การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงทะเบียน | 46,939,549 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 75.03% ( 0.52 จุด) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
บทคว���มนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย |
การเมืองไทย |
---|
สถานีย่อยประเทศไทย |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 24 ของประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2554[1]
การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล อันประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค และได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา คะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระ[2]
มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 75.03%[3] จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน และรองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน [4] โดยผู้ใช้สิทธิ์เลือกพรรคเพื่อไทย คิดเป็น 44.72% ของจำนวนผู้ที่ออกมาเลือกตั้งในปี 2554 ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่[5] นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร[6] และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย[7] ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่[5]
เบื้องหลัง
[แก้]ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน คือ สมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หลังจากคดียุบพรรคการเมือง ซึ่งส่งผลให้พรรครัฐบาลหลักสามพรรคถูกยุบ ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยเสียงสนับสนุนสำคัญจากพรรคภูมิใจไทย โดยหลังจากนั้นได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในขณะที่คดีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 อัยการยังไม่สั่งฟ้องในคดีอาญา
จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์, วีระ มุสิกพงศ์ และ นายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอ เนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายในเวลา 9 เดือน[8]
จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[9] อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด[9] ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[10] จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา
การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[11] โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม[12] ซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมณ์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน[13] จนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม
โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่าง ๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ[2] หากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนน��ิยมของพรรคตกต่ำลง[14]
ในวันที่ 3 เมษายน 2554 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประทานสัมภาษณ์พิเศษ ในรายการ วู้ดดี้ เกิดมาคุย ใจความตอนหนึ่งทรงกล่าวโจมตี การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชวรหนัก [15]และ การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยที่ทรงละเว้นการกล่าวถึง การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในประเทศมหาศาลเช่นเดียวกัน การประทานสัมภาษณ์ครั้งนั้นมีผลให้ กลุ่มผู้ชุมนุมโกรธแค้น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบทความ เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?[16][17]ความโกรธแค้นของกลุ่มผู้ชุมนุมจากการประทานสัมภาษณ์พิเศษดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของผลการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สามารถโต้ตอบได้เลยนอกจากแสดงออกในการเลือกตั้งเท่านั้น
พรรคการเมืองที่ลงสมัคร
[แก้]พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ[18]
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[19] ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[20] ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน[21] ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค ดร.สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค[22]
รูปแบบการเลือกตั้ง
[แก้]โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน[23]
ระบบบัญชีรายชื่อ
[แก้]ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้[24]
ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 125 คน
- บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
- รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
- จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
- หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
- นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
- เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
- รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
- เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)
ในการเลือกตั้งครั้งนี้หมายเลขผู้สมัครที่จับในระบบบัญชีรายชื่อจะใช้กับระบบแบ่งเขตเลือกตั้งด้วย โดยแต่ละพรรคจะใช้หมายเลขเดียวกันทั้งสองระบบทั่วประเทศ ซึ่งหมายเลขที่แต่ละพรรคจับได้เป็นดังนี้
|
ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2550 ก่อนหน้านี้นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" คือมีการแบ่งเขตเลือกตั้งโดยที่การแบ่งเขตนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนประชากรในเขตที่ต่างกัน ดังนั้นแต่ละเขตจะมีจำนวนผู้แทนได้ไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 1-3 คน ตามขนาดของประชากรในเขต ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้จำนวน เท่ากับจำนวนผู้แทนในเขตของตน[26] แต่การเลือกตั้งผู้แทนในครั้งนี้ แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" คือ การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะแบ่งเป็น 375 เขต โดยยึดหลักให้แต่ละเขตนั้นมีจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ดังนั้นในแต่ละเขตจะมีผู้แทนได้เขตละ 1 คนอย่างเท่าเทียมกัน และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว[27]
เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 เขตนั้น ตามรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศให้มีหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังต่อไปนี้[28]
- นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ จากทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีก่อนการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวนผู้แทนในระบบเขต (คือ 375) จะได้อัตราส่วนของราษฎรต่อผู้แทน 1 คน
- นำจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัด หารด้วยอัตราส่วนที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนเขตเลือกตั้งที่มีในจังหวัด
- จังหวัดที่ผลหารต่ำกว่า 1 เขต (เช่น 0.86 เขต) ให้ปัดขึ้นเป็น 1 เขต (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มีจังหวัดใดเข้าข่ายกรณีนี้)
- จังหวัดที่ผลหารมากกว่า 1 และมีเศษทศนิยม ให้ปัดเศษทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลของเศษทศนิยมไว้ (เช่น 4.93 ปัดทิ้งเหลือ 4)
- รวมจำนวนผู้แทนของทั้ง 77 จังหวัด หากยังไม่ครบ 375 เขต ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือมากที่สุดขึ้นไป 1 เขต หากยังไม่ครบอีก ให้เพิ่มจำนวนเขตในจังหวัดที่มีเศษทศนิยมเหลือเป็นอันดับสองขึ้นไปอีก 1 เขต ทำเช่นนี้ไปตามลำดับ จนกว่าจะได้จำนวนครบ 375
- จังหวัดใดมีจำนวนเขตมากกว่า 1 เขต จะต้องแบ่งเขตโดยให้พื้นที่ของแต่ละเขตติดต่อกัน และแต่ละเขตต้องมีจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกันด้วย (หลังจากการเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงที่สุดในแต่ละเขต จะได้เป็นผู้แทน)
แต่ละจังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งดังต่อไปนี้[29]
พื้นที่ | จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร |
---|---|
กรุงเทพมหานคร | 33 |
นครราชสีมา | 15 |
อุบลราชธานี | 11 |
เชียงใหม่, ขอนแก่น | 10 |
อุดรธานี, นครศรีธรรมราช และบุรีรัมย์ | 9 |
ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และสงขลา | 8 |
ชัยภูมิ, เชียงราย, สมุทรปราการ และสกลนคร | 7 |
นครสวรรค์, นนทบุรี, สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี, เพชรบูรณ์ และกาฬสินธุ์ |
6 |
กาญจนบุรี, นครปฐม, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก มหาสารคาม, ราชบุรี และสุพรรณบุรี |
5 |
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง, เลย, สระบุรี และสุโขทัย |
4 |
กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, อุตรดิตถ์, เพชรบุรี แพร่, ยโสธร, ยะลา, สมุทรสาคร, สระแก้ว, หนองคาย และหนองบัวลำภู |
3 |
ชัยนาท, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล อ่างทอง, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และบึงกาฬ |
2 |
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน ระนอง, สิงห์บุรี และสมุทรสงคราม |
1 |
การย้ายพรรค
[แก้]พรรคเพื่อไทย (11)
[แก้]- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 6 คน [30]
- ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรี
- วุฒิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครนายก
- ปิยะรัช หมื่นแสน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยเอ็ด
- กรุงศรีวิไล สุทินเผือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ
- จิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมุทรปราการ
- สมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
- ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน
- นิคม เชาว์กิตติโสภณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[31]
- จุมพฏ บุญใหญ่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สกลนคร[32]
- ย้ายไปพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 1 คน
- บุญเลิศ ครุฑขุนทด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา[33]
- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน
- อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม่ฮ่องสอน[34]
- ย้ายไปพรรคมาตุภูมิ 1 คน
- พันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา [35]
พรรคประชาธิปัตย์ (6)
[แก้]- ย้ายไปพรรคเพื่อไทย 3 คน
- มานิตย์ ภาวสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี[36]
- องอาจ วงษ์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรี[36]
- นาราชา สุวิทย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลา [37]
- พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลา
- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 1 คน
- วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรี [38]
- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน
- โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิงห์บุรี [39]
พรรคภูมิใจไทย (2)
[แก้]- ย้ายไปพรรคเพื่อไทย 1 คน
- พันตำรวจโทนุกูล แสงศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครสวรรค์[40]
- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน
- ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน กลุ่มที่ 3[41]
พรรคเพื่อแผ่นดิน (30)
[แก้]- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 12 คน
- ประนอม โพธิ์คำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา[42]
- จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา[42]
- รณฤทธิชัย คานเขต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยโสธร[43]
- พิกิฎ ศรีชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยโสธร[43]
- พิเชษฐ์ ตันเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉะเชิงเทรา[43]
- ณัชพล ตันเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉะเชิงเทรา[43]
- ปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสัดส่วน[44]
- สาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์[45]
- กิตติศักดิ์ รุ่งธนะเกียรติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์[45]
- มานพ ปัตนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสัดส่วน กลุ่มที่ 8[46]
- นิมุคตาร์ วาบา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปัตตานี[47]
- พีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบุรีรัมย์[48]
- ย้ายไปพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 9 คน[49]
- ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
- อนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
- พลพีร์ สุวรรณฉวี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
- อุดร ทองประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุบลราชธานี
- สุชาติ ตันติวณิชชานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุบลราชธานี
- วิทยา บุตรดีวงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มุกดาหาร
- อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครพนม
- คงกฤช หงษ์วิไล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปราจีนบุรี
- รัชนี พลซื่อ สมาชิก���ภาผู้แทนราษฎรร้อยเอ็ด[50]
- ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน
- ไชยยศ จิรเมธากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุดรธานี[51]
- นรพล ตันติมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เชียงใหม่[51]
- ย้ายไปพรรคเพื่อไทย 3 คน
- สมเกียรติ ศรลัมพ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[52]
- พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[53]
- ถิรชัย วุฒิธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน[53]
- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน[54]
- ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สุรินทร์
- มลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
- ย้ายไปพรรคมาตุภูมิ 1 คน
- ยุซรี ซูสารอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปัตตานี[55]
- ย้ายไปพรรคแทนคุณแผ่นดิน 1 คน
- แวมาฮาดี แวดาโอะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นราธิวาส[56]
พรรคชาติไทยพัฒนา (2)
[แก้]- ย้ายไปพรรคประชาธิปัตย์ 1 คน
- อัศวิน วิภูศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสัดส่วน พรรคชาติไทยพัฒนา[57]
- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 1 คน
- มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลพบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา[58]
พรรครวมชาติพัฒนา (5)
[แก้]- ย้ายไปพรรคเพื่อไทย 2 คน[36]
- วิรัช รัตนเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
- ทัศนียา รัตนเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครราชสีมา
- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน
- วินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิจิตร [59]
- ไกร ดาบธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่[60]
- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 1 คน
- วรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมุกดาหาร[30]
พรรคประชาราช (9)
[แก้]- ย้ายไปพรรคเพื่อไทย 4 คน[61]
- เสนาะ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สัดส่วน
- สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระแก้ว
- ฐานิสร์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระแก้ว
- ตรีนุช เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระแก้ว
- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 2 คน[48]
- จักรกฤษณ์ ทองศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บุรีรัมย์
- ชนากานต์ ยืนยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปทุมธานี
- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน
- สมชัย เจริญชัยฤทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครสวรรค์[30]
- ย้ายไปพรรคความหวังใหม่ 1 คน
- จิรวดี จึงวรานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศรีสะเกษ
พรรคกิจสังคม (4)
[แก้]- ย้ายไปพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน[62]
- มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิษณุโลก
- ชยุต ภุมมะกาญจนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปราจีนบุรี
- ย้ายไปพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 2 คน[62]
- วารุจ ศิริวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุตรดิตถ์
- สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุโขทัย
พรรคมาตุภูมิ (1)
[แก้]- ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย 1 คน
- ดร.ฟารีดา สุไลมาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์ พรรคมาตุภูมิ[63]
เหตุการณ์ก่อนการเลือกตั้ง
[แก้]ที่รัฐสภา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสภาพัฒนาการเมือง เชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมพิธีให้สัตยาบันและลงนามจรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้ง โดยมีประธานวุฒิสภา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวแทนจากศาสนาต่าง ๆ เอกอัครราชทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศมาร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมีตัวแทนจาก 17 พรรคการเมืองเข้าร่วมพิธี ขาดพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย[18]
เป็นที่คาดกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความดุเดือดรุนแรงเป็นพิเศษ หลังมีการเปลี่ยนรูปแบบการลงคะแนนไปเป็น "เขตเดียวเบอร์เดียว" และเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุ ประชา ประสพดี อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธปืนขณะเดินทางด้วยรถยนต์กลับบ้าน[64] โดยคาดว่ามือปืนมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ ตำรวจได้มีการเฝ้าระวังติดตามมือปืนที่มีประวัติและคดีอุกฉกรรจ์ ด้านพันเอกธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ทหารพร้อมเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหน่วยเลือกตั้ง[65]
ด้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้มีการรณรงค์ "โหวตโน" หรือกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน พร้อมกับติดป้ายรณรงค์ที่เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ใส่ชุดสูท โดยสื่อถึงนักการเมือง พร้อมข้อความระบุว่า "อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภา" ด้านพลตรีจำลอง ศรีเมือง ออกมาระบุว่า กระทำไปด้วยความหวังดีต่อบ้านเมือง และนักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ตลอดจนไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับการเสียดินแดน[66] เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ได้ออกมาตั้งคำถามว่า "ผมอยากถามว่า คนเหล่านี้มีสิทธิ์หรือไม่ ในเมื่อเราเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเชื่อว่าผู้สมัครทั้งหมดของเราขณะนี้ 40 พรรค ไม่ได้แย่ไปหมด ผมยืนยันพี่น้องประชาชน และบ่อยครั้งคนของเราดีกว่ากลุ่มที่รณรงค์โนโหวตด้วยซ้ำไป ฉะนั้นควรปลดป้ายลง เพราะคนเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะติดป้าย เพราะเขาไม่ใช่พรรคการเมือง"[67] ในขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ออกมาร้องคณะกรรมการการเลือกตั้งให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปลดป้ายโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติ 4 ต่อ 1 ให้ปลดป้ายออก อย่างไรก็ตามทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ยื่นเรื่องฟ้องศาลปกครองและไม่มีการปลดป้ายแต่อย่างใด[68]
พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอให้มีการดีเบต หรือโต้วาที ระหว่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงวิสัยทัศน์และนโยบายของพรรคต่อประชาชน โดยอภิสิทธิ์ต้องการพิสูจน์ถึงความพร้อมทำงานสานต่อภารกิจ และเห็นว่าเป็นธรรมเนียมประชาธิปไตยที่ผู้สมัครจะแสดงวิสัยทัศน์แก่ประชาชน[69] แต่ทางพรรคเพื่อไทยปฏิเสธ[70] โดยร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เห็นว่า การดีเบตเป็นแนวทางของระบบประธานาธิบดี[71]
นอกจากนี้ยังได้เกิดเหตุฆ่าหัวคะแนนของพรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น
- วัชรินทร์ ทางกลาง หัวคะแนน สุชาติ ลายน้ำเงิน พรรคเพื่อไทย ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 ที่จังหวัดลพบุรี[72]
- วิโรจน์ ดำสนิท นายก องค์การบริหารส่วนตำบล โผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หัวคะแนนพรรคชาติไทยพัฒนา ถูกคนร้ายเสียชีวิต ส่วนภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[73]
- นิมิตร แก้วกำพล หัวคะแนนพรรคชาติไทยพัฒนาถูกยิงเสียชีวิต ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้ก่อเหตุคือ ปราโมทย์ คงทอง ซึ่งมีปากเสียงกันก่อนจะบันดาลโทสะใช้ปืนยิงผู้ตายเสียชีวิต[73]
- มงคล วีระวัฒน์พงษ์ศธร ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านห้วยส้าน หมู่ 8 ต.แม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายหัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ ศ. 2554[74]
- วุฒิชาติ กันพร้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี หัวคะแนนพรรคเพื่อไทยถูกยิงเสัยชีวิต เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ตำรวจคาดว่าคนร้ายใช้อาวุธปืนกลมือขนาดกระสุน 11 มิลลิเมตร[75]
- ดาหารี การี หัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกคนร้ายคาดว่าเป็นพรรคการเมืองคู่แข่งใช้มีดแทงเสียชีวิต ที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สาเหตุจากการโต้เถียงทางการเมือง[76]
- สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหัวคะแนนคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย และเป็นพี่ชายของ มะลิวัลย์ จิระพันธุ์วาณิช ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย ถูกยิงเสียชีวิตในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554[77]อรพิน จิระพันธุ์วาณิช ภรรยา ได้รับบาดเจ็บสาหัส และชนุตพร โพธิสัมภารวงศ์ เลขานุการของสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิชได้รับบาดเจ็บ[78]
- รังสรรค์ อินทสุทธิ์ หัวคะแนนสุรเชษฐ์ ชัยโกศล พรรคเพื่อไทย ถูกยิงเสียชีวิตที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สนองพจน์ อยู่เล็ก คนร้าย อ้างว่าเป็นการป้องกันตัวและเข้ามอบตัวกับตำรวจ[79]
- จงกล บุญญา อดีตนายก องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหัวคะแนนคนสำคัญของผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 พรรคเพื่อไทย ถูกจ่อยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554[80]
- โสภณ สองแก้ว กำนัน ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา หัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด 11 มิลลิเมตร ยิงที่ศีรษะ ส่วนภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554[81]
- วิทยา ศรีพุ่ม หัวคะแนนพรรคภูมิใจไทย นายก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่ อำเ���อบางแพ จังหวัดราชบุรี ถูกจ่อยิงเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนขนาด .38 สาเหตุเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องการเมืองท้องถิ่น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554[82]
- ซาการียา หะมะ หัวคะแนนพรรคภูมิใจไทย จังหวัดนราธิวาส บาดเจ็บสาหัสจากการถูกลอบสังหารหลังจากเดินทางกลับจากการประชุมร่วมกับผู้สมัครในพื้นที่ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554 [83]
ช่วงเดือนมิถุนายน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐระบุว่าทูตประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ อังกฤษ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ เดินทางเข้าพบหารือสถานการณ์เลือกตั้งและอวยพรในวันคล้ายวันเกิดของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[84] ซึ่งอาซีฟ อาหมัด เอกอัครราชทูตอังกฤษ กล่าวว่า เป็นเรื่องแปลกเพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการการเลือกตั้งและพรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีการสังเกตการณ์เลือกตั้ง แต่ครั้งนี้กลับไม่มี[84] ด้านพรรคเพื่อไทยออกมาชี้ว่ามีความพยายามโกงการเลือกตั้ง[84] พล.ต.ณพล คชแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ยื่นฟ้องศาลขอให้ระงับการเลือกตั้งทั่วไป และขอให้ถวายสมบูรณาญาสิทธิราชย์คืนแก่พระมหากษัตริย์ โดยอ้างว่าเนื่องจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับโดยไม่ผ่านการทำประชามติ อย่างไรก็ตามศาลฎีกามีคำสั่งยกฟ้อง และศาลปกครองสูงสุดไม่รับคดีไว้ในพิจารณา[85]
ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 หนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้ลงบทความในหน้าหนึ่งเกี่ยวกับการพร้อมให้ตรวจสอบกรณีมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ลึกลับกล่าวหาว่ามีผู้สื่อข่าวรับสินบนเพื่อให้เสนอข่าวให้พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากการตรวจสอบเป็นการภายในเครือเนชั่นได้ออกมาปฏิเสธเรื่องการติดสินบนแลกการนำเสนอข่าวดังกล่าว[86]
ทั้งนี้บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย มีการปราศัยในลักษณะโต้วาทีในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ถึงสองครั้งในประเด็นการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมถึงดนุพร ปุณณกันต์ ที่ได้ออกมาปราศัยถึงเรื่องนี้เช่นกันโดยกล่าวตอนนึงว่า วันนี้คนเสื้อแดงถูกขังลืม แต่ทำไมคนเสื้อเหลืองลืมขัง[87]
พรรคภูมิใจไทยได้ฟ้องร้องพรรคเพื่อไทย ในกรณีที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ใส่ร้ายผู้สมัครของพรรคคือ เนวิน ชิดชอบ และ ชัย ชิดชอบ ด้าน แทนคุณ จิตต์อิสระได้ฟ้องร้องเรื่องนี้กับ การุณ โหสกุล เป็นการส่วนตัวเช่นตัวกัน[88] นอกจากนี้ยังมีการยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโดยนายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษคอรัปชั่นทักษิณ ซึ่งยื่นฟ้องต่อดีเอสไอ ในกรณีที่ยิ่งลักษณ์ให้การเท็จต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ในการถือหุ้นบริษัทชินคอร์ป เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 302 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์[89]
ตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีเว็บไซด์ที่ทำการปิดชั่วคราวโดยเฉพาะเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาด้านการเมืองหรือของพรรคการเมืองเช่นเว็บไซด์ของพรรคประชาธิปัตย์ เว็บไซด์พันทิปห้องราชดำเนิน ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งออกมาเตือนว่าการหาเสียงทางเครือข่ายสังคมออนไลน์จะเป็นการผิดกฎหมายหลังเวลา 18.00 ของวันดังกล่าว
การเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
[แก้]การเลือกตั้งล่วงหน้าจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554 หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์มากถึง 2.6 ล้านคน รวมทั้ง 1.07 ล้านคนในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหลายคนไม่สามารถลงคะแนนได้เนื่องจากมีผู้ไปใช้สิทธิ์กันอย่างหนาแน่น[90] ส่วนการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรนั้น มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรถึง 147,330 คน เพิ่มขึ้นจาก 90,205 คน เมื่อปี พ.ศ. 2550 จำนวนผู้ลงทะเบียนในสิงคโปร์มีเกิน 10,000 คน และในสหราชอาณาจักรมีผู้ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คือ 4,775 คน เทียบกับ 2,296 คน[91]
เหตุการณ์ในวันเลือกตั้ง
[แก้]วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีผู้สมัครพรรคมาตุภูมิ นายพูลผล อัศวเหม ถูกทำร้ายร่างกายหน้าบ้านพักที่จังหวัดสมุทรปราการ[92]ในขณะที่อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิง กรรมการหน่วยเลือกตั้งบาดเจ็บสาหัส 2 คน[93] ส่วนการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายสุรา และทำลายบัตรเลือกตั้ง
การสำรวจความคิดเห็น
[แก้]นายกรัฐมนตรีที่ต้องการ
[แก้]ระยะเวลา
การสำรวจ |
องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | อภิสิทธิ์ | ยิ่งลักษณ์ | อื่นๆ | ยังไม่ตัดสินใจ |
---|---|---|---|---|---|---|
20-22 พฤษภาคม | กรุงเทพโพล | 1,178 | 17.4 | 26.9 | 6.5 | 49.2 |
2-9 มิถุนายน | กรุงเทพโพล | 3,323 | 23.6 | 42.6 | 6.3 | 27.5 |
ระบบแบ่งเขต
[แก้]ระยะเวลาการสำรวจ | องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | เพื่อไทย | ประชาธิปัตย์ | อื่นๆ | ยังไม่ตัดสินใจ |
---|---|---|---|---|---|---|
17-18 พฤษภาคม | นิด้าโพล | 1,272 | 16.90 | 12.74 | 18.24 | 52.04 |
24-25 พฤษภาคม | นิด้าโพล | 1,234 | 17.99 | 12.07 | 1.05 | 48.38 |
1-2 มิถุนายน | นิด้าโพล | 1,230 | 16.67 | 9.19 | 28.21 | 45.93 |
7-8 มิถุนายน | นิด้าโพล | 1,338 | 18.59 | 9.15 | 1.15 | 43.73 |
ระบบบัญชีรายชื่อ
[แก้]ระยะเวลาการสำรวจ | องค์กรที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | เพื่อไทย | ประชาธิปัตย์ | อื่นๆ | ยังไม่ตัดสินใจ |
---|---|---|---|---|---|---|
17-18 พฤษภาคม | นิด้าโพล | 1,272 | 17.77 | 14.23 | 18.24 | 49.76 |
19-22 พฤษภาคม | สวนดุสิตโพล | 3,584 | 41.22 | 36.88 | 15.41 | 6.49 |
23-28 พฤษภาคม | สวนดุสิตโพล | 4,694 | 43.16 | 37.45 | 12.31 | 7.08 |
24-25 พฤษภาคม | นิด้าโพล | 1,234 | 18.31 | 11.75 | 1.22 | 48.95 |
1-2 มิถุนายน | นิด้าโพล | 1,230 | 16.67 | 9.19 | 28.21 | 45.93 |
7-8 มิถุนายน | นิด้าโพล | 1,338 | 18.01 | 9.51 | 28.60 | 43.88 |
4-18 มิถุนายน | สวนดุสิตโพล | 102,944 | 51.55 | 34.05 | 12.02 | 2.38 |
Exit Poll
[แก้]สำนัก | วันที่สำรวจ | กลุ่มตัวอย่าง | พท. | ปชป. | ภท. | ชทพ. | พช. | รปท. | ชพน. | รสต. | มภ. | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สวนดุสิตโพล | แบ่งเขต | 247 | 313 | 107 | 152 | 9 | 13 | 8 | 10 | 4 | 5 | 0 | 3 | 0 | 2 | 0 | 1 | 0 | 1 | ||
บัญชีฯ | 66 | 45 | 4 | 2 | 1 | 3 | 2 | 1 | 1 |
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]ผลอย่างเป็นทางการ
[แก้]↓ | ||||
พรรค | แบ่งเขต | บัญชีรายชื่อ | ที่นั่งรวม | +/- | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | คะแนนเสียง | % | ที่นั่ง | |||||
เพื่อไทย | 204 | 15,752,470 | 48.41 | 61 | 265 | 32 | ||||
ประชาธิปัตย์ | 115 | 11,435,640 | 35.15 | 44 | 159 | 6 | ||||
ภูมิใจไทย | 29 | 1,281,652 | 3.94 | 5 | 34 | พรรคใหม่ | ||||
ชาติไทยพัฒนา | 15 | 906,656 | 2.79 | 4 | 19 | 18 | ||||
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน | 5 | 495,762 | 1.52 | 2 | 7 | 26 | ||||
พลังชล | 6 | 178,042 | 0.55 | 1 | 7 | พรรคใหม่ | ||||
รักประเทศไทย | ไม่ส่งผู้สมัคร | 998,668 | 3.07 | 4 | 4 | พรรคใหม่ | ||||
มาตุภูมิ | 1 | 251,674 | 0.77 | 1 | 2 | พรรคใหม่ | ||||
รักษ์สันติ | 0 | 284,100 | 0.87 | 1 | 1 | พรรคใหม่ | ||||
มหาชน | ไม่ส่งผู้สมัคร | 133,752 | 0.41 | 1 | 1 | 1 | ||||
ประชาธิปไตยใหม่ | 0 | 125,753 | 0.39 | 1 | 1 | พรรคใหม่ | ||||
อื่น ๆ | – | 691,058 | 2.13 | – | – | – | ||||
คะแนนสมบูรณ์ | 33,180,116 | 100.00 | 375 | 32,535,227 | 100.00 | 125 | 500 | – | ||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | 1,419,148 | 4.03% | 958,213 | 2.72% | ||||||
คะแนนเสีย | 2,040,261 | 5.79 | 1,726,768 | 4.90 | ||||||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง | 35,220,377 | 75.03 | 35,220,208 | 75.03 | ||||||
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง | 46,939,549 | 100.00 | 46,939,549 | 100.00 | ||||||
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง |
เปรียบเทียบจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า
[แก้]ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
[แก้]ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
[แก้]การเลือกตั้งซ่อม
[แก้]- 21 เมษายน พ.ศ. 2555 - เขต 5 ปทุมธานี
- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - เขต 3 เชียงใหม่
- 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - เขต 2 ลำพูน
- 6 มกราคม พ.ศ. 2556 - เขต 2 ชลบุรี
- 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - เขต 4 ลพบุรี
- 21 เมษายน พ.ศ. 2556 - เขต 3 เชียงใหม่
- 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - เขต 12 (ดอนเมือง) กรุงเทพมหานคร
- 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - สืบเนื่องจากการที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลง 8 ตำแหน่ง ด้วยการลาออก จึงได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งดังกล่าว ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 7 เขตเลือกตั้งที่ 26 เขตเลือกตั้งที่ 29 จังหวัดชุมพร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดตรัง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ 6 และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 แต่ต้องยกเลิกไปเนื่องจากนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร[94]
กระบวนการหลังการเลือกตั้ง
[แก้]การรับรองผลการเลือกตั้ง
[แก้]ตั้งแต่การเลือกตั้งสิ้นสุดลงในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ขั้นตอนต่อไป คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องรับรองผลการเลือกตั้งภายในสามสิบวันหลังจากว���นเลือกตั้ง จากนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะได้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก เพื่อจะเลือกสรรประธานสภาผู้แทนราษฎร, รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรีคนใหม่คนใหม่ตามลำดับ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงจะแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมตินั้นต่อไป[95]
คณะกรรมการการเลือกตั้งเริ่มประชุมเพื่อพิจารณารับรองผลการเลือกตั้งในบ่ายวันที่ 12 กรกฎาคม ในวันนั้น ประชุมกันถึงค่ำ มีสมาชิกแนวร่วประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการประมาณห้าสิบคนมารอฟังผลถึงหน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และมีเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมอย่างเคร่งเครียด ครั้นแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนสามร้อยห้าสิบคนเป็นเบื้องต้น ในจำนวนนี้ ไม่รวมยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และก่อแก้ว พิกุลทอง เนื่องจากมีผู้คัดค้านผลการเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันมาก[95]
การตัดสิทธิ์
[แก้]เป็นที่คาดกันว่าจะมีการแจกใบแดงห้าใบระหว่างการลงคะแนนในจังหวัดสุโขทัย ชัยภูมิ มหาสารคาม ศรีสะเกษและบุรีรัมย์จากการโกงระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง[96] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาว่ามีการโกงเลือกตั้งครั้งมโหฬารโดยพรรคภูมิใจไทย ซึ่งอาจนำไปสู่การพิพากษายุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ[97]
ปฏิกิริยา
[แก้]สำนักข่าวรอยเตอส์ รายงานว่า "คะแนนเสียงในครั้งนี้ เป็นการตบหน้าฝ่ายนิยมเจ้าในกรุงเทพมหานครที่อยู่เบื้องหลังนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และชี้ให้เห็นว่านโยบายอันนำโดย พันตำรวจโท ทักษิณ ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง"[98]
หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์สูญอำนาจแล้วในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 นั้นเอง พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร สามารถให้สัมภาษณ์จากนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกอากาศสดทางช่อง 3 และช่องไทยพีบีเอสได้[99] และเย็นวันถัดมา มีกลุ่มเยาวชนที่ภาษาปากเรียก "เด็กแว้น" ขับจักรยานยนต์ส่งเสียงดังเพื่อเยาะเย้ยพรรคประชาธิปัตย์ที่หน้าที่ทำการพรรคบนถนนสามเสน โดยเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อพากันยืนดูเฉยไม่เอาเป็นธุระ[100]
วันที่ 4 กรกฎาคม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตามที่เคยให้สัญญาไว้ว่าจะลาออกหากพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้ง[101] พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชลและพรรคมหาชนตกลงที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมนำโดยพรรคเพื่อไทย ทำให้มีที่นั่งรวม 299 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[97] รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ประกาศว่ากองทัพจะยอมรับผลการเลือกตั้ง และจะไม่มีการแทรกแซงการเมือง ขณะที่ผู้บัญชาการทหารบกไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สัญญาว่าจะไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ระหว่างกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล[102]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ฮอร์ นัมฮง แสดงความยินดีต่อพรรคเพื่อไทยที่ชนะการเลือกตั้ง โดยกล่าว่า "เราไม่อาจปกปิดได้ว่าเรามีความสุขกับชัยชนะของพรรคเพื่อไทย" และแสดงความเชื่อมั่นว่าภายใต้รัฐบาลใหม่ ปัญหาข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาจะได้รับการตกลง[103] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% ในวันทำการซื้อขายวันแรกหลังการเลือกตั้ง[104]
วันที่ 7 กรกฎาคม พรรคประชาธิปไตยใหม่เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้มีจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 300 คน นอกจากนี้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังออกมาระบุว่า ไม่ได้ปิดกั้นมิให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด[105]
วันที่ 10 กรกฎาคม ละเมียน อยู่สุข ชาวระยองวัยแปดสิบปี ผู้นิยมชมชอบพรรคประชาธิปัตย์เป็นอันมาก ดื่มยาฆ่าหญ้าฆ่าตัวตายหลังจากผิดหวังกับปราชัยของพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ร่วมงานศพของเธอเป็นจำนวนมาก แต่ไม่รวมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่โทรศัพท์มาแสดงความเสียใจในภายหลัง[106]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ จำนวนที่นั่งเดิมของพรรคเพื่อไทย เปรียบเทียบจากจำนวนที่นั่งที่พรรคพลังประชาชนเคยได้รับ
- ↑ จำนวนที่นั่งเดิมของพรรคชาติไทยพัฒนา เปรียบเทียบจากจำนวนที่นั่งที่พรรคชาติไทยเคยได้รับ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๓๓ ก, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๙
- ↑ 2.0 2.1 สถานการณ์บีบ “จนตรอก” รัฐบาลเจาะรูเลื่อนเลือกตั้ง! เก็บถาวร 2012-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ASTVผู้จัดการ. (10 เมษายน 2554). สืบค้น 17-5-2554.
- ↑ "กกต.แถลงผลการเลือกตั้ง อย่างเป็นทางการ คาดประกาศรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในวันที่ 12 ก.ค.นี้". คณะกรรมการการเลือกตั้ง. 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
- ↑ "กกต.ชี้มีผู้ใช้สิทธิโหวตโน 2 ล้านเศษ คิดเป็น 4.03% บัตรเสียร้อยละ 5.79". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 5 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 10 May 2013.
- ↑ 5.0 5.1 "General Election 2011". Bangkok Post. 3 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 3 July 2011.
- ↑ Yingluck, Pheu Thai win in a landslide. Bangkok Post. (3 July 2011). Retrieved 8-7-2011.
- ↑ "Yingluck Shinawatra set to be Thailand's first female premier". CNN. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 3 July 2011.
- ↑ สรุปประเด็นเจรจา 2 รอบรัฐบาล VS นปช, หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ วันที่ 3 เมษายน 2553
- ↑ 9.0 9.1 "Asia-Pacific – Thai red shirts accept peace offer". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ "Thai PM scraps offer to hold election on Nov. 14 - People's Daily Online". English.people.com.cn. 2010-05-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
- ↑ การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้ง
- ↑ ประกาศว่าจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย
- ↑ การประกาศถึงเจตนารมณ์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี
- ↑ โค้งสุดท้าย. เดลินิวส์. (21 เมษายน 2554). สืบค้น 17-5-2554.
- ↑ หมายเหตุพฤษภา : .ฟ้าร่ำไห้ แผ่นดินสิ้นแสง!? ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในรายการ "วู้ดดี้ เกิดมาคุย"
- ↑ เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?
- ↑ ฐานข้อมูลคดี สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
- ↑ 18.0 18.1 พท.มติเอกฉันท์ชู'ยิ่งลักษณ์'ปาร์ตี้ลิสต์เบอร์1. มติชน. (12 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 15-5-2554.
- ↑ 'ชุมพล' ลงปาร์ตี้ลิสต์ ชาติไทยพัฒนาลำดับที่ 1. ไทยรัฐ. (16 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ ชาญชัย ผงาดปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 ชพน.. (14 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ 'ชูวิทย์' ประกาศตัวเป็น 'ฝ่ายค้าน' ส่งปาร์ตี้ลิสต์พรรค รปท.. ไทยรัฐ. (12 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ “สุริยะใส” ยืนยันการเมืองใหม่ไม่ส่งผู้สมัครเลือกตั้ง. MCOT. (13 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
- ↑ 25.0 25.1 รายชื่อผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2554
- ↑ ชาวบ้านได้อะไร? เลือกตั้ง "เขตเดียวเบอร์เดียว","เขตเดียวสามเบอร์". ไทยรัฐ. (24 สิงหาคม 2553). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ ที่มา-หน้าที่-ประเภท'สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร'. มติชน. (14 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๑๓ก, ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
- ↑ ทำความรู้จัก375เขต. เดลินิวส์. (13 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 "เปิดขุมข่ายอดีต สส. วัดกำลังพรรคการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ นิคม เชาว์กิติโสภณ ย้ายสังกัดพรรค
- ↑ เด็กเนวิน หนีกระแสขายตัว ย้ายซบประชาธิปัตย์
- ↑ "วรรณรัตน์" ฟุ้งได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโคราช เกินครึ่ง
- ↑ พรรคชาติไทยพัฒนา เปิดตัว มนต์สิทธิ์ คำสร้อย และอดุลย์ วันไชยธนวงศ์
- ↑ "สมชาย เพศประเสริฐ"นำทีมผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตุภูมิ ท้าชิงพื้นที่5เขตโคราช
- ↑ 36.0 36.1 36.2 พรรคเพื่อไทยเปิดตัว 8 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายซบ
- ↑ "นาราชา" ไขก๊อกหันซบ "เพื่อไทย"
- ↑ "เด็กปชป."สระบุรีหนีตายซบ"ภูมิใจไทย"
- ↑ โชว์พลังดูด! โชตวุฒิกระโดดซบชพน.
- ↑ “เด็กสมศักดิ์”ยื่นใบลา ย้ายซบเพื่อไทย
- ↑ ชทพ.นครพนมฮึด-เดินหน้าชน'ศุภชัย'
- ↑ 42.0 42.1 ภท.ตบหน้า3พีดูด2สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโคราชจากเพื่อแผ่นดิน
- ↑ 43.0 43.1 43.2 43.3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"กลุ่มบ้านริมน้ำ"รอรัฐบาลยุบสภา ย้ายเข้า ภท.เต็มตัว
- ↑ เมียอัสนีเจาะประเสริฐ อาหลานซดหนัก ลูกวิรัชดวลลูกไพโรจน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ 45.0 45.1 "พผ.รับ 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุรินทร์ชิ่งซบ ภท. ชี้ "ห้อย" จับมือ "เติ้ง" หวังเป็นสะพานเชื่อม พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ "ภูมิใจไทย"เปิดตัว 6 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย้ายร่วมวง ดูดจาก"เพื่อแผนดิน-เพื่อไทย-ชาติไทยพัฒนา"
- ↑ "นิมุคตาร์ วาบา" เตรียมลาออกจาก พรรคเพื่อแผ่นดิน วันนี้ ก่อนสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคภูมิใจไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ 48.0 48.1 "เปิดตัว 25 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายซบภูมิใจไทย "ศุภชัย" เชื่อไม่มีพรรคไหนได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่า 200 ที่นั่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ "รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-26. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ 'รัชนี พลซื่อ' ปัดซบพรรคอื่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ 51.0 51.1 “ไชยยศ” พาพวกซบ ปชป.แย้มหาอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ารังอีก ปัดมีข้อตกลงพิเศษ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "'สมเกียรติ ศรลัมภ์' ทิ้งเพื่อแผ่นดิน ซบเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-26. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ 53.0 53.1 'พล.ต.อำเภอประชา'สมัครเข้าเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ กลุ่ม"ประดิษฐ์"พาเหรดซบ"ชทพ." 11 คน เสธ.หนั่นลั่นเป็นรบ.แน่ เชื่อเป็นแรงดูดทำตามมาอีกเพียบ
- ↑ 3 จังหวัดใต้ 11 ที่นั่ง 7พรรคชิงชัย
- ↑ ""หมอแว" ปัดร่วมงาน "บิ๊กบัง" ยกทีมยึด "แทนคุณแผ่นดิน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ "อัศวิน วิภูศิริ"หันลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ ปชป.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ลพบุรี"มวยถูกคู่"มัลลิกา"ชน"สุชาติ"
- ↑ "วินัย"รับย้ายซบเสธฯหนั่นพร้อมประดิษฐ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หมอไกร"อ้างย้ายซบ"ชทพ."สร้างปรองดอง
- ↑ เสนาะประกาศพาลูกย้ายซบพรรคเพื่อไทย ยันยังไม่ยุบประชาราช
- ↑ 62.0 62.1 "'กิจสังคม'แพแตกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายซบชาติพัฒนา-ชาติไทยฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-07-01.
- ↑ สนามเลือกตั้งเมืองช้างคึกคัก 2 พรรคการเมืองใหญ่ เตรียมส่งผู้สมัครลงแข่งขัน 24 พ.ค.นี้
- ↑ "ประชา ประสพดี ถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธปืนขณะเดินทางด้วยรถยนต์กลับบ้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-11.
- ↑ เกาะติดเลือกตั้ง-กองทัพจับตา-คาดโทษ "มือปืนมีสี"[ลิงก์เสีย]. คมชัดลึก. (16 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 16-5-2554.
- ↑ พธม.จี้กกต.ลงดาบสื่อแดงเชียร์เพื่อไทย. เดลินิวส์. (17 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
- ↑ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ได้ออกมาตั้งคำถามว่า "ผมอยากถามว่า คนเหล่านี้มีสิทธิ์หรือไม่
- ↑ "ปลดป้ายโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติ 4 ต่อ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
- ↑ พรรคประชาธิปัตย์ท้าพรรคเพื่อไทยจัดดีเบตระหว่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[ลิงก์เสีย]. (17 พฤษภาคม 2554).
- ↑ “ณัฐวุฒิ” ไม่สน ปชป.ท้า “ยิ่งลักษณ์” ดีเบต “อภิสิทธิ์. MCOT. (17 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
- ↑ ยิ่งลักษณ์เปิดตัวชิงนายกฯ ลั่นไม่แก้แค้น ปิดปากนิรโทษกรรมแม้ว[ลิงก์เสีย]. แนวหน้า. (17 พฤษภาคม 2554). สืบค้น 17-5-2554.
- ↑ วัชรินทร์ ทางกลาง หัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกลอบยิงเสียชีวิต
- ↑ 73.0 73.1 วิโรจน์ ดำสนิท นายก องค์การบริหารส่วนตำบล โผงเผง อำเภอป่าโมก ถูกลอบยิงเสียชีวิต
- ↑ ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านห้วยส้าน ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร ได้รับบาดเจ็บ
- ↑ "วุฒิชาติ กันพร้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ ถูกยิงเสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-02.
- ↑ ดาหารี การี หัวคะแนน พรรคเพื่อไทย ถูกแทงเสียชีวิต[ลิงก์เสีย]
- ↑ ลอบยิง"สุบรรณ"นายกอบจังหวัดลพบุรีดับ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ลอบยิง เลขานุการของสุบรรณ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส
- ↑ "ลอบสังหาร รังสรรค์ อินทสุทธิ์ หัวคะแนนสุรเชษฐ์ ชัยโกศล เสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-02.
- ↑ ยิงนายกเขาวง จังหวัดสระบุรี หัวคะแนนภท.ดับ
- ↑ ลอบยิงกำนัน โสภณ สองแก้วดับ
- ↑ ยิงนายกอบต.ดอนใหญ่ หัวคะแนนภท.ดับ
- ↑ ยิง.ซาการียา หะมะ บาดเจ็บสาหัส[ลิงก์เสีย]
- ↑ 84.0 84.1 84.2 ระวังปัจจัย 'หักโพล'. ไทยรัฐ. (24 มิถุนายน 2554). สืบค้น 24-6-2554.
- ↑ "ศาลยกฟ้องคดีให้เพิกถอนพ.ร.ฎ.ยุบสภา-เลือกตั้ง". www.Decha.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "กล่าวหาว่ามีผู้สื่อข่าวรับสินบนเพื่อให้เสนอข่าวให้พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
- ↑ คนเสื้อแดงถูกขังลืม แต่ทำไมคนเสื้อเหลืองลืมขัง[ลิงก์เสีย]
- ↑ พรรคภูมิใจไทยได้ฟ้องร้องพรรคเพื่อไทย
- ↑ "หมอตุลย์" ร้อง "ดีเอสไอ" เอาผิด "ยิ่งลักษณ์ " อินไซด์เดอร์หุ้นเอสซี แอสเสท[ลิงก์เสีย]. แนวหน้า. (5 กรกฎาคม 2554). สืบค้น 8-7-2554.
- ↑ "Large crowds for advance voting". The Nation. Thailand. 27 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
- ↑ Chovichien, Vowpailin (29 June 2011). "Voting from abroad: Thai voices from a distance". The Nation (Thailand). Bangkok. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
- ↑ นายพูลผล อัศวเหม ถูกทำร้ายร่างกายหน้าบ้านพักที่จังหวัดสมุทรปราการ
- ↑ "คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิง กรรมการหน่วยเลือกตั้งบาดเจ็บสาหัส 2 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
- ↑ ไทยรัฐ แถลงการณ์ยุบสภายิ่งลักษณ์ฉบับเต็ม 9-12-2556
- ↑ 95.0 95.1 "เผย กกต. ยังไม่กล้ารับรอง ปู-มาร์ค-ตู่ ให้มีฐานะเป็น สส". ไทยรัฐ. July 12, 2011. สืบค้นเมื่อ July 13, 2011.
- ↑ "Five red cards expected". The Nation. 3 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 3 July 2011.
- ↑ 97.0 97.1 Sattaburuth, Aekarach (July 5, 2011). "Pheu Thai gears toward amnesty". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ July 4, 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Vithoon Amorn (July 4, 2011). "Thai election brings hope of stability" [การเลือกตั้งของไทยเป็นความหวังให้ยุติความระส่ำระส่าย] (ภาษาอังกฤษ). Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 June 2011.
The vote is a rebuke to the royalist establishment in Bangkok that backed Prime Minister Abhisit Vejjajiva and suggests broad support for policies championed by Thaksin, a populist hero elected prime minister twice, in 2001 and 2005.
- ↑ "'ทักษิณ'ลั่นหากติดคุกยังไม่กลับไทย". ไทยรัฐ. July 3, 2011. สืบค้นเมื่อ July 9, 2011.
- ↑ "เย้ยซ้ำ เด็กแวนท์แดง บุกป่วน���น้า ปชป". ThaiRath. July 4, 2011. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
- ↑ Thip-Osod, Manop (5 July 2011), "Abhisit steps down as Democrat leader", Bangkok Post, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011
- ↑ "Army 'accepts' election result", Bangkok Post, 4 July 2011, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011
- ↑ "Cambodia congratulates Thailand on poll result", Bangkok Post, 5 July 2011, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011[ลิงก์เสีย]
- ↑ Chudasri, Darana (5 July 2011), "Stock market booms as poll spurs investor confidence", Bangkok Post, สืบค้นเมื่อ 4 July 2011
- ↑ "ยิ่งลักษณ์"โชว์พลังดูดพรรคเล็กร่วมรัฐบาล300เสียง. ไทยรัฐ. (7 กรกฎาคม 2554). สืบค้น 8-7-2554.
- ↑ ""อภิสิทธิ์" โฟนอิน เสียใจ ยายวัย 80 แฟน ปชป. ฆ่าตัวตาย" [Abhisit's phone call: Sorry with suicide of 80-year-old Democrat fan granny.]. Thairath. July 10, 2011. สืบค้นเมื่อ July 10, 2011.