พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี | |
---|---|
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 2 | |
ประสูติ | พ.ศ. 2337 |
สิ้นพระชนม์ | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2412 |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาน่วม |
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี พระนามเดิม พระองค์เจ้าปาน (พ.ศ. 2337 — 3 มิถุนายน พ.ศ. 2412) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดวน่วม
พระประวัติ
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี ประสูติเมื่อพ.ศ. 2337[1] มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐภคินีร่วมเจ้าจอมมารดาคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ และพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา
กรมหมื่นอมรมนตรี ทรงออกวังในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ทรงสร้างวังพระราชทาน คือ วังริมพระนิเวศน์เดิม ที่ 1 ซึ่งทรงแบ่งที่ด้านใต้ในเขตพระนิเวศน์เดิมสร้างวังพระราชทาน เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าในกรมประทับอยู่ต่อมา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเป็นที่กรมทหารเรือพร้อมกับพระนิเวศน์เดิม[2]
ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นอมรมนตรี[3] พ.ศ.2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก กรมหมื่นอมรมนตรี โดยเสด็จด้วยและทรงนิพนธ์ นิราศปักษ์ใต้ พรรณนาการเดินทางตามเสด็จในคราวนั้น2[4]
กรมหมื่นอมรมนตรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2412[5] พระชันษา 76 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2412[6]
มีพระโอรสธิดา 7 องค์ ไม่มีนามสกุลพระราชทาน
อ้างอิง
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังเก่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2553. 178 หน้า. ISBN 978-616-508-214-3
- ↑ กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เล่ม 2) . โรงพิมพ์กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กองทัพเรือจัดพิมพ์ถวาย). 2538.
- ↑ อรสรา สายบัวร. ประชุมนิราศภาคใต้ : นิราศนครศรีธรรมราช นิราศปักษ์ใต้ และนิราศแพรกไทร. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2556. 222 หน้า. ISBN 978-616-283-016-7
- ↑ กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2019-03-20.