ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรศรัศมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นอมเรศรัศมี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 2
ประสูติ22 มกราคม พ.ศ. 2346
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2423
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระมารดาเจ้าจอมมารดาทรัพย์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรศรัศมี พระนามเดิม (22 มกราคม พ.ศ. 2346 — พ.ศ. 2423) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์

พระประวัติ

[แก้ไขต้นฉบับ]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมเรศ ประสูติเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2346[1] มีพระเชษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรศรัศมี [2]เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์กับเจ้าจอมมารดาทรัพย์

ทรงออกวังในสมัยรัชกาลที่ 2 แต่ทรงออกวังภายหลังสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงเป็นผู้สร้างวังพระราชทาน คือ วังสพานเสี้ยว วังที่ 3[3] วังนี้อยู่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วเชื้อสายอยู่ต่อมาจนรื้อทำถนนราชดำเนินกลาง[4]

ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรศรัศมี[5] สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพ.ศ. 2423 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2423[6] พระชันษา 76 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2412[7]

กรมหมื่นอมเรศรัศมี มีโอรส คือ หม่อมเจ้าสมพงศ์ หรือท่านชายน้อย เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงวรรณ มนตรีกุล มีธิดา คือ หม่อมราชวงศ์หญิงเล็ก กรีธาพลธิบดี (2416-2475)[8] ภรรยาของพระกรีธาพลธิบดี

อนึ่งราชสกุลนี้ไม่มีนามสกุลพระราชทานให้ เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่มีการพระทานนามสกุลให้แก่พระราชวงศ์นั้น ทายาทของกรมหมื่นอมเรศรัศมี เหลืออยู่เพียงผู้เดียว คือ หม่อมราชวงศ์หญิงเล็กซึ่งหม่อมราชวงศ์หญิงเล็กใช้นามสกุลของสามี จึงไม่จำเป็นต้องได้รับนามสกุลพระราชทาน

  1. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  2. "นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล (ต้นวงศ์), ต้นราชสกุล) - (ภ)". sites.google.com.
  3. วารสารยุติธรรมปริทัศน์. กรุงเทพมหานครกับภูมิหลังการสร้าง "วัง"[ลิงก์เสีย]. เผยแพร่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562
  4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังเก่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2553. 178 หน้า. ISBN 978-616-508-214-3
  5. กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เล่ม 2) . โรงพิมพ์กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กองทัพเรือจัดพิมพ์ถวาย). 2538.
  6. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
  7. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2019-03-20.
  8. อนุสรณ์ในการปลงศพหม่อมราชวงศ์หญิงเล็ก กรีธาพลธิบดี ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2481