รักษ์ ตันติสุนทร
รักษ์ ตันติสุนทร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กันยายน พ.ศ. 2543 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก |
เสียชีวิต | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (75 ปี) |
คู่สมรส | จงรักษ์ ตันติสุนทร |
นายรักษ์ ตันติสุนทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.53) และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 2 สมัย
ประวัติ
[แก้]รักษ์ ตันติสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นบุตรของนายซ้งกี่ กับนางแจง ตันติสุนทร และเป็นน้องชายของนายอุดร ตันติสุนทร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เขาประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ สมองช้ำบวม มีเลือดออกกดที่เนื้อสมองและใต้เยื่อสมองข้างซ้าย ต้องรักษาโดยการเจาะคอช่วยการหายใจและใส่ท่อให้อาหารทางกระเพาะอาหาร ต้องผ่าตัดสมองเพื่อหยุดการไหลของเลือด และต้องนำกะโหลกศีรษะออกบางส่วน โดยรักษาตัวอยู่ในห้องบำบัดผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) อย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ศาลจังหวัดตาก จึงมีคำสั่งให้นายรักษ์ ตันติสุนทร เป็นคนไร้ความสามารถ[1] ในที่สุดเขาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การทำงาน
[แก้]รักษ์ ตันติสุนทร เป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจตลาดสี่มุมเมือง[2] และเป็นนักการเมือง เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อโดยให้บุตรชายคือ นายธนญ ตันติสุนทร ลงสมัครในพื้นที่จังหวัดตากแทน แต่นายรักษ์ ไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากเขาลงสมัครเป็นลำดับที่ 43 แต่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งถึงลำดับที่ 39 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เขาและลูกชาย ได้วางมือทางการเมือง ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้น[2]
ต่อมาเขาได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก ได้คะแนน 62,108 คะแนน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาลสั่งให้ "รักษ์ ตันติสุนทร" อดีตรัฐมนตรี เป็นคนไร้ความสามารถ ประสบอุบัติเหตุ ไม่รู้สึกตัว
- ↑ 2.0 2.1 "ประชาธิปัตย์ตากวุ่น"รักษ์-ลูก"พักรบ ไทยรักไทยจ้องเขต 1-ชาติไทยแรงเขต 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- บุคคลจากอำเภอเมืองตาก
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดตาก
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บุคคลไร้ความสามารถ