาโท และปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
วีรพงษ์ได้เป็นอาจารย์สอนที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอาจารย์คนแรกของไทยที่สอนทางด้านเศรษฐมิติ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานการเมือง
[แก้]วีรพงษ์เคยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[10] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[11] รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[12] ที่ปรึกษาของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช
ในเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ พ.ศ. 2554 วีรพงษ์ได้รับตำแหน่งจากคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) โดยมีหน้าที่สร้างความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติกลับคืนมายังประเทศไทย และวางแผนการลงทุนระบบน้ำทั้งหมด[1]และเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) [13]
งานสังคม
[แก้]วีรพงษ์ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมไทย-ลาว เพื่อ มิตรภาพ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2547[14] เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย อุปนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย กรรมการสมาคมไทย-อเมริกาศึกษา กรรมการสมาคมรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหารสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย เป็นต้น
งานภาคเอกชน
[แก้]วีรพงษ์เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางภาคเอกชนหลายตำแหน่งโดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ 8 บริษัท และ กรรมการหรือที่ปรึกษาอีก 20 บริษัท และหนึ่งในนั้นคือ ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท แอดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) เจ้าของผลิตภัณฑ์กระดาษดับเบิ้ลเอ
ทรัพย์สิน
[แก้]ใน พ.ศ. 2540 เมื่อครั้งวีรพงษ์ รามางกูร ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นรองนายกรัฐมนตรีร่วมด้วย ช่วงนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก วีรพงษ์ รามางกูร ได้แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีทรัพย์สินรวม 42,381,147.13 บาท ประกอบด้วยเงินฝาก 386147.13 บาท หลักทรัพย์จดทะเบียน 8,755,000 บาท ที่ดิน 31,240,000 บาท และสิ่งปลูกสร้างอื่น 1,500,000 บาท รถยนต์ 500,000 บาท พร้อมทั้งไม่มีหนี้สิน
ส่วนนางลดาวัลย์ รามางกูร ผู้เป็นภรรยา มีทรัพย์สินทั้งหมด 139,269,673.05 บาท ประกอบด้วย เงินฝาก 107,839.72 บาท ที่ดิน 87,172,833.33 บาท บ้านอาศัย 25,000,000 บาท สิ่งปลูกสร้างอื่น 22,639,000 บาท ยานพาหนะ 350,000 บาท ทรัพย์สินอื่น 4,000,000 บาท ส่วนหนี้สินนั้น มีเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมธนาคาร 30,173,504.34 บาท เงินกู้จากสถาบันการเงินอื่น 475,012.22 บาท รวมหนี้สิน 30,648,516.49 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 108,621,156.49 บาท รวมทั้ง 2 คนสามีภริยามีทรัพย์สิน 181,650,820.18 บาท ในจำนวนนี้เป็นที่ดินมูลค่า 118,412,833.33 บาท รั้งอันดับต้นๆ ของประเทศไทย [15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[18]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เปิดใจ...ร.ต.อ.วิระศักดิ์ ศรีภักดี ขอ 1 ปี ปรับโฉมประเทศฟื้นเชื่อมั่น-เศรษฐกิจ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-14.
- ↑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเก็บถาวร 2012-11-30 ที่ archive.today?
- ↑ ประธานกรรมการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ↑ ระลึกถึง นักเศรษฐศาสตร์แห่งยุค
- ↑ "เอนก เดนตันฮอล์ADB จ้างไปร่างกฎหมายให้ลาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-23. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
- ↑ ชีวิตครอบครัว วีรพงษ์ รามางกูร
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-21.
- ↑ 'ดร.โกร่ง' วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกฯ-รมว.คลัง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 78 ปี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
- ↑ ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2012-06-03.
- ↑ ขุดกรุสมบัติ ดร.โกร่ง-วีรพงษ์ ประธาน กยอ. คราวนั่งเคียงบ่า“ทักษิณ ชินวัตร”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสร��ญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙๗, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
ก่อนหน้า | วีรพงษ์ รามางกูร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ สมัคร สุนทรเวช อำนวย วีรวรรณ หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี มนตรี พงษ์พานิช |
รองนายกรัฐมนตรี (15 สิงหาคม – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) |
พิชัย รัตตกุล ศุภชัย พานิชภักดิ์ ปัญจะ เกสรทอง | ||
ประมวล สภาวสุ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533) |
บรรหาร ศิลปอาชา |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
- สกุลรามางกูร