ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้น​เอก
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง24 สิงหาคม พ.ศ. 2469 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2471
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง1 เมษายน พ.ศ. 2471 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ถัดไปพระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร)
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระองค์
(ในฐานะผู้บัญชาการ)
ถัดไปสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2453
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ถัดไปพระองค์
(ในฐานะเสนาบดี)
ประสูติ29 มิถุนายน พ.ศ. 2424
พระบรมมหาราชวัง ราชอาณาจักรสยาม
สิ้นพระชนม์18 มกราคม พ.ศ. 2487 (62 ปี)
ตำหนักประเสบัน บันดุง อินโดนีเซียภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น
พระราชทานเพลิง10 เมษา​ยน พ.ศ. 2493
พระเมรุ​ ท้องสนามหลวงจังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ชายาหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร
หม่อม​หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา
พระบุตร11 พระองค์
ราชสกุลบริพัตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
ลายพระอภิไธย

จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 – 18 มกราคม พ.ศ. 2487) พระองค์มีบทบาทสำคัญในวงการทหารและการเมืองของประเทศไทย พระองค์ดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหารหลายตำแหน่ง เช่น ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ และเสนาธิการทหารบก นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง เช่น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และเป็นองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ

[แก้]

ประสูติ

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424[1] ในพระบรมมหาราชวัง มีพระโสทรเชษฐภคินีพระองค์เดียว คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2434 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ดิลกจันทรนิภาพงษ์ มหามกุฏวงษ์นราธิราช จุฬาลงกรณ์นารถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงษพิสุทธิ นรุตมรัตน ขัตติยราชกุมาร กรมขุนมไหสูริยสงขลา[2] และมีพระราชพิธีมงคลการโสกันต์ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม ถึงวันที่ 2 มกราคม ร.ศ. 113[3]

การศึกษา

[แก้]

ทรงศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเสนาธิการ ประเทศเยอรมนี เมื่อเสด็จกลับมารับราชการ สมเด็จพระบรมชนกนารถทรงพระราชดำริว่าพระนามกรมเดิมไม่สมพระเกียรติยศ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามกรมเป็น กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444[4] พระองค์ประทับที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นวังที่มีความใหญ่โตโอ่อ่าที่สุด ประกอบกับทรงมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย จึงได้รับการกล่าวขานอีกฉายาหนึ่งจากคนทั่วไปว่า "จอมพลบางขุนพรหม" หรือ "เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม" ทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร [5]

รับราชการ

[แก้]

วันที่ 16 พฤศจิกายน ร.ศ. 122 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ[6] ต่อมาในวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ ศกนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ[7] และวันที่ 19 มีนาคม ศกเดียวกัน ได้ทรงสาบานตนและรับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี[8]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ[9] และในวันต่อมาพระองค์ท่านได้เข้าถือน้ำและรับตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[10] ต่อมาในวันที่ 11 ธันวาคม ศกเดียวกัน อันตรงกับวันเททองหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานยศ พลเรือเอก แด่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต[11] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ดิลกจันทรนิภาพงษ์ มหามกุฎวงษ์นราธิราช จุฬาลงกรณนารถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงษ์พิสุทธิ นรุตมรัตนขัตติยราชกุมาร กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต[12] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ ดิลกจันทรนิภาพงศ มหามกุฎวงศนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงศพิศุทธ นรุตมรัตนขัติยราชกุมาร กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สชีวะเชษฐสาธิษฐสุขุมาลกษัตริย์ อภิรัฎฐมหาเสนานหุษเนาอุฑฑิน จุฬินทรปริยมหาราชวรางกูร สรรพพันธุธูรราชประยูรประดิษฐาประชาธิปกปัฐพินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรปการ ปรีชาไวยัตโยฬารสุรพลประภาพ ปราบต์ไตรรัชยยุคยุกติธรรมอรรถศาสตร อุดมอาช์วีวีรยาธยาศรัย เมตตามันตภาณีศีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนศรณธาดา มหันตเดชานุภาพบพิตร ทรงศักดินา 50000 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468[13] (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2469)

วังบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

[แก้]

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่ทางคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองต้องควบคุมองค์ไว้เป็นองค์ประกันสำคัญสูงสุด เนื่องด้วยทรงเป็นผู้รักษาพระนคร อีกทั้งยังทรงควบคุมหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งทหาร และตำรวจ ซึ่งในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน นั้น พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นผู้นำในการบุกวังบางขุนพรหม เพื่อควบคุมพระองค์ ซึ่งทรงกำลังจะหนีทางท่าน้ำหลังวัง พร้อมกับครอบครัวและข้าราชบริพาร แต่ทว่ามีเรือตอร์ปิโดหาญทะเลของทางทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรที่ควบคุมโดย เรือโท จิบ ศิริไพบูลย์ คอยดักอยู่ จึงยังทรงลังเล จนในที่สุดพระองค์จึงทรงยินยอมให้ทางคณะราษฎรควบคุมองค์ และเสด็จไปประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคม พร้อมกับเจ้านายพระองค์อื่น ๆ และบุคคลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งก่อนเสด็จมา ได้ทรงต่อรองขอเปลี่ยนเครื่องทรงจากชุดกุยเฮง ซึ่งเป็นชุดบรรทม ก็ได้รับการปฏิเสธ[14] หลังจากนั้นในวันต่อมา ต้องเสด็จออกจากประเทศไทยอย่างกะทันหัน โดยเสด็จไปด้วยรถไฟขบวนพิเศษ ซึ่งวิ่งตลอดไม่มีหยุดพักจนถึงปีนังวันที่ 10 กรกฎาคม และย้ายไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ตราบจนสิ้นพระชนม์

ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงไม่กี่วันนั้น พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) อธิบดีกรมตำรวจได้ถวายรายงานต่อพระองค์ถึงรายชื่อของบุคคลต่าง ๆ ในคณะราษฎรว่ามีท่าทีจะกระทำการกระด้างกระเดื่องประการใดประการหนึ่งต่อบ้านเมือง แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อ ด้วยทรงเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ไม่น่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะกระทำการใด ๆ ได้ เนื่องจากทรงคุ้นเคยกับบุคคลเหล่านี้ดี ซ้ำบางคนยังทรงชุบเลี้ยงและรู้จักมาตั้งแต่ยังเด็กด้วยซ้ำ[14] กระทั่งวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพ้นจากประจำการเป็นนายทหารนอกราชการ [15]

สิ้นพระชนม์

[แก้]

จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคไตและพระหทัย เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ขณะพระชันษา 63 ปี อัญเชิญพระศพกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2491[16] และได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2493[17]

ครอบครัว

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ราชสกุลเดิม ไชยันต์; 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499) พระโอรส-ธิดาที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[18] ภายหลังหม่อมเจ้าประสงค์สมประชวร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523) มาเป็นหม่อมอีกคน ซึ่งพระโอรส-ธิดา ที่ประสูติแต่หม่อมสมพันธุ์ แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[19]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตมีพระโอรส-ธิดารวม 11 พระองค์[20] ดังรายพระนาม ดังนี้

ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์
สิ้นชีพิตักษัย
มารดา เสกสมรส พระนัดดา
1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต 5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 15 กันยายน พ.ศ. 2502 หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร
(ราชสกุลเดิม ไชยันต์)
หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร
(ราชสกุลเดิม เทวกุล)
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง 4 มกราคม พ.ศ. 2449 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล
3. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร 16 มีนาคม พ.ศ. 2450 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 มิได้เสกสมรส
4. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย 21 กันยายน พ.ศ. 2451 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร หม่อมราชวงศ์พิลาศลักษณ์ บุณยะปานะ
5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน 21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์สุมาลยมงคล โสณกุล
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
6. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี 24 กันยายน พ.ศ. 2455 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร
หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
7. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อง 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 4 ธันวาคม พ.ศ. 2462 มิได้เสกสมรส
8. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 มิได้เสกสมรส
9. อินทุรัตนา บริพัตร 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา
(ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)
สมหวัง สารสาส ธรณินทร์ สารสาส
สินนภา สารสาส
สันติ สารสาส
10. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 10 เมษายน พ.ศ. 2546 หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา
(สกุลเดิม ณ ถลาง)
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร
11. หม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม ก่อน พ.ศ. 2468[21] มิได้เสกสมรส

การรับราชการ

[แก้]
ตราประจำราชสกุลบริพัตร

พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล ด้วยทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการที่ทรงรับภาระเป็นอย่างดียิ่งทั้งทางด้านการทหาร การปกครอง การสาธารณสุข การศึกษา ทรงวางรากฐานความเจริญของกองทัพเรือไทย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย ทรงดำรงพระยศ จอมพล จอมพลเรือ นายกองเอก[22] และนายนาวาเอก ร.น.ส.[23]

ตำแหน่งสำคัญ

[แก้]
  • เสนาธิการทหารบก (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2446[24] – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447)
  • ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447[25] – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
  • องคมนตรี (24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[26][27] – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[28])
  • เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[29] – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
  • เสนาธิการทหารบก (19 มิถุนายน พ.ศ. 2463[30] – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2469)
  • อุปนายกสภากาชาดสยาม (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2463[31] – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
  • อภิรัฐมนตรีสภา (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475)[32]
  • เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (24 สิงหาคม พ.ศ. 2469 – 31 มกราคม พ.ศ. 2471)
  • เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (1 เมษายน พ.ศ. 2471[33] – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
  • อุปนายกสภาป้องกันพระราชอาณาจักร (7 เมษายน พ.ศ. 2471[34] – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
  • ประธานอภิรัฐมนตรีสภาและเสนาบดีสภา (23 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
  • ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2472), (9 เมษายน พ.ศ. 2473 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473), (19 มีนาคม พ.ศ. 2473 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474)

ผลงานดนตรี

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงซอได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เป็นครั้งคราว

พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ ทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวัง

วงปี่พาทย์นั้นเริ่มแรกทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอกซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์ จากอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาได้วงดนตรีของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) และจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่น

ส่วนวงเครื่องสายนั้นเป็นวงที่ทรงบรรเลงร่วมกับพระธิดา พระญาติ และผู้ใกล้ชิด มีสังวาลย์ กุลวัลกี เป็นผู้ฝึกสอนนักดนตรีและนักร้อง เช่น

ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั้น วังบางขุนพรหมเป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรี และการละเล่นต่าง ๆ และเป็นที่เกิดของเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ส่วนวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมนั้น ก็เป็นวงที่มีชื่อเสียงมาก และได้เข้าร่วมในการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อปี พ.ศ. 2466 ซึ่งได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ เป็นต้นตำรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดใช้เวลาว่างส่วนพระองค์ในการศึกษาวิชาดนตรี ทั้งด้านประสานเสียงและการประพันธ์เพลง จนทรงสามารถประพันธ์เพลงและทำหน้าที่เป็นวาทยากรได้อย่างคล่องแคล่ว เคยทรงเล่าประทานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดา ฟังว่า “…ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ ทูลหม่อม (รัชกาลที่ 5) สั่งให้พ่อไปเรียนวิชาทหารเพื่อกลับมาปรับปรุงกองทัพไทย พ่อก็ไปเรียนวิชาทหาร บางครั้งพ่อเบื่อบางวิชาที่ต้องเรียนจนทนไม่ไหว ต้องเก็บพ็อกเก็ตมันนี่เอาแอบไปเรียนดนตรี แอบไปเรียนเพราะพวกผู้ใหญ่สมัยนั้นเห็นว่าวิชาดนตรีไม่เหมาะกับชายชาติทหาร เมื่อได้เรียนดนตรีที่พ่อรักก็สบายใจ เกิดความอดทนที่จะเรียนและทำงานที่พ่อเบื่อ…”

พระองค์ทรงเริ่มแต่งเพลงไทยสากลก่อนเพลงไทย เพลงชุดแรก ๆ มีเพลงวอลทซ์โนรีและเพลงจังหวะโพลกา เช่น เพลงมณฑาทอง เป็นต้น

พระองค์ทรงพระนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบดนตรีสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาทิต ทำให้แตรวงบรรเลงเพลงไทยได้ไพเราะ มีหลักการประสานเสียงดียิ่งขึ้น ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถา เพลงแขกสี่เกลอ เถา

เพลงที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์ไว้ทั้งสำหรับวงโยธวาทิตและวงศ์ปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา (พ.ศ. 2453) เพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา (พ.ศ. 2471) เพลงพ่าห้าท่อน เถา เพลงพวงร้อย เถา

พระองค์ทรงพระนิพนธ์เพลงเถาสำหรับปี่พาทย์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา (พ.ศ. 2471) เพลงอาถรรพ์ เถา (พ.ศ. 2471) เพลงสมิงทองเทศ เถา (พ.ศ. 2473) และภายหลังเมื่อเสด็จไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังได้ทรงพระนิพนธ์เพลงสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็งขึ้นอีกหลายเพลง เช่น เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา (พ.ศ. 2480) เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา (พ.ศ. 2480) และเพลงสุดถวิล เถา (พ.ศ. 2484)

ในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงวงดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารเรือ จนสามารถบรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนีได้ดี เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน

พระนิพนธ์

[แก้]

เพลงฝรั่ง

[แก้]

เพลงไทยเดิม

[แก้]
  • เพลงแขกมอญบางขุนพรหม
  • เพลงสุดสงวน 2 ชั้น
  • เพลงเขมรพวง 3 ชั้น
  • เพลงเขมรชมจันทร์
  • เพลงสารถี 3 ชั้น
  • เพลงสบัดสบิ้ง
  • เพลงทยอยนอก
  • เพลงทยอยเขมร
  • เพลงทยอยใน เถา
  • เพลงแขกเห่
  • เพลงถอนสมอ
  • เพลงแขกมัทรี
  • เพลงครอบจักรวาล เถา
  • เพลงบุหลันชกมวย 3 ชั้น
  • เพลงเขมรใหญ่ เถา
  • เพลงพม่า เถา
  • เพลงแขกสี่เกลอ เถา
  • เพลงแขกสาย เถา
  • เพลงบาทสกุณี
  • เพลงขับไม้
  • เพลงเขมรโพธิสัตว์ เถา

เพลงไทยเดิมสำหรับใช้บรรเลงพิณพาทย์โดยตรง

[แก้]
  • เพลงแขกสาย เถา
  • เพลงอาถรรพ์ เถา
  • เพลงแขกสาหร่าย 3 ชั้น
  • เพลงสมิงทองมอญ เถา
  • เพลงอาเฮีย
  • เพลงสารถี 3 ชั้น

เพลงไทยเดิมซึ่งทรงพระนิพนธ์ที่เมืองบันดุง

[แก้]
  • เพลงต้นแขกไทร 2 ชั้น
  • เพลงครวญหา เถา
  • เพลงกำสรวญสุรางค์
  • เพลงอักษรสำอางค์ และเพลงสุรางค์จำเรียง
  • เพลงจีนลั่นถัน
  • เพลงจีนเข้าห้อง
  • เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา
  • เพลงขยะแขยง 3 ชั้น
  • เพลงจีนเก็บบุปผา เถา
  • เพลงดอกไม้ร่วง
  • เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา
  • เพลงวิลันดาโอด
  • เพลงจิ้งจกทอง เถา
  • เพลงตะนาว เถา
  • เพลงพวงร้อย เถา
  • เพลงถอนสมอ เถา
  • เพลงพระจันทรครึ่งซีก

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการสร้างแอนิเมชันเรื่อง ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ โดยมีตัวละคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พากย์เสียงโดย จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร

พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้��กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพะยะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 – 24 มกราคม พ.ศ. 2435 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2435 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหยสุริยสงขลา[35]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต[36]
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2469 : สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
  • 21 มีนาคม พ.ศ. 2469 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 : สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[37]
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 18 มกราคม พ.ศ. 2487 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและ��่างประเทศ ดังนี้[38]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พระยศ

[แก้]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองทัพเรือสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ จอมพล
จอมพลเรือ
นายกองเอก

พระยศทหาร

[แก้]
  • นายพลตรี
  • นายพลเรือเอก
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2460: จอมพลเรือ[64]
  • 21 มิถุนายน พ.ศ. 2463: จอมพล[65]

พระยศเสือป่า

[แก้]
  • 17 มิถุนายน พ.ศ. 2454: นายกองตรี[66]
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2455: นายกองเอก[67]

พงศาวลี

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  2. "ประกาศการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (43): 390–391. 24 มกราคม พ.ศ. 2434. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พระราชพิธีมงคลการโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (41): 325–328. 6 มกราคม พ.ศ. 2437. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนพระนามกรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (35): 683–685. 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. ""จอมพลบางขุนพรหม" หรือ "เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  6. "แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้นายพลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และนายพลตรี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เป็นราชองครักษ์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (35): 595. 29 พฤศจิกายน 2446. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (48): 813. 28 กุมภาพันธ์ 2446. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลและตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (52): 879–880. 27 มีนาคม 2446. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโอง��าร ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
  10. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
  11. พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนแลตั้งกรมแลตั้งเจ้าพระยา
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 378–380. 21 มีนาคม 2468. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. 14.0 14.1 ชะตาชาติ, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  15. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากประจำการ
  16. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 89-90. ISBN 978-974-417-594-6
  17. "กำหนดการ ที่ ๗/๒๔๙๓ พระราชทานเพลิงศพจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระศพพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67(21 ง): 1525, 1540–1550. 11 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562.
  18. พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ, เล่ม 27, ตอน ก, 8 มกราคม พ.ศ. 2453, หน้า 99
  19. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, เล่ม 44, ตอน 0ก, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า253
  20. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  21. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม, พ.ศ. 2517. 43 หน้า.
  22. ดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล
  23. พระราชทานยศนายนาวาเอก ร.น.ส.
  24. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  25. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
  26. บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว
  27. ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
  28. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
  29. เสนาบดีกระทรวงทหารเรือระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
  30. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งเสนาธิการทหารบก
  31. ประกาศตั้งอุปนายกสภากาชาดสยาม
  32. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 2618. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและตั้งผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
  34. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งอุปนายกสภาป้องกันพระราชอาณาจักร
  35. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหยสุริยสงขลา
  36. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
  37. สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
  38. "จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  39. ราชกิจจานุเบกษา, การรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๘๗, ๒๔ มกราคม ๑๑๐
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมงคลการโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๓๓๘, ๑๓ มกราคม ๑๑๓
  41. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  42. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๓, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  43. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๔๘, ๑๖ มิถุนายน ๑๓๑
  44. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
  45. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  46. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๘, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
  47. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแห่งเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๐๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๖๔
  48. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๔ ตุลาคม ๑๒๒
  49. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๒๘, ๑๖ มกราคม ๒๔๕๘
  50. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  51. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  52. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  53. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  54. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  55. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวเสด็จพระราชดำเนินมาโดยทางโทรเลข, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๒ หน้า ๒๙๒, ๒๙ สิงหาคม ๑๑๖
  56. 56.0 56.1 56.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๗, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖
  57. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๕, ๒๘ กันยายน ๒๔๗๓
  58. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๓ กันยายน ๑๒๔
  59. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
  60. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๖, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
  61. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
  62. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๗, ๓ ธันวาคม ๑๓๐
  63. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๐๐, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
  64. "พระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
  65. พระราชทานยศทหารบก
  66. ได้รับพระราชทานยศเสือป่านายกองตรี
  67. ได้รับพระราชทานยศเสือป่านายกองเอก
  • จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา
  • ชีวิตในวังบางขุนพรหม, กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ถัดไป
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้บัญชาการทหารเรือ
(ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2453
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(24 สิงหาคม พ.ศ. 2469 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2471)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
(1 เมษายน พ.ศ. 2471 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร)
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ผู้บัญชาการทหารบก
(25 ตุลาคม พ.ศ. 2471 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2474)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(9 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2475)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์