ข้ามไปเนื้อหา

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 83 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยอิทธิ ศิริลัทธยากร
อัครา พรหมเผ่า
ก่อนหน้าธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 8 กันยายน พ.ศ. 2564
(1 ปี 34 วัน)[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการสุชาติ ชมกลิ่น
ก่อนหน้าลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
(0 ปี 364 วัน)[2]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
ถัดไปอนุชา บูรพชัยศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
นฤมล สอาดโฉม

29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (51 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองกล้าธรรม (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังประชารัฐ (2561–2566)
คู่สมรสจุมพล ภิญโญสินวัฒน์
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยรัฐจอร์เจีย
วิทยาลัยวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นแหม่ม

ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516) ชื่อเล่น แหม่ม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร และหัวหน้าพรรคกล้าธรรม อดีตผู้แทนการค้าไทย[3] ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[4][5] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตเหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ[6] และอดีตที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ที่กรุงเทพมหานครเป็นบุตรสาวของนางวิไล สอาดโฉม สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสถิติศาสตรบัณฑิต (คณิตศาสตร์ประยุกต์) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนไปศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ประยุกต์) และปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเงิน) จากวิทยาลัยวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา[7]

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนายจุมพล ภิญโญสินวัฒน์ มีบุตร-ธิดา 2 คน

การทำงาน

[แก้]

เคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเข้าสู่วงการเมือง เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ ที่ปรึกษาด้านการเงินและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เเละต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล)เเละผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) ภายหลังลาออกเพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไป[8]

งานการเมือง

[แก้]

ศ.ดร.นฤมล ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 5 ของพรรค[9] และได้รับการเลือกตั้ง แต่ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[10] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน[11]

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 นฤมลได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากสมาชิกและทุกตำแหน่งในพรรคพลังประชารัฐ[12] จากนั้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งนฤมลเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง หน้า ๑, ๙ กันยายน ๒๕๖๔
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  3. ด่วนที่สุด!!! 'เศรษฐา'เซ็นตั้ง'นฤมล'เป็นที่ปรึกษานายกฯ
  4. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 169/2562 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-13. สืบค้นเมื่อ 2019-08-13.
  5. "ครม. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ไม่พลิกโผ "นฤมล" นั่งรัฐนมตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานรัฐบาล". ไทยรัฐ. 30 Jul 2019. สืบค้นเมื่อ 30 Jul 2019.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๐, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  7. คนตามข่าว : นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ลุ้นเก้าอี้โฆษกรัฐบาล
  8. เปิดประวัติ นฤมล ว่าที่โฆษกรัฐบาล ดีกรีไม่ธรรมดา
  9. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  10. “ดร.แหม่ม” ยื่นใบลาออก จาก ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ลุ้นตำแหน่ง โฆษกรัฐบาล
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง หน้า ๒, ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
  12. ""นฤมล" ลา พปชร. แจงทำหน้าที่เหรัญญิกพรรคเสร็จสมบูรณ์แล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 2 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๘๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ถัดไป
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(ครม. 64)

(3 กันยายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน)
ยังดำรงตำแหน่ง
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563)
อนุชา บูรพชัยศรี