ข้ามไปเนื้อหา

จำลอง ครุฑขุนทด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำลอง ครุฑขุนทด
จำลอง ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากัญจนา ศิลปอาชา
วิชัย ตันศิริ
ถัดไปรุ่ง แก้วแดง
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าชิงชัย มงคลธรรม
เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ
ถัดไปสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
อาคม เอ่งฉ้วน
ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2523—2531)
ปวงชนชาวไทย (2531—2535)
ชาติพัฒนา (2535—2543)
ไทยรักไทย (2543—2550)
พลังประชารัฐ (2561—2565)
รวมแผ่นดิน (2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน)
คู่สมรสวันเพ็ญ ครุฑขุนทด

จำลอง ครุฑขุนทด รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2 สมัย จำลองเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553[1] นอกจากนี้จำลองยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม 16[2]

ประวัติ

[แก้]

จำลอง เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูง เนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

การทำงาน

[แก้]

จำลอง เคยทำงานเป็นทนายความ ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งซ่อมแทนนายมงคล สุคนธขจร ที่ได้ถึงแก่กรรมแล้ว หลังจากนั้น จำลองได้ย้ายมาสังกัดพรรคปวงชนชาวไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2535 และย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และพรรคชาติพัฒนา ที่ต่อมาได้ถูกยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย

จำลอง เคยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 และดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2535 กระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จำลองได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ[3] และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกครั้ง ในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 และเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4]

ในปี พ.ศ. 2561 จำลองได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] กระทั่งปี พ.ศ. 2565 จำลองได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและย้ายมาสังกัด พรรครวมแผ่นดิน และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค[6] ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เขาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมแผ่นดิน พร้อมลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคและตำแหน่งเลขาธิการพรรค[7]

จากนั้นจำลองได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติพร้อมกับได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อากาศเป็นใจม็อบเสื้อแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  2. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "บิ๊กน้อย" นั่งหัวหน้า "พรรครวมแผ่นดิน" อดีต ผบ.ข่าวกรอง-บิ๊กทหาร ร่วมเพียบ
  7. “จำลอง ครุฑขุนทด” ไขก๊อก กก.บห.รวมแผ่นดิน อ้างสูตรหาร 100 พรรคเล็กไปต่อยาก
  8. รทสช. เปิดล็อตแรก ผู้สมัคร ส.ส.อีสาน 'บิ๊กท้องถิ่น-อดีตแกนนำแดง' ลั่นดับฝันแลนด์สไลด์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]