นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | |
---|---|
นิวัฒน์ธำรง ใน พ.ศ. 2556 | |
รักษาการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 15 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบ��ทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | ประยุทธ์ จันทร์โอชา (หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 326 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 326 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | บุญทรง เตริยาภิรมย์ |
ถัดไป | ฉัตรชัย สาริกัลยะ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (1 ปี 164 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | นิวัฒน์ บุญทรง[1] 25 มกราคม พ.ศ. 2491 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | บุณย์พัชรี สุขุมาลย์ |
บุตร |
|
บุพการี |
|
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ม.ป.ช. ม.ว.ม. จ.ภ. (ชื่อเกิด นิวัฒน์ บุญทรง เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2491) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรักษาการนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย,ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และรองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายภาพลักษณ์ และกิจกรรมสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประวัติ
[แก้]นิวัฒน์ธำรง หรือนิวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2491 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของเจริญ กับบุญเลียบ บุญทรงไพศาล สมรสกับบุณย์พัชรี บุญทรงไพศาล (เดิมชื่อ สุขุมาลย์) เป็นนักเรียนทุนแลกเปลี่ยน AFS ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่นที่ 5 จบการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) มีบุตรชายด้วยกัน 2 คน ได้แก่ ณรงค์พนธ์ บุญทรงไพศาล กับ คทา บุญทรงไพศาล[2]
การทำงาน
[แก้]นิวัฒน์ธำรงเริ่มทำงานเป็นพนักงานขาย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ตำแหน่งสุดท้าย เป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินและวางแผน เมื่อ พ.ศ. 2533 ก่อนจะลาออกไปรับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และดูแล บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ไอบีซี), บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด, บริษัท มูฟวิ่งซาวน์ด จำกัด, บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด, บริษัท เอสซี แมทช์บ็อกซ์ จำกัด และได้รับตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น
หลังจาก ชิน คอร์ปอเรชั่น เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 นิวัฒน์ก็ธำรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอทีวี อีกตำแหน่งหนึ่ง
หลังจาก พานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และพิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์[3] นิวัฒน์ธำรงได้ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการ บมจ.ชินคอร์ป ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยก่อนหน้านั้น เขาได้ขายหุ้นของตนเองทั้งหมด ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 ต่อมาไปอุปสมบทศึกษาพระธรรมอยู่ที่วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2553[1]
บทบาททางการเมือง
[แก้]ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการปรับคณะรัฐมนตรีเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[4] โดยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย[5] และได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[6] เพื่อเปิดทางให้สมาชิกในลำดับถัดไปเลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน แต่จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 5[7]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[8] สืบต่อจากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ภายหลังจากการที่โครงการจำนำข้าวของรัฐบาล ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติให้นิวัฒน์ธำรงปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี 9 คนพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี จากการมีมติโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี[9] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียงแค่ 15 วัน ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติรัฐประหาร จึงทำให้นิวัฒน์ธำรงและคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง
ในปี พ.ศ. 2567 นิวัฒน์ธำรงได้สมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา แต่ไม่ได้รับการเลือกในระดับประเทศ[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดประวัติรมต.ใหม่ ครม. "ยิ่งลักษณ์ 2" เก็บถาวร 2014-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
- ↑ ปิดตำนานซุกหุ้นชินคอร์ป สรรพากรยุติบี้ภาษีครอบครัว “ทักษิณ ชินวัตร ” – “แก้วสรร” คาใจต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ ""ปู"แบ่งงานรองนายกฯ-รมต.สำนักนายกฯ "นิวัฒน์ธำรง"ได้คุมสื่อรัฐ "นลินี"เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
- ↑ ประกาศ สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ครม.มีมติให้ 'นิวัฒน์ธำรง'ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ, ไทยรัฐ, 7 พฤษภาคม 2557
- ↑ "ใครบ้าง? ผ่านด่านแรกเลือก สว.800 คน ลุ้นรอบ 200 คน". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ” เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | รักษาการนายกรัฐมนตรี (ครม. 60) (7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
ประยุทธ์ จันทร์โอชา (หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) | ||
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ชุมพล ศิลปอาชา |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 60) (30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
ประวิตร วงษ์สุวรรณ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร วิษณุ เครืองาม | ||
บุญทรง เตริยาภิรมย์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 60) (30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
ฉัตรชัย สาริกัลยะ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- เครือชินวัตร
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- นักธุรกิจชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์