ข้ามไปเนื้อหา

กริช กงเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กริช กงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2486 (81 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อแผ่นดิน
พลเมืองไทย

กริช กงเพชร (เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2486) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม 9 สมัย

ประวัติ

[แก้]

กริช กงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายเคน และ นางแต้ม กงเพชร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [1]

งานการเมือง

[แก้]

อดีตเคยเป็นทนายความ ก่อนที่จะมาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2519 แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2522) ไม่ได้รับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2548 เป็นสมัยล่าสุด [2] ต่อจากนั้นเขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค รวมทั้งลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

กริช กงเพชร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัดพรรคความหวังใหม่

กริช กงเพชร เคยเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน[4] ในปี พ.ศ. 2531

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[5] เขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[6] ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคพลเมืองไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

กริช กงเพชร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 9 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. "อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/070/T137.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘