ข้ามไปเนื้อหา

สมหวัง สารสาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมหวัง สารสาส
หัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2525 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2528
ถัดไปพลตรีระวี วันเพ็ญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2454
เสียชีวิต1 มกราคม พ.ศ. 2540 (85 ปี)
กรุงเทพม��านคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคปวงชนชาวไทย
คู่สมรสอินทุรัตนา บริพัตร (หย่า)
พนิดา สารสาส
บุพการีพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)
นางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์

ร้อยเอก สมหวัง สารสาส (13 ตุลาคม พ.ศ. 2454 – 1 มกราคม พ.ศ. 2540) เป็นบุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์)

ประวัติ

[แก้]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เป็นบุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คน คือ หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร, จริตราบ สารสาส, โศภิณ อัศวเกียรติ์ และเสลา สก๊อต[1]

จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แล้วเข้ารับราชการเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ขณะมียศเป็น ร้อยเอก ได้ลาออกจากราชการเพื่อมาทำธุรกิจบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด จดทะเบียน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ร่วมกับบุคคลอื่นอีก 8 คน[2]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เคยมอบช้างไทยชื่อ ฮานาโกะ ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2492 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาช้างฮานาโกะเปรียบเสมือนทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนญี่ปุ่น และสวนสัตว์อิโนคาชิระ จังหวัดโตเกียว ได้จัดงานวันเกิดให้ช้างฮานาโกะมาอย่างต่อเนื่อง[3]

งานการเมือง

[แก้]

ปี พ.ศ. 2525 ร้อยเอกสมหวัง ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย และมี ดร.กมล ชาญเลขา เป็นรองหัวหน้าพรรค[4]

ครอบครัว

[แก้]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส ได้สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา ซึ่งลาออกจากฐานันดรเพื่อทำการสมรส[5] (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[6] มีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน คือ ธรณินทร์ สารสาส, สินนภา สารสาส และสันติ สารสาส ต่อมาได้หย่าร้างกับอินทุรัตนา และสมรสใหม่กับพนิดา สารสาส (สกุลเดิม กำเนิดกาญจน์) มีบุตร-ธิดาด้วยกันสี่คน คือ วรวรรณ สารสาส, สันติทวี สารสาส, ศรีภพ สารสาส และชินเวศ สารสาส[7][8]

ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2540[9]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สดุดี หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา วันที่ 11 ต.ค. 2555 )[ลิงก์เสีย]
  2. < ( 2 ) การประกอบธุรกิจ[ลิงก์เสีย]
  3. งานวันเกิดฉลองครบ 67 ปีช้างไทย ฮานาโกะ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จับตาเอเชียตะวันออก EAST ASIA WATCH
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/A/066/1.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคปวงชนชาวไทย)]
  5. "ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๑/๒๔๙๖ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15ก): 755. 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  7. "ชั้นที่ ๖ สายเมืองนคร บุตรธิดาพระยานครกุลเชษฐมเหศรภักดี (เอียด)". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-02. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "บุคคลในข่าว". ไทยรัฐออนไลน์. 4 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ธรณีสีเหลืองดินฟ้าไม่อาทร หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพร.อ.สมหวัง สารสาส ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2540 / สมหวัง สารสาส