ข้ามไปเนื้อหา

ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าบุญทรง เตริยาภิรมย์
ถัดไปวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุตรดิตถ์ เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (67 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสวิภาดา เล็กอุทัย (หย่า)

ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2500) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุตรดิตถ์ เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2539 ในสังกัดพรรคประชากรไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

[แก้]

ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายไทยธชา และนางอัมพร มีน้อง 1 คน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอุตรดิตถ์ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยศรีปทุม และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสและหย่า มีบุตร 2 คน เขาถูกออกหมายจับเนื่องจากเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มนปช. ในความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552

งานการเมือง

[แก้]

อดีตเป็นนายกเทศมนตรีตำบลศรีพนมมาศ จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาปี พ.ศ. 2539 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในนามพรรคประชากรไทย และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมา พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 4 สมัย โดยไม่เคยสอบตก

ปลายปี พ.ศ. 2554 นายทนุศักดิ์เป็น 1 ใน 8 ส.ส. ที่ถูกยื่นถอดถอนความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) มาตรา 62[1]

ต่อมาวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2] แต่จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 2[3]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 16[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2566 มีรายงานว่านายทนุศักดิ์ได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้วเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคประชากรไทยพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'ปธ.วุฒิฯ'ส่งคำร้อง'ปปช.'ถอด8ส.ส.พท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-01-14.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  3. "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  4. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  5. ผลการเลือกตั้ง ส.ส. อุตรดิตถ์ 'เพื่อไทย' แลนสไลด์ 3 เขต
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]