ข้ามไปเนื้อหา

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
สุรเกียรติ์ ในปี พ.ศ. 2567
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าธารินทร์ นิมมานเหมินท์
ถัดไปบดี จุณณานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุรินทร์ พิศสุวรรณ
ถัดไปกันตธีร์ ศุภมงคล
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ก่อนหน้าภิรมย์ กมลรัตนกุล
นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
12 กันยายน พ.ศ. 2567
ก่อนหน้าเกษม วัฒนชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2501 (66 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2551)
คู่สมรสท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย (ลดาวัลย์ ณ อยุธยา)
บุตรดร.สันติธาร เสถียรไทย
บุพการีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุนทร เสถียรไทย
คุณหญิงเกื้อกูล เสถียรไทย (สกุลเดิม สวัสดิ์-ชูโต)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ปร.ด.)
มหาวิทยาลัยทัฟส์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพนักวิชาการ
นักบริหาร
นักการทูต
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์https://www.facebook.com/DrSurakiart

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่ 23[1] นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนที่ 9 เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษานายกรัฐ���นตรีสมัยพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก) อีกทั้งเคยถูกเสนอชื่อเพื่อเป็นเลขาธิการสหประชาชาติในนามของ 10 ประเทศอาเซียน แต่ได้ถอนตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549[2] หลังมีการรัฐประหารในประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เกิดวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนเดียวของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุนทร เสถียรไทย[3] (อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง) กับศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิงเกื้อกูล เสถียรไทย (สกุลเดิม : สวัสดิ์-ชูโต) (อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย สมรสกับท่านผู้หญิง สุธาวัลย์ เสถียรไทย (ธิดาของหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตราชเลขาธิการและอดีตองคมนตรี กับท่านผู้หญิงหม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์ (สกุลเดิม : กิติยากร) พระขนิษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) มีบุตร 1 คน คือ ดร.สันติธาร เสถียรไทย

การศึกษา[4]

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

งานการศึกษา

[แก้]

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เคยร่วมสอนกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กับ ศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์ ในระดับปริญญาโท ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการวิจัยสหสาขาระหว่างนิติศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนาเป็นคนแรก และระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2538 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] เป็นศาสตราภิชานของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 วาระติดต่อกัน และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[6] เคยดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2564)[7] ประธานที่ประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง (พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2564) เคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน สหรัฐอเมริกาและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) (พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2567)

เคยดำรงตำแหน่งนักวิชาการอาวุโสของโรงเรียนกฎหมายฮาร์วาร์ด และโรงเรียนรัฐบาลเคนเนดี้ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) ของมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา และสมาชิกสภาที่ปรึกษา (Member of the Advisory Council), Global Law and Policy Institute, Harvard Law School, U.S.A. และ Member of Asian Advisory Group of the Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University สหรัฐอเมริกา

งานการเมือง

[แก้]

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานโยบายนายกรัฐมนตรี หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก" ในรัฐบาลพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา (ครม.51) และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรองนายกรัฐมนตรี[8] ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร (ครม.54 - ครม.55) ซึ่งได้ริเริ่มกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและในภูมิภาคเอเชีย เช่น ACMECS และ ACD

งานองค์การระหว่างประเทศ

[แก้]

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับเลือกจากประเทศในเอเชียให้เป็นประธานสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเชีย (President of Asia Society of International Law (ASIL)) ระหว่างปี 2556 - 2558[9] และได้รับเลือกจากสมาชิก 24 ท่านของคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและการปรองดองแห่งเอเชีย (Asian Peace and Reconciliation Council : APRC) ให้เป็นประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพ และการปรองดองแห่งเอเชีย (พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน) ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยลดความขัดแย้งและส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย[10][11], ได้รับเลือกเป็นกรรมการของการประชุมโบอ่าว (Boao Forum for Asia) 2 สมัยจนถึงปัจจุบัน, ได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้นำเพื่อสันติภาพ (Leaders for Peace), ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะกรรมการวิสัยทัศน์นิติธรรม 2030 และเป็นประธานร่วมกับอดีตประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ของสหรัฐอเมริกา ในคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศเนปาล (พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2560) เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2549 สุรเกียรติ์เคยถูกเสนอชื่อเพื่อเป็นเลขาธิการสหประชาชาติในนามของ 10 ประเทศอาเซียน แต่ได้ถอนตัวไปใ���เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549[4][2]

งานสังคม

[แก้]

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ และมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ องค์นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งมา 29 ปี ซึ่งได้มีกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนด้านอุทกภัย การเฝ้าระวังภัยและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน, เป็นประธานมูลนิธิส่งเสริมนักกฎหมายธุรกิจ, รองประธานมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า, ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (พ.ศ. 2554 - 2559), ประธานกรรมการมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (พ.ศ. 2559 - 2562), ประธานกรรมการกองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (พ.ศ. 2554 - 2564), ประธานกิตติมศักดิ์กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน) เป็นต้น

ในอดีตเคยเป็นประธานมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์, ประธานมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งอนุรักษ์พัฒนาวัฒนธรรมการแสดงโขนและวัฒนธรรมของไทย, ประธานคณะกรรมการการจัดหาทุนโครงการผ่าตัดหัวใจให้คนยากจนเทิดพระเกียรติในหลวงทั่วหล้า 84 พรรษามหาราชา (พ.ศ. 2554)

งานธุรกิจ

[แก้]

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักกฎหมายสากลสยามพรีเมียร์ เมื่อปี พ.ศ. 2533 นอกจากนี้เป็นผู้มีบทบาทหลักในการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาทสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ (Take or Pay) ระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกับกลุ่มผู้ผลิตก๊าซในเมียนม่าร์ ซึ่งผลการเจรจาเป็นผลให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไม่ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีความ นอกจากนี้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2540 ในฐานะประธานกรรมการ ได้นำบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ไป Roadshow ในต่างประเทศ จนประสบความสำเร็จในการออกหุ้นเพิ่มทุนแม้อยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 และยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับเจ้าหนี้ต่างประเทศเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูกิจการให้บริษัท ไทยออยล์ จำกัด ในฐานะประธานคณะผู้นำแผนและ ประธานคณะผู้บริหารแผน จนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรกของไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 จึงเป็นผลดีต่อบริษัทที่รัฐบาลมีหุ้นใหญ่ให้เจริญก้าวหน้าได้มั่นคง และปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง

ตำแหน่งปัจจุบัน

[แก้]
  • นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]
  • นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รองประธานที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
  • ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย
  • ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ประธานกรรมการบริษัท เป็ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด
  • ประธานที่ปรึกษา สำนักกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด
  • ประธานที่ปรึกษาภูมิภาคเอเชีย บริษัท SICPA S.A จำกัด ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
  • ประธานที่ปรึกษาด้าน ESG ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Nestle S.A. จำกัด ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ผลงาน[12]

[แก้]

หนังสือ[13]

[แก้]
  • Third World Attitudes Toward International Law An Introduction โดยเขียนร่วมกับศาสตราจารย์เฟรดเดอริก สไนเดอร์  (ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff Publishers)
  • กฎหมายกับชุมชน มิติใหม่ของการพัฒนา (พ.ศ. 2542)
  • บทบาทของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2553)
  • กฎหมายและผลประโยชน์ของไทยในอ่าวไทย : กรณีศึกษาบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชาเรื่องการเจรจาสิทธิในอ่าวไทย (พ.ศ. 2553)

บทความ

[แก้]
  • Sustainable Development ใน ITD, Issue 3 (พ.ศ. 2553)
  • ภาพรวมการเคลื่อนย้ายและการกำกับทุนโลก ในสรุปรายงานการลงทุนโลก 2010 โดย ITD (พ.ศ. 2553)
  • ธรรมา���ิบาลโลกด้านเศรษฐกิจการเงิน ในวารสารกฎหมายฉบับพิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2554)

นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ยังมีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก เช่น World Bank Economic Review, Harvard Journal of International Law, Harvard Human Rights Journal, Texas International Law Journal, Far Eastern Economic Review

รางวัลเกียรติยศ

[แก้]
  1. พ.ศ. 2539, 2546 : นิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีเด่น
  2. พ.ศ. 2549 : ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  3. พ.ศ. 2557 : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  4. พ.ศ. 2562 : ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  5. พ.ศ. 2562 : ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  6. พ.ศ. 2562 : ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  7. พ.ศ. 2563 : ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

สถานที่เกี่ยวเนื่องกับชื่อ

[แก้]
  • อาคารสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (ศูนย์ปฏิบัติการศึกษาด้านระบบรางและอากาศยาน) ณ ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน[23]
  • ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มูลนิธิสุรเกียรติ์ เสถียรไทย [24]

ลำดับสาแหรกของสุรเกียรติ์ เสถียรไทย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑๕๔ ง หน้า ๒๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
  2. 2.0 2.1 United Nations Digital Library System, Letter dated 6 October 2006 from the Permanent Representative of Thailand to the United Nations addressed to the President of the General Assembly , เข้าถึงเมื่อ 2024-06-09
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 United Nations Digital Library System, Letter dated 5 July 2006 from the Permanent Representative of Malaysia to the United Nations addressed to the President of the Security Council , เข้าถึงเมื่อ 2024-06-09
  5. "Table of Contents - Issue 3". Texas International Law Journal. 41: [v]. 2006.
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ [นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย]
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน [นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย]
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
  9. President of Asia Society of International Law (ASIL)
  10. เปิดใจ “สุรเกียรติ์ เสถียรไทย” ปธ.ที่ปรึกษาพม่าแก้ปัญหารัฐยะไข่
  11. ”ไทยเบฟ” หนุนการสร้างสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย
  12. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย[ลิงก์เสีย] - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า (kpi.ac.th)
  13. "สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.car.chula.ac.th.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
  23. สวพ. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ศูนย์ปฏิบัติการศึกษาด้านระบบรางและอากาศยาน ณ ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง - (rmuti.ac.th)
  24. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1794238.pdf
ก่อนหน้า สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ถัดไป
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
พินิจ จารุสมบัติ
สมศักดิ์ เทพสุทิน

รองนายกรัฐมนตรี
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
สุรินทร์ พิศสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
กันตธีร์ ศุภมงคล
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2539)
บดี จุณณานนท์