การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทั้งหมด 360 ที่นั่งในรัฐสภาไทย ต้องการ 181 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงทะเบียน | 31,860,156 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 61.59% ( 2.35) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รหัสสี: ประชาธิปัตย์, ชาติไทย, ชาติพัฒนา, ความหวังใหม่, พลังธรรม, กิจสังคม, เอกภาพ, อื่น ๆ แต่ละจังหวัดอาจประกอบด้วยที่นั่งเดียวหรือหลายที่นั่งก็ได้ โดยสีที่ปรากฏนี้บ่งบอกถึงพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในจังหวัดนั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า 2535/2 มีขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 79 ที่นั่ง จากทั้งหมด 360 ที่นั่ง ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภาจึงต้องตั้งรัฐบาลผสม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดเป็น 61.6%[1]
การเลือกตั้งครั้งนั้นนับการเลือกตั้งครั้งหนึ่งที่ผู้คนตื่นตัวเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น นับเป็นการสิ้นสุดของอำนาจเผด็จการทหาร โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่เข้ามาด้วยการรัฐประหารในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถือเป็นพรรคฝ่ายค้านที่คัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอก สุจินดา คราประยูร สมาชิกของคณะ รสช. ที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง ได้รับชัยชนะ ด้วยคะแนนเสียงที่ได้มาเป็นลำดับที่หนึ่ง ด้วยจำนวน 79 เสียง จึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งผสมด้วยพรรคการเมืองอีก 4 พรรค คือ พรรคความหวังใหม่, พรรคพลังธรรม, พรรคเอกภาพ และพรรคกิจสังคม มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมดร้อยละ 42 นับว่ามากกว่าการเลือกตั้งก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนมีนาคม ราวร้อยละ 5 มีจำนวนบัตรเสียคิดเป็นร้อยละ 1.27 และมีการรณรงค์การเลือกตั้งครั้งนั้นมิให้มีการทุจริต โดยคณะกรรมการองค์กรกลาง ใช้คำขวัญที่ว่า "ขายเสียง ขายสิทธิ เหมือนขายชีวิต ขายชาติ"[2] การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งล่าสุดที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง
ผลการสำรวจ
[แก้]ระยะเวลา
การสำรวจ |
องค์กรที่สำรวจ | ชวน | จำลอง | ชาติชาย | ชวลิต |
---|---|---|---|---|---|
20 สิงหาคม-
2 กันยายน |
นิด้าโพล[1] | 25.7 | 30.0 | 14.4 | 5.6 |
2 กันยายน | นิยมโพล[2] | 31.6 | 24.9 | 22.7 | 15.0 |
ผลการเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคที่สังกัด ณ วันที่ได้รับเลือกตั้ง
คะแนนเสียง | ||||
---|---|---|---|---|
ประชาธิปัตย์ | 9,703,672 | 21.02 |
79 / 360
| |
ชาติไทย | 7,274,474 | 15.76 |
77 / 360
| |
ชาติพัฒนา | 7,332,388 | 15.88 |
60 / 357
| |
ความหวังใหม่ | 6,576,092 | 14.24 |
50 / 360
| |
พลังธรรม | 8,293,457 | 17.96 |
47 / 360
| |
กิจสังคม | 1,863,360 | 4.04 |
22 / 360
| |
เสรีธรรม | 8 / 360
| |||
เอกภาพ | 8 / 360
| |||
มวลชน | 4 / 360
| |||
ประชากรไทย | 3 / 360
| |||
ราษฎร | 1 / 360
| |||
คะแนนสมบูรณ์ | 100 | 360 | ||
คะแนนเสีย | ||||
ไม่ประสงค์ลงคะแนน | ||||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง | ||||
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง | ||||
ที่มา: [3] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dieter Nohlen, Florian Grotz & Christof Hartmann (2001) Elections in Asia: A data handbook, Volume II, p286 ISBN 0-19-924959-8
- ↑ ประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง, หน้า 225. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ "รายละเอียดจากเว็บไซต์ myfirstinfo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-26. สืบค้นเมื่อ 2012-02-09.