พรรคพลังบูรพา
พรรคพลังบูรพา | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | สติล คุณปลื้ม |
หัวหน้า | รศ. เชาวน์ มณีวงษ์ |
รองหัวหน้า | พฤฒิพงศ์ สิงห์โตทอง |
เลขาธิการ | สุระ เตชะทัต |
เหรัญญิก | วันเพ็ญ เตียวลักษณ์ |
นายทะเบียนสมาชิก | ชัยพจน์ จำเริญนิติพงศ์ |
โฆษก | ปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม |
กรรมการบริหาร | อโณทัย เจริญสันติสุข |
คำขวัญ | เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน[1] |
ก่อตั้ง | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
ที่ทำการ | 36/2 ถนนบางแสนล่าง ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
สมาชิกภาพ (ปี 2566) | 15,492 คน[2] |
อุดมการณ์ | จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ยึดหลักธรรมาภิบาลและมุ่งมั่น พัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจพอเพียง |
สี | สีฟ้า สีเหลือง |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคพลังบูรพา หรือเดิมชื่อ พรรคพลังชล เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 นำโดย สนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี (ส.ส.ชลบุรี) หลายสมัย[3] พร้อมด้วยอดีต ส.ส.กลุ่มชลบุรี ซึ่งแต่เดิมสมาชิกในกลุ่มชลบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]พรรคพลังชลเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยมี สติล คุณปลื้ม ภรรยาของ สมชาย คุณปลื้ม เป็นผู้ก่อตั้งพรรค และ สนธยา คุณปลื้ม บุตรชายของสติล ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพิเศษพรรค[3] นอกจากนี้ยังมี รองศาสตราจารย์เชาว์ มณีวงษ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ ปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม เป็นเลขาธิการพรรค[4]
พรรคพลังชลมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก โดยในช่วงแรกๆ มีข่าวลือว่าจะมีสมาชิกพรรคกิจสังคมมาลงสมัครในนามพรรคพลังชลด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นความจริง นอกจากนี้ยังมีข่าวลือเรื่องกลุ่มมัชฌิมา เนื่องจากเคยมีคำสัมภาษณ์กล่าวไว้ว่า การร่วมรัฐบาลในส่วนของ สส.พรรคภูมิใจไทย ของกลุ่มมัชฌิมา ที่มี สมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นแกนนำกลุ่ม สามารถเข้ามาร่วมรัฐบาลได้ แต่ต้องย้ายเข้าร่วมพรรคชาติไทยพัฒนา หรือ พรรคพลังชล ทว่าไม่มีการติดต่อไปทางสองพรรคดังกล่าวแต่อย่างใด[5]
ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติเลือกนายสนธยา คุณปลื้ม เป็นหัวหน้าพรรค และนายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา เป็นเลขาธิการพรรค[6]
ในเวลาต่อมานายสนธยาได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังชล เนื่องจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีก่อนจะได้รับแต่งตั้งให้เป็น นายกเมืองพัทยา ตามคำสั่งของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7]
เปลี่ยนชื่อพรรค
[แก้]ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรคพลังชลได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเก่าที่หมดวาระ พร้อมกับแก้ไขข้อบังคับพรรคเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคพลังบูรพา รวมถึงอุดมการณ์และนโยบายพรรค ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกรองศาสตราจารย์เชาว์กับนายสุระเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคต่อไป[8][9] จากนั้น พรรคพลังบูรพาได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค[10]
บทบาททางการเมือง
[แก้]การเลือกตั้ง 2554
[แก้]���นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พรรคพลังชลส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เป็นครั้งแรก มีหมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 6 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 7 คน แบ่งเป็นระบบแบ่งเขต 6 คน (จังหวัดชลบุรีทั้งหมด) และแบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่
- สันต์ศักด์ จรูญ งามพิเชษฐ์ แบบบัญชีรายชื่อ
- สุชาติ ชมกลิ่น ชลบุรี เขต 1
- อุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ ชลบุรี เขต 2
- รณเทพ อนุวัฒน์ ชลบุรี เขต 3
- พันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ชลบุรี เขต 5
- สุกุมล คุณปลื้ม ชลบุรี เขต 6
- ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ชลบุรี เขต 7
หลังการเลือกตั้ง พรรคพลังชล ได้ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย สนับสนุน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรีที่มาจากพรรคพลังชล คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (สุกุมล คุณปลื้ม) ต่อมามีการปรับคณะรัฐมนตรีและแต่งตั้งสนธยา คุณปลื้ม ดำรงตำแหน่งแทน นอกจากนี้ ยังได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการ 1 คน คือ สันต์ศักด์ จรูญ งามพิเชษฐ์
นโยบายพรรค
[แก้]พรรคพลังชล ได้กำหนดนโยบายของพรรค คือ มีส่วนร่วมด้านการเมือง กระจายอำนาจ พัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม-ส่งออก การท่องเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียง สถาบันครอบครัว พัฒนาคุรภาพชีวิต บริการสาธารณสุข การอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมคุณภาพครู พัฒนาหลักสูตร พัฒนาระบบโลจิสติกส์ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ความร่วมมือระหว่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2554 | 7 / 500
|
178,042 | 0.55% | 7 | ร่วมรัฐบาล | สนธยา คุณปลื้ม |
2557 | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ |
การเปลี่ยนแปลงของพรรค
[แก้]พันธุ์ศักดิ์ พร้อมอดีต สส. ในสังกัดพรรคพลังชลยกเว้น สุกุมล คุณปลื้ม ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคและได้ย้ายไปสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ ทำให้ได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เพื่อทำการเลือกหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค รวมถึงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก รศ. เชาวน์ มณีวงษ์ อดีตหัวหน้าพรรคกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งหนึ่ง[11] ส่วนเลขาธิการพรรคได้แก่ นาย สุระ เตชะทัต อดีตโฆษกพรรค[12]
25 เมาายน พ.ศ. 2565 สุระ เตชะทัต เลขาธิการพรรคกล่าวว่า ยังดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคพลังชลต่อไป นอกจากนี้ในที่ประชุมที่จะถึงจะขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กกต.รับจดแจ้งจัดตั้งพรรคพลังชลแล้ว สโลแกน"เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน"
- ↑ "ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-06-19. สืบค้นเมื่อ 2023-08-16.
- ↑ 3.0 3.1 "บ้านใหญ่เปิด "พรรคพลังชล" สู้ศึกเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2011-05-19.
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนวันที่ 6 พฤษภาคม 2554
- ↑ ""บิ๊กแป๊ะ"ปัดข่าว กลุ่มมัชฌิมา ขอซบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
- ↑ "มติพรรคพลังชลเลือก"สนธยา"เป็นหัวหน้าพรรค". Thai PBS. 2013-03-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๕/๒๕๖๑ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา
- ↑ 'พลังชล'เอาจริง!!! เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น'พลังบูรพา' แต่งตัวพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังบูรพา (เดิมชื่อพรรคพลังชล)
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคพลังบูรพา
- ↑ ""รศ.เชาวน์"ได้รับเลือกนั่งหัวหน้าพรรคพลังชลอีกสมัย". mgronline.com. 2018-10-20. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เลขาฯ มืด". ไทยโพสต์. 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พรรคพลังชล เตรียมนัดประชุมใหญ่ ลั่นไม่คิดรวมกับพรรคอื่น". https://news.trueid.net.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|website=
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พรรคพลังชล ที่ เฟซบุ๊ก
- เว็บไซต์ พรรคพลังชล เก็บถาวร 2011-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน