วิชิต สุรพงษ์ชัย
วิชิต สุรพงษ์ชัย | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พันเอก วินัย สมพงษ์ |
ถัดไป | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มกราคม พ.ศ. 2488 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ชลีกร สุรพงษ์ชัย |
วิชิต สุรพงษ์ชัย เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และอดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารรัตนสิน ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์[1]และที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[2]
ประวัติ
[แก้]วิชิต สุรพงษ์ชัย หรือ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เกิดวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2488 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน
การทำงาน
[แก้]ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เริ่มทำงานเป็นพนักงานฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) และเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาย้ายมาอยู่ธนาคารกรุงเทพในปี พ.ศ. 2520
ในปี พ.ศ. 2535 ดร.วิชิต ได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ในปี 2537 ดร.วิชิต ลาออกจากธนาคารกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าจะไปรักษาสุขภาพ แต่เพียงไม่ถึงปีของการลาออก เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[3]
หลังจากหมดภาระหน้าที่ทางการเมือง เขาได้กลับเข้าสู่วงการธนาคารอีกครั้ง โดยรับตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2541 ต่อมาหลังมีการขายกิจการให้กับสิงคโปร์แล้ว เขาได้เข้ารับหน้าที่ประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์
ดร.วิชิต เริ่มมีบทบาททางการเมืองอีกครั้งเมื่อมีการกล่าวถึงว่าจะเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4][5] แต่ในที่สุดเขาก็ไม่ได้ตอบรับเข้าร่วมรัฐบาล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-10.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/004/T_0001.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "เพื่อไทย ยัน วิชิต สุรพงษ์ชัย กก.SCB ตอบรับร่วม ครม.ยิ่งลักษณ์แล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 2013-07-10.
- ↑ จับตารมต.คนนอก ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย - เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ชื่อโผล่ครม."ปู1"
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ในวโรกาสพระราชพิธีวันฉัตรมงคล จำนวน ๘๒ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
ก่อนหน้า | วิชิต สุรพงษ์ชัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พันเอก วินัย สมพงษ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 50) (25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) |
วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- พรรคพลังธรรม