ประกอบ ประยูรโภคราช
ประกอบ ประยูรโภคราช | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 19 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2462 จังหวัดลพบุรี |
เสียชีวิต | 14 เมษายน พ.ศ. 2533 (71 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย |
คู่สมรส | อารีพันธ์ ประยูรโภคราช |
พันเอก ประกอบ ประยูรโภคราช (14 มกราคม พ.ศ. 2462 - 14 เมษายน พ.ศ. 2533)[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคชาติไทย และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4[2]
การทำงาน
[แก้]พันเอก ประกอบ เคยรับราชการเป็นทหารม้าเหล่าเดียวกัน และเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นเพื่อนกับพันตรี พโยม จุลานนท์ บิดาของพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์[3]
พันเอก ประกอบ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในนามพรรคชาติไทย ซึ่งนำโดยพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร หลังเลือกตั้งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่มีเสียง ส.ส.สนับสุนนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีจึงไม่ได้รับความไว้วางใจ ส่งผลให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม รวบรวม ส.ส.และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นแทน โดยพันเอก ประกอบ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[4]
กระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร และเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 ในเดือนเดียวกันนี้ เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.ประกอบ ประยูรโภคราช ม.ว.ม., ป.ช., กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
- ↑ "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
- ↑ ถอดรหัสชีวิต “สุรยุทธ์ จุลานนท์”
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑. นางแร่ม พรหมโมบล บุณยประสพ ๒. ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม ๓. พันเอก ประกอบ ประยูรโภคราช ๔. พลอากาศเอก บัว ศิริทรัพย์ ๕. นายสวัสดิ์ คชเสนี ๖. นายพงษ์ สารสิน ๗. นายเกษม ศิริสัมพันธ์ ๘. นายประยูร จินดาศิลป์ ๙. นายสุเทพ อัตถากร ประกาศ ณ วันที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นปีที่ ๓๑)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๓๙๐๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๖, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๑, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘