ข้ามไปเนื้อหา

จองชัย เที่ยงธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จองชัย เที่ยงธรรม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 11 เมษายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองกิจสังคม (2526–2529)
สหประชาธิปไตย (2529–2531)
ชาติไทย (2531–2551)
ภูมิใจไทย (2561–2562)
ชาติไทยพัฒนา[1] (2556–2561, 2562–ปัจจุบัน)
คู่สมรสมุกดา เที่ยงธรรม

จองชัย เที่ยงธรรม (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2486) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี หลายสมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุพรรณบุรี และอดีตกรรมการบริหารพรรคชาติไทย จองชัย เที่ยงธรรม มีสโลแกนในการหาเสียงที่เป็นเอกลักษณ์คือ "คิดอะไรไม่ออก บอกจองชัย" [2]

ประวัติ

[แก้]

จองชัย เที่ยงธรรม เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรไพบูลย์ และเง็กกุ่ย เที่ยงธรรม เป็นชาวตำบลบ้านกล้วย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี[3] ศิษย์เก่าโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยประกอบอาชีพเป็นทนายความก่อนเข้าสู่วงการเมือง

สมรสกับ มุกดา เที่ยงธรรม (นามสกุลเดิม ธรธรรม) ประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนฯ จังหวัดสุพรรณบุรี มีบุตรชายคนโตคือ เสมอกัน เที่ยงธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี จำนรรจา เที่ยงธรรม และบารมี เที่ยงธรรม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านกร่าง

จองชัย เป็น ส.ส. สุพรรณบุรีหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

จองชัย เที่ยงธรรม มีความสนิทสนมกับบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 จองชัย เที่ยงธรรม เป็นนักการเมืองในระดับแกนนำพรรคชาติไทย ต่อมาเมื่อพรรคชาติไทยถูกยุบและเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี จึงเว้นวรรคทางการเมืองไประยะหนึ่ง จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เกิดกรณีพื้นที่เลือกตั้งทับซ้อนกันกับ ประภัตร โพธสุธน จองชัยจึงย้ายไปลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคภูมิใจไทย[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ภายหลังจึงย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาเช่นเดิม[1]

ประวัติการทำงาน

[แก้]
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548
  • อดีตประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ประธานกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงินสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง พ.ศ. 2538 – 2539
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2540
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2543
  • สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "จองชัย"กลับบ้านสมัครสมาชิกชทพ. ยันไม่ทะเลาะ “ประภัตร"
  2. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  3. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  4. 'จองชัย'ให้ชาวสุพรรณฯเลือก! จะเอาตระกูลเที่ยงธรรมหรือโพธสุธน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]