ข้ามไปเนื้อหา

หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลวงสินธุสงครามชัย)
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [a]
ดำรง��ำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 [1]
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
แปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
ถัดไปพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าหลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)
ถัดไปทวี บุณยเกตุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าพลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
ถัดไปพลโท หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์)
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2481 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494
ก่อนหน้าพลเรือตรี พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญรอด สวาทะสุข)
ถัดไปพลเรือโท หลวงพลสินธวาณัติก์
รักษาราชการผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม พ.ศ. 2477 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
ก่อนหน้านาวาเอก พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์)
ถัดไปพลเรือตรี พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญรอด สวาทะสุข)
(รักษาราชการแทน)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน พ.ศ. 2486 – 27 กันยายน พ.ศ. 2488
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปทวี บุณยเกตุ
ข้อมูลส่วนบุ��คล
เกิด23 มิถุนายน พ.ศ. 2444
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 (74 ปี)
พรรคการเมืองคณะราษฎร
คู่สมรสคุณหญิงจินตนา สิ��ธุสงครามชัย
บุตร4 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพเรือไทย
ประจำการพ.ศ. 2475 - 2494
ยศ พลเรือเอก

พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย มีชื่อจริงว่า สินธุ์ กมลนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนแรก ภายหลังเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ, แม่ทัพเรือ[2] หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร และเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ

ประวัติ

[แก้]

หลวงสินธุสงครามชัย เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2444 ที่ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ[3] เป็นบุตรนายเล็ก-นางจู กมลนาวิน และมีศักดิ์เป็นน้องชายของพระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) [4] จบการศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2457 จากนั้นเป็นนักเรียนหลวงไปเรียนการทหารเรือที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2462 เป็นเวลาถึง 10 ปี จากการที่เป็นน้องชายของพระยาราชวังสัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมของครอบครัวทหารเรือในขณะนั้น ที่ทางรัฐบาลส่งเสริมให้บุตรชายคนโตของนายพลทหารเรือให้ได้รับทุนเล่าเรียนวิชาทหารเรือยังต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เป็นทหารเรือกัน เนื่องจากพระยาราชวังสันไม่มีบุตร จึงสนับสนุนน้องชายตนเอง[5] กระทั่งได้รับพระราชทานยศ เรือตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี พ.ศ. 2470[6]

ชีวิตครอบครัว สมรสกับคุณหญิงจินตนา นุติประภา มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 4 คน หลวงสินธุสงครามชัยถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2519 สิริอายุ 75 ปี จากนั้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินจาก พระที่นั่งบรมพิมาน ไปพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย ที่ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อเวลา 16.55 น. ของวันพุธที่ 15 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2519[7][3]

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

[แก้]
หลวงสินธุสงครามชัย ในปี พ.ศ. 2475 (ขณะนั้นมียศเป็นนายนาวาตรี)

หลวงสินธุสงครามชัย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎร ขณะยังศึกษาอยู่ยังโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ประเทศเดนมาร์ก เมื่อเดินทางไปเยือนกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างช่วงพักการเรียน[8] จึงได้รับการชักชวนผ่านทางนายทวี บุณยเกตุ สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน[9]

เมื่อกลับมายังประเทศไทยแล้ว หลวงสินธุสงครามชัย ยังได้หาพรรคพวกเพิ่มเติมในสายทหารเรือเพิ่มขึ้นอีกหลายคน เช่น หลวงศุภชลาศัย, หลวงนิเทศกลกิจ, หลวงสังวร���ุทธกิจ, หลวงนาวาวิจิตร, หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นต้น และยังให้แต่ละคนไปหาพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกอย่างละไม่เกิน 3 คน เพื่อกันความลับรั่วไหล รวมทั้งสิ้นมีกองกำลังทหารเรือในคณะราษฎรจำนวน 24 นาย แต่เมื่อถึงเวลาปฏิวัติจริง ๆ แล้วใช้เพียง 18 นาย เนื่องจากอีก 6 นายที่เหลือนั้น สังกัดโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และกรมสรรพาวุธทหารเรือ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลปากน้ำ และเขตตำบลบางนา จังหวัดสมุทรปราการ อันอยู่ห่างไกลจากจุดที่เกิดเหตุ แต่ทั้งหมดก็ตกลงกันว่า หากเกิดเหตุการณ์อันใดขึ้นแล้ว ก็จะใช้กำลังที่มีอยู่ยึดอำนาจภายในโรงเรียนและกรม[8]

โดยในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แผนการของสายทหารเรือก็คล้ายคลึงกับสายทหารบก คือ ลวงเอากำลังทหารและอาวุธออกมาใช้ โดยอ้างว่าจะนำไปปราบกบฏ หลวงสินธุสงครามชัย ในฐานะหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ ขณะนั้นมียศเป็น นาวาตรี (น.ต.) และมีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนนายทหาร ได้นำกำลังทหารเรือประมาณ 400 นายเศษ พร้อมอาวุธครบมือ และกระสุนจำนวน 45,000 นัด ซึ่งงัดมาจากคลังอาวุธ กองพันพาหนะทหารเรือ (หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ในปัจจุบัน) ไปยึดสถานที่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า ยาวไปจนถึงเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ตั้งแต่ก่อนเวลา 06.00 น. โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 03.00 น. ที่จุดนัดพบ คือ ท่าราชวรดิฐ เพื่อรอคอยกำลังของฝ่ายทหารบก ภายใต้การนำของ พันเอก พระยาทรงสุรเดช มาสมทบ อีกทั้งยังได้ให้ทหารเรือส่วนหนึ่ง นำโดย หลวงนิเทศกลกิจ เข้าคุ้มกันคณะของ หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) และนายประยูร ภมรมนตรี ในการตัดสายโทรศัพท์และโทรเลข ที่กรมไปรษณีย์โทรเลข (ไปรษณียาคาร) หน้าวัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) ในเวลา 04.00 น. และสั่งให้ทหารเรือประจำเรือยามฝั่ง และเรือปืนต่าง ๆ ติดเครื่องยนต์ ล่องในลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการปฏิวัติ โดยแผนการทั้งหมดของฝ่ายทหารเรือ หลวงสินธุสงครามชัย เป็นผู้วางแผนเองทั้งหมด[8]

บทบาทการเมือง

[แก้]

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว หลวงสินธุสงครามชัย รับตำแหน่งรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง (รัฐมนตรีลอย), รักษาราชการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ระหว่าง พ.ศ. 2481[10]-2494 [11] เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2478-2484), กระทรวงเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2485), กระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2485-2488) และกระทรวงกลาโหม[12] (พ.ศ. 2487-2488) นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นคนแรกอีกด้วย (พ.ศ. 2486–2488)

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงสินธุสงครามชัยในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม[13]

ภายหลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ในปี พ.ศ. 2494 หลวงสินธุสงครามชัย ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้นถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494[14]เนื่องจากคณะรัฐบาลโดย จอมพลป. พิบูลสงคราม เคลือบแคลงว่าอาจจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการก่อกบฏ ซึ่งหลวงสินธุสงครามชัยได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานานถึง 3 ปี ทั้งที่ไม่มีความผิด

นอกจากนี้แล้ว หลวงสินธุสงคราม ยังเป็นบุคคลแรกที่บัญญัติศัพท์คำว่า "เรือดำน้ำ" ขึ้นมาในภาษาไทย โดยเรียกตามลักษณะการใช้งาน [5]และยังเป็นผู้ที่จัดหาเรือดำน้ำมาใช้ในราชการกองทัพเรือด้วย ทั้งหมด 3 ลำ (เรือหลวงมัจฉานุ, เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล) ขณะที่ดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2478[15]

ยศ ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2470 - เรือตรี
  • - เรือโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2472- เรือเอก[16]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2473 - หลวงสินธุสงครามชัย ถือศักดินา ๘๐๐[17]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2474 - นาวาตรี[18]
  • - ผู้อำนวยการโรงเรียนนายทหารเรือ
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - นาวาโท[19]
  • 5 สิงหาคม พ.ศ. 2476 - เสนาธิการทหารเรือ[20]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 - นาวาเอก[21]
  • 24 ตุลาคม พ.ศ. 2481 - ผู้บัญชาการทหารเรือ
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482 - พลเรือตรี[22]
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2484 - พลเรือเอก

รางวัลและเกียรติคุณ

[แก้]

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

[แก้]
  • อำเภอสินธุสงครามชัย (ปัจจุบันคืออำเภอพนมศกและอำเภอพระเนตรพระ ประเทศกัมพูชา)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน (หลวงสินธุสงครามชัย) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[24]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ก่อนวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ชื่อเดิมคือ กระทรวงธรรมการ

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ พุทธศักราช ๒๔๘๔
  3. 3.0 3.1 อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน. ณ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2519.
  4. ประวัติและผลงานโดยสังเขปของพลเรือโท พระราชวังสัน (ศรีกมลนาวิน) หน้า 4[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  6. พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๘)
  7. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๔๑๐๖)
  8. 8.0 8.1 8.2 "มูลเหตุที่ทหารนาวิกโยธิน เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
  9. หน้า 100-102, ตรัง โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มติชน) ISBN 974-7115-60-3
  10. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  13. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  15. กองทัพเรือได้ตกลงใจสร้างเรือดำน้ำเพื่อป้องกันอ่าวไทย
  16. พระราชทานยศพลเรื��น (หน้า ๗)
  17. พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๗)
  18. พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๐๔)
  19. ประกาศพระราชทานยศทหารเรือ
  20. ประกาศ พระราชทานยศทหารเรือ
  21. ประกาศ พระราชทานยศทหารเรือ
  22. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
  23. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-04. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04.
  24. (2520). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน ม.ป.ช., ม.ว.ม. (หลวงสินธุสงครามชัย). โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ.
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๘๐
  27. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๑, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  28. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๖๑๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๗, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๙๐, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓
  32. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕, ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๐
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒๘, ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๓๑, ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๘๒
  36. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๔๓๔, ๓ มีนาคม ๒๔๘๕
  37. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๑๓ ง หน้า ๘๘๘, ๑ มีนาคม ๒๔๙๒