ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ประสูติ2 ธันวาคม พ.ศ. 2426
สิ้นพระชนม์12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 (51 ปี)
หม่อม
  • หม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
  • หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลจักรพันธุ์
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย สยาม
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พันเอก

นายพันเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ จักรพันธุ์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ได้ถวายการรับเสด็จ และกราบทูลว่า[1]

I have just had a new son,and I shall name him Oscar,and should he have a son he shall be called Gustavus.

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริพรตเป็นพระศีลาจารย์[2] และผนวชเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2447 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[3]

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[4][5]

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[6] จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 จึงได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[7]

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาล ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์ สืบพระราชสันตติวงศ์ เป็นพระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แต่เนื่องจากขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา และกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางรัฐสภาจึงได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ได้ทรงปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าพระองค์ทรงพระชราภาพมากแล้ว และได้ข้อสรุปว่า ให้มีพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นคณะบุคคล เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จำนวน 3 คน จนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ คือ[8]

  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  3. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ ประทับอยู่ที่วังบริเวณตำบลสนามกระบือ ใกล้คลองรอบกรุง เป็นวังหนึ่งในจำนวน 6 วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานที่สร้างให้กับพระราชนัดดา 6 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถนนหลานหลวง ในปัจจุบัน [9]

สิ้นพระชนม์

[แก้]

ในระหว่างที่เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงเผชิญปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะการปรับลดเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์จนทำให้เจ้านายบางพระองค์ไม่พอพระทัย พระองค์จึงมักไม่ได้รับความเคารพจากเจ้านายบางพระองค์ในระหว่างเสด็จในพระราชพิธีต่าง ๆ[10] ส่วนหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบันทึกว่ากรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ทรงถูกกดดันจากการที่รัฐบาลฟ้องศาลเพื่อริบพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมายังมีปัญหาอื่น ๆ ทั้งเรื่องราชการและส่วนพระองค์รุมเร้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบทรงพระประชวรเรื้อรัง มีพระกายซูบผอมดำลงเรื่อย ๆ จนประชวรพระโรคซึมเศร้า ในที่สุดจึงปลงพระชนม์พระองค์เองด้วยการยิงพระแสงปืนเข้าในพระโอษฐ์ สิ้นพระชนม์บนที่บรรทมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478[11] โดยกรมตำรวจบันทึกรายงานการไต่สวนว่าสาเหตุมาจากทรง ประสบกับเหตุลำบากพระทัยในการปฏิบัติงานในฐานที่ทรงเป็นผู้จัดการพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระปกเกล้าฯ[10]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[12]

พระโอรส-ธิดา

[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ เสกสมรสกับหม่อมจำรัส จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปิยะวัตร; พฤษภาคม พ.ศ. 2427 – กันยายน พ.ศ. 2501) และหม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค; มิถุนายน พ.ศ. 2428 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2512)[1][13] มีพระโอรสธิดารวม 5 องค์

  1. หม่อมเจ้าดวงตา สวัสดิวัตน์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2448 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2525) ในหม่อมจำรัส เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสวัสดีประดิษฐ์ สวัสดิวัตน์ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2519) มีธิดา 2 คน
  2. พลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (30 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526) ในหม่อมหวน เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์; 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) มีโอรสและธิดา 3 คน
  3. หม่อมเจ้าสรัทกาล (23 สิงหาคม พ.ศ. 2451 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2454) ในหม่อมหวน
  4. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2536) ในหม่อมจำรัส เสกสมรสกับหม่อมวิภา จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เก่งระดมยิง; พ.ศ. 2460 – มกราคม พ.ศ. 2548) ต่อมาทรงหย่าและเสกสมรสอีกครั้งกับหม่อมประพาล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม รจนานนท์; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2472 – 17 มกราคม พ.ศ. 2563) มีธิดารวม 6 คน
  5. หม่อมเจ้าลุอิสาณ์ ดิศกุล[14] ท.จ.ว.,ภ.ป.ร.3 (18 มกราคม พ.ศ. 2453 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2537) ในหม่อมหวน มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงหลุยส์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าดิศานุวัติ ดิศกุล ท.จ. (4 สิงหาคม พ.ศ. 2445 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520) มีโอรสและธิดา 3 คน

พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 : หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ จักรพันธุ์
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 – 12 เมษายน พ.ศ. 2443 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ[15]
  • 12 เมษายน พ.ศ. 2443 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ[16]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระยศ

[แก้]

พระยศทางทหาร

[แก้]
  • นายพันตรี
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462: ราชองครักษ์พิเศษ[20]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463: เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศ[21]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470: นายพันโท[22]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477: นายพันเอก[23]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  2. "พระบรมวงษ์เธอ พระวรวงษ์เธอหม่อมเจ้าทรงผนวชแลหม่อมราชวงษ์ผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (15): 168–9. 10 กรกฎาคม 2441. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า และหม่อมราชวงศ์, เล่ม 21, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2447, หน้า 357-9
  4. "พระราชพิธีตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 113–114. 16 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (ง): 115. 16 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้รั้งตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 18. 8 เมษายน 2471. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งราชเลขานุการในพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 18. 31 มีนาคม 2471. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0 ก): 1332–1333. 7 มีนาคม 2477. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-01-31.
  10. 10.0 10.1 การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475, หน้า 70-71
  11. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (รวมเล่ม), หน้า 188-189
  12. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัฒน์จาตุรนต์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 52, ตอน ๐ ง, 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478, หน้า 2518
  13. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  14. หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ มีพระนามลำลองว่า "ท่านหญิงหลุยส์" ตามพระนามของพระนางหลุยส์ พระอัครมเหสีในพระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน
  15. "เลื่อนพระเกียรติยศหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 10 (36): 394. 3 ธันวาคม 2436. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระเจ้าวรวงษเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (3): 17–18. 15 เมษายน 2443. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 294–296. 11 พฤศจิกายน 2463. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
  19. ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 6 พฤศจิกายน 2471 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 45 หน้า 2364
  20. แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  21. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
  22. พระราชทานยศทหารบก
  23. ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศทหารบก
บรรณานกรม
ก่อนหน้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา