ข้ามไปเนื้อหา

ประสพ บุษราคัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประสพ บุษราคัม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าผัน บุญชิต
ถัดไปสุเทพ เทือกสุบรรณ
เสนาะ เทียนทอง
ประยุทธ์ ศิริพาณิชย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 (83 ปี)
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
พรรคการเมืองกิจสังคม (2522–2535)
ชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
เพื่อไทย (2551–2561)
เศรษฐกิจใหม่ (2561–2565)
เสมอภาค (2565–2567)
เพื่อบ้านเมือง (2567–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสืบกุล บุษราคัม

ประสพ บุษราคัม (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 6 สมัย

ประวัติ

[แก้]

ประสพ บุษราคัม เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายบุญแปลง กับนางบุญคุณ บุษราคัม มีพี่สาว 1 คน[1]สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง

[แก้]

ประสพได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538 รวม 6 สมัย [2]

ประสพ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.43) แทนที่นายผัน บุญชิต ที่ถูกปรับออกจากตำแหน่ง[3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ประสพลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 93 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง [4]

ใน พ.ศ. 2555 ประสพ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายฯ[5] และในปีเดียวกัน ประสพถูกเสนอชื่อให้ลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีในนามพรรคเพื่อไทย ทว่าเขาถอนตัวในเวลาต่อมา เนื่องด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ประสพลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเศรษฐกิจใหม่ ลำดับที่ 33[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งปี พ.ศ. 2565 นายประสพได้ย้ายมาสังกัดพรรคเสมอภาคพร้อมกับรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ประสพ บุษราคัม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
  4. บัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
  5. "'ประสพ'เผยยังไม่นำรายงานแก้ รธน.ชุด'โสภณ'เข้าพิจารณา". www.thairath.co.th. 2013-01-14.
  6. เจาะสนามเลือกตตั้ง
  7. "พรรคเสมอภาค" ปรับ กก.บห.และ กก.สรรหาฯ ใหม่ "รฎาวัญ" ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่สาม "ประสพ บุษราคัม" ประธานที่ปรึกษาพรรค ชูนโยบาย "แก้จนหมดหนี้ "ช่วยเกษตรกร สู้ "กระแส-กระสุน" ตั้งเป้าอย่างน้อย 25 ส.ส.ปาร์ตี้ลิส
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕