ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวรเสรฐสุดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ17 มิถุนายน พ.ศ. 2371
สิ้นพระชนม์1 ธันวาคม พ.ศ. 2450 (79 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาอึ่ง ในรัชกาลที่ 3)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา (17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450) พระนามเดิม พระองค์เจ้าบุตรี เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท้าวสมศักดิ์ (เจ้าจอมมารดาอึ่ง ในรัชกาลที่ 3)

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าบุตรี ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 บูรพาษาฒ ปีชวด ตรงกับวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอึ่ง (สกุลเดิม : กัลยาณมิตร) ที่ต่อมาได้เป็น ท้าวสมศักดิ์[1] ทรงเชี่ยวชาญทั้งอักษรไทยและอักษรเขมร แต่งโคลงฉันท์ ได้ทรงรับผิดชอบถือกุญแจพระราชวัง[2] นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้ถวายอุปการะเลี้ยงดูสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ขณะยังดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้ารำเพย เนื่องจากทรงกำพร้าพระบิดาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

นอกจากนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ยังเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็น พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา เมื่อ ปี พ.ศ. 2439[3] ทรงกำกับดูแลด้านพิธีกรรมต่าง ๆ และโบราณราชประเพณีของวังหลวง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดาประชวรหนักยาวนาน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จลงไปเฝ้าพระอาการทั้งกลางวันและกลางคืนแทบมิได้บรรทม เมื่อจวนสิ้นพระชนม์มีนกแสกและนกกุ๊กร้องหลายตัว เชื่อว่านกเหล่านี้จะร้องเมื่อมีคนตายและมีเสียงน่ากลัว[4] เวลาต่อมากรมหลวงวรเสรฐสุดาสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450 เวลาเช้า 5 โมงเศษ ณ ตำหนักวังสวนดุสิต สิริพระชันษา 80 ปี นับเป็นพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี เสด็จแทนพระองค์ไปสรงพระศพ แล้วเจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง วันที่ 4 ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาถวายบังคมพระศพ เจ้าพนักงานประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ เคลื่อนขบวนแห่พระศพมาประดิษฐาน ณ หออุเทศทักษิณา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชโอรสธิดาทรงร่วมกันทอดผ้าบังสุกุล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต เป็นประธานสงฆ์สวดสดับปกรณ์[5] ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้ายและมีพระชันษามากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้แก้ไขคำนำพระนามเป็น พระเจ้าบรมวงษ์เธอ[6]

พระองค์และเจ้าจอมมารดาอึ่ง พระชนนี ปรากฏในงานเขียนของ แอนนา ลีโอโนเวนส์ ที่ว่าทั้งสองได้กักขังหน่วงเหนี่ยวนางทาสมุสลิมชื่อ ละออ (L'ore) กับบุตรชื่อ ทุกข์ (Thook) ที่ต่อมานางลีโอโนเวนส์ ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อดำเนินเรื่องไถ่ทาส โดยนางจะออกค่าใช้จ่ายเอง[7]

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมหลวงวรเสรฐสุดา
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[8]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[8]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 — 2 เมษายน พ.ศ. 2394 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าบุตรี
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2394 — 6 กันยายน พ.ศ. 2439 : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี
  • 6 กันยายน พ.ศ. 2439 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450 : พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. "ข่าวพระราชทานเพลิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (60): 529. 8 มีนาคม พ.ศ. 2428. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. ราชสกุลวงศ์, หน้า 49
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศในการสถาปนาพระเกียรติยศ พระเจ้าราชวรวงษเธอพระองค์เจ้าบุตรีในพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ ขึ้นเป็น พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา, เล่ม ๑๓, ตอน ๒๓, ๖ กันยายน พ.ศ. ๑๘๙๖, หน้า ๒๓๗
  4. ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา, หม่อม. อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร. นนทบุรี : สารคดี, 2562, หน้า 127-128
  5. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (36): 936. 8 ธันวาคม ร.ศ. 126. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154–155. 30 กรกฎาคม ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. Leonowens, Anna Harriet. The Romance of the Harem. Bedford : Applewood Books, 2010, p. 42-57
  8. 8.0 8.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
บรรณานุกรม
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3
  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6