ข้ามไปเนื้อหา

จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [a]
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 8 กันยายน พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสินธุ์ กมลนาวิน
ถัดไปควง อภัยวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
8 กันยายน พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
ถัดไปหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2484 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มังกร พรหมโยธี
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้ามังกร พรหมโยธี
ถัดไปพิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 10 กันยายน พ.ศ. 2502
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะ อธิบดี)
ถัดไปไสว ไสวแสนยากร
อธิบดีกรมรถไฟ
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2485
ก่อนหน้าพระอุดมโยธาธิยุต
ถัดไปหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
(รักษาการ)
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2485
ก่อนหน้าหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
(รักษาการ)
ถัดไปชลอ ศรีธนากร
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494
ก่อนหน้าปุ่น ศกุนตนาค
ถัดไปตนเอง
(ในฐานะ ผู้ว่าการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2438
เสียชีวิต19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 (87 ปี)
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[1] (พ.ศ. 2462–2492)
ประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (พ.ศ. 2495–2526)
บุตรภูวลาภ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
บุพการี
  • จิตร รัตนกุล (บิดา)
  • ชื่น รัตนกุล (มารดา)
อาชีพทหารบก
ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก[2]

พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) เป็นอดีตอธิบดีกรมรถไฟ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย[3][4] และเป็นอดีตพระสสุระในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ประวัติ

[แก้]

พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรี���ริงฤทธิ์ เข้ารับราชการเป็นทหารบกเหล่าทหารสื่อสาร จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นหนึ่งในทหารบกคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จากนั้นโอนย้ายจากกระทรวงกลาโหม ไปสังกัดกรมรถไฟในตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2487 เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคมอีกครั้ง พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494 และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2502

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลและนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองได้ว่า จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2484[5]

ครอบครัว

[แก้]

พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีนามเดิมว่า จรูญ รัตนกุล เป็นบุตรของนายร้อยเอก จิตร กับ ชื่น รัตนกุล บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน (กุน) ได้รับราชการเป็นที่สมุหนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล[6] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[7][6]

พลเอกจรูญ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม โกมลวรรธนะ) หลังภรรยาคนแรกถึงแก่อนิจกรรมจึงได้สมรสครั้งที่สองกับประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม เศรษฐวัฒน์) บุตรชายได้แก่ พลตำรวจตรี อุดม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภูวลาภ) และพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2487[8] มีธิดาคือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม

ยศทหาร

[แก้]
  • พ.ศ. 2485: พลโท[9]
  • พ.ศ. 2495: พลเอก[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[11] ดังนี้

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ก่อนวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ชื่อเดิมคือ กระทรวงเศรษฐกิจ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 58, ตอน 0 ง, 18 กันยายน พ.ศ. 2484, หน้า 2942
  2. "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  3. "อดีตอธิบดีกรมรถไฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-12. สืบค้นเมื่อ 2018-08-09.
  4. ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. 6.0 6.1 คนจีนในแผ่นดินสยาม
  7. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 242
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องลาออกจากถานันดรสักดิ์, เล่ม 61, ตอน 42, 18 กรกดาคม พ.ศ. 2487, หน้า 1411-2
  9. เรื่อง พระราชทานยสทหาน
  10. "เรื่อง พระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.
  11. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 100 ตอน 202 ง ฉบับพิเศษ: หน้า 33. 28 ธันวาคม พ.ศ. 2526. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 70 ตอนที่ 29 หน้า 2052, 12 พฤษภาคม 2496
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 67 ตอนที่ 67 หน้า 6345, 12 ธันวาคม 2493
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 67 ตอนที่ 67 หน้า 6345, 12 ธันวาคม 2493
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 67 ตอนที่ 67 หน้า 6345, 12 ธันวาคม 2493
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 71 ตอนที่ 49 หน้า 1724, 3 สิงหาคม 2497

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ถัดไป
พระอุดมโยธาธิยุต
อธิบดีกรมรถไฟ
(1 กุมภาพันธ์ 2479 – 30 กรกฎาคม 2485)
ชลอ ศรีธนากร
ปุ่น ศกุนตนาค
อธิบดีกรมรถไฟ
(11 พฤศจิกายน 2492 – 30 มิถุนายน 2494)
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
(ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย)
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
(อธิบดีกรมรถไฟ)

ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
(1 กรกฎาคม 2494 – 10 กันยายน 2502)
ไสว ไสวแสนยากร
ควง อภัยวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(8 กันยายน 2485 – 1 สิงหาคม 2487)
ควง อภัยวงศ์
หลวงสินธุสงครามชัย
(สินธุ์ กมลนาวิน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
(7 มีนาคม 2485 – 5 พฤษภาคม 2485)
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(5 พฤษภาคม 2485 – 8 กันยายน 2485)
ควง อภัยวงศ์