ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเบลเยียม

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน

ราชอาณาจักรเบลเยียม

Koninkrijk België (ดัตช์)
Royaume de Belgique (ฝรั่งเศส)
Königreich Belgien (เยอรมัน)
คำขวัญดัตช์: Eendracht maakt macht
ฝรั่งเศส: L'union fait la force
เยอรมัน: Einigkeit macht stark
("สามัคคีคือพลัง")
เพลงชาติ"ลาบราบ็องซอน"
(เพลงแห่งบราบันต์)
ที่ตั้งของเบลเยียม
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บรัสเซลส์
50°51′N 4°21′E / 50.850°N 4.350°E / 50.850; 4.350
ภาษาราชการดัตช์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน
การปกครองสหพันธ์ ระบบรัฐสภา
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1]
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
อาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร
สภานิติบัญญัติรัฐสภากลาง
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ประกาศเอกราช จากเนเธอร์แลนด์
• ประกาศ
4 ตุลาคม พ.ศ. 2373
19 เมษายน พ.ศ. 2382
พื้นที่
• รวม
30,689[2] ตารางกิโลเมตร (11,849 ตารางไมล์) (136)
6.4
ประชากร
• 2566 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 11,697,557 คน[3] (อันดับที่ 82)
376 ต่อตารางกิโลเมตร (973.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 36)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2566 (ประมาณ)
• รวม
$575.808 พันล้าน[4] (24)
$65,813[4] (อันดับที่ 19)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2566 (ประมาณ)
• รวม
$503.416 พันล้าน[4] (อันดับที่ 26)
$43,814[4] (อันดับที่ 16)
จีนี (2566)positive decrease 24.9[5]
ต่ำ
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.931[6]
สูงมาก · อันดับที่ 14
สกุลเงินยูโร (€) 1 (EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์32
โดเมนบนสุด.be2
1ก่อนปี พ.ศ. 2542 ใช้ฟรังก์เบลเยียม
2และยังใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

เบลเยียม (อังกฤษ: Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (อังกฤษ: Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ทางทิศเหนือ, ติดเยอรมนีทางทิศตะวันออก, ติดลักเซมเบิร์กทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ติดฝรั่งเศสทางทิศใต้ และติดทะเลเหนือทางทิศตะวันตก ด้วยขนาดพื้นที่ 30,689 ตารางกิโลเมตร (11,849 ตารางไมล์) และประชากรราว 11.7 ล้านคน[7] ทำให้เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดอันดับที่ 22 ของโลก และเป็นอันดับที่ 6 ของทวีปยุโรป นครบรัสเซลส์ถือเป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุด และมีสถานะเป็นเมืองหลวงของประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหภาพยุโรป โดยมีเมืองสำคัญอื่น ๆ ในประเทศได้แก่ แอนต์เวิร์ป, เกนต์, ชาร์เลอรัว, ลีแยฌ, บรูช, นามูร์ และ เลอเฟิน

เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญด้วยระบบรัฐสภา โดยแบ่งออกเป็นสามเขตการปกครองตนเอง���ี่สำคัญ ได้แก่ แคว้นเฟลมิช (แฟลนเดอส์) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์, วอลลูน (วอลโลเนีย) ทางทิศใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส และแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่เล็กที่สุดและมีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุด รวมทั้งเป็นภูมิภาคที่ร่ำรวยที่สุดในแง่ของอัตราจีดีพีเฉลี่ย เบลเยียมเป็นที่ตั้งของประชาคมผู้ใช้ภาษาหลักสองภาษา ได้แก่ ประชาคมเฟลมิชที่พูดภาษาดัตช์ซึ่งมีประชากรร้อยละ 60 และประชาคมฝรั่งเศสซึ่งมีประมาณร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังมีประชาคมภาษาเยอรมันกระจายตัวอยู่ในภูมิภาคตะวันออก ในขณะที่แคว้นบรัสเซลส์ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาดัตซ์ แม้ภาษาฝรั่งเศสจะมีบทบาทเป็นภาษาหลัก[8] ความขัดแย้งทางภาษาและวัฒนธรรมยังสะท้อนให้เห็นจากระบอบการปกครองที่ซับซ้อน จากการมีรัฐบาลย่อยหลายระดับซึ่งมีอำนาจหน้าที่แตกต่างกันตามรัฐธรรมนูญ[9]

คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศัย และยังมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน โดยมีที่มาจากเหตุการณ์ สงครามกอล ซึ่งนำโดย จูเลียส ซีซาร์ เพื่อใช้เรียกพื้นที่ในละแวกนี้ในช่วง ค.ศ. 55[10] แผ่นดินของเบลเยียมที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันก่อตั้งขึ้นหลังการปฏิวัติเบลเยียม ใน ค.ศ. 1830 ภายหลังได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1815 เบลเยียมจัดอยู่ในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเช่นเดียวกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เนื่องจากที่ตั้งของประเทศอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ซึ่งในอดีตกาล บริเวณนี้เป็นภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากรวมพื้นที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสเอาไว้ด้วย ตั้งแต่ยุคกลาง จุดศูนย์กลางในบริเวณนี้ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำสายสำคัญหลายสายทำให้ประเทศเบลเยียมในยุคโบราณมีความเจริญรุ่งเรือง และสภาพที่ตั้งยังเป็นประโยชน์ในด้านการค้า และการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ของเบลเยียมยังถือเป็นสมรภูมิหลักของชาติต่าง ๆ ในการทำสงครามของยุโรป และได้รับสมญานามว่า "สนามรบแห่งยุโรป"[11] โดยมีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 20 จากเหตุการณ์สงครามโลกทั้งสองครั้ง

เบลเยียมเข้าร่วมในการปฏิวัติอุตสาหกรรม[12][13] และในช่วงศตวรรษที่ 20 ได้ครอบครองอาณานิคมจำนวนมากในทวีปแอฟริกา[14] ระหว่าง ค.ศ. 1888 ถึง ค.ศ. 1908 สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 ได้ใช้กำลังทหารเข้ายึดครองรัฐอิสระคองโก (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) โดยมีจุดประสงค์เพื่อครอบครองทรัพยากรสำคัญได้แก่ งาช้าง และ ยางพารา และได้ปกครองผู้คนด้วยความทารุณ ทรงใช้กำลังทหารรับจ้างเพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์ สังหารแรงงานทาสไปมากมาย และนำไปสู่การเสียชีวิตครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เป็นที่คาดการณ์กันว่า ตลอดการปกครองของพระองค์ ได้คร่าชีวิตผู้คนนับล้านคน[15] ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เบลเยียมต้องเผชิญความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างประชากรที่พูดภาษาดัตซ์ และกลุ่มที่พูดภาษาฝรั่งเศส ก่อให้เกิดความแตกแยกทางภาษาและวัฒนธรรม มูลเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจของแคว้นเฟลมิชและวอลลูน ความขัดแย้งก่อให้เกิดการปฏิรูปสำคัญหลายครั้ง นำไปสู่การกลายสภาพจากรัฐเดี่ยวเป็นระบอบสหพันธรัฐในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1970–1993 กระนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวยังคงอยู่โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ภาษาเฟลมิช การจัดตั้งรัฐบาลผสมซึ่งใช้เวลากว่า 18 เดือนนับจากการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 ถือเป็นสถิติโลก อัตราการว่างงานในแคว้นวอลลูนมากเป็นสองเท่าของเฟลมิชซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง[16]

เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรป และกรุงบรัสเซลส์ถูกใช้เป็นสถานที่จัดการประชุมสำคัญระดับทวีปที่สำคัญหลายครั้ง เช่น การประชุมของคณะกรรมาธิการยุโรป สภาสหภาพยุโรป และสภายุโรป รวมทั้งเป็นหนึ่งในสองเมืองหลักที่ใช้สำหรับการประชุมรัฐสภายุโรป (อีกแห่งคือสตราสบูร์ก) เบลเยียมยังเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของยูโรโซน เนโท องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเบเนลักซ์ไตรภาคีและพื้นที่เชงเกน กรุงบรัสเซลส์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น เนโท เบลเยียมเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง โดยประชากรมีรายได้ที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากระบบสวัสดิการที่ทันสมัย[17] เช่น การสาธารณสุข[18] การศึกษา สาธารณูปโภค และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง[19] รวมทั้งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุด โดยมีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำ[20][21]

ภูมิศาสตร์

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก

เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) [22] มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์แดน[23]

ภูมิประเทศ

ที่ราบชายฝั่งของเบลเยียม ประกอบด้วยเนินทรายจำนวนมาก ลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นที่ราบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และคลอง ที่สูงอาร์เดนส์เป็นเขตที่เป็นป่าหนาแน่น ยกตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 460 เมตร อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเบลเยียม พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นหิน ไม่เหมาะกับเกษตรกรรม มีจุดที่สูงที่สุดของเบลเยียมคือซีญาลเดอบอทร็องฌ์ (Signal de Botrange) สูง 694 เมตร[22][23]

แม่น้ำสายหลักของเบลเยียมได้แก่ แม่น้ำแอ็สโก (Escaut) และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ฝรั่งเศส แม่น้ำแอ็สโกเป็นแม่น้ำสายหลักของเบลเยียม ผ่านท่าเรือแอนต์เวิร์ป บรัสเซลส์ และเกนต์[23]

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศชายฝั่งทะเลมีลักษณะชื้นและไม่รุนแรงนัก ในขณะที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปอุณหภูมิจะมีช่วงความเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ในเขตที่สูงอาร์เดนส์มีฤดูร้อนที่ร้อนสลับกับฤดูหนาวที่หนาวเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนในบรัสเซลส์ อยู่ระหว่าง 55 มิลลิเมตร ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึง 78 มิลลิเมตรในเดือนกรกฎาคม[24] ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของบรัสเซลส์อยู่ที่ 15-18 องศาเซลเซียสในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และลงต่ำอยู่ที่ 3 องศาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์[25] จากรายงานของสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2546 คุณภาพน้ำในแม่น้ำของเบลเยียมอยู่ในระดับต่ำ���ุดจากทั้งหมด 122 ประเทศ[26]

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

มีหลักฐานการดำรงอยู่ของชุมชนโบราณมานานมากกว่า 2,000 ปีโดยขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และภาพเขียนโบราณในถ้ำตอนกลางของประเทศริมฝั่งแม่น้ำเมิซ (la Meuse)

ในปีพ.ศ. 600 จูเลียส ซีซาร์ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมายังดินแดนเบลเยียมปัจจุบัน โดยเอาชนะชนเผ่าเคลต์ที่ชื่อเบลไก (Belgae) และก่อตั้งเป็นมณฑลแกลเลียเบลจิกา ส่วนบริเวณทางตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลเกร์มาเนียอินเฟรีออร์ ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 จักรวรรดิโรมันตะวันตกผู้ปกครองล่มสลาย ดินแดนแถบนี้ก็ตกไปอยู่ในการควบคุมของชนเผ่าแฟรงก์ ก่อตั้งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง[27] และจักรวรรดิการอแล็งเฌียงเรืองอำนาจทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในปัจจุบัน พระเจ้าโคลวิสที่ 1 ทรงรับคริสต์ศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักร หลังจากยุคของโคลวิสแล้ว อาณาจักรของพวกแฟรงก์ก็เริ่มแตก จนกระทั่งถึงยุคของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งครองราชย์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1311 จนถึง 1357 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรแฟรงก์ ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป

ยุคกลาง

หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ อาณาจักรก็ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนเมื่อ พ.ศ. 1386 เกิดเป็นอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อาณาจักรกลาง และอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่ของเบลเยียมปัจจุบันเป็นของพระเจ้าโลแทร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรกลางในชื่ออาณาจักรโลทริงเงิน ในขณะที่ส่วนที่เหลือขนาดเล็กทางตะวันตกตกเป็นของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก(ฝรั่งเศสในปัจจุบัน) อาณาจักรกลางภายหลังตกไปอยู่ภายใต้กษัตริย์เยอรมันของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ดินแดนเบลเยียมถูกแบ่งออกเป็นรัฐขุนนางเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งต่อมารวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเบอร์กันดี หลังจากการอภิเษกสมรสของพระนางแมรีแห่งเบอร์กันดีกับเจ้าชายมักซิมิลันจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ซึ่งต่อมาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนเบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ในฐานะกลุ่มสิบเจ็ดมณฑลได้ตกทอดไปถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปน (จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) พระนัดดาของพระเจ้ามักซิมิลัน

ในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน พระราชโอรสของพระเจ้าชาลส์ ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ โดยพระเจ้าเฟลิเปพยายามที่จะปราบปรามนิกายโปรเตสแตนต์ ดินแดนทางตอนเหนือซึ่งสนับสนุนนิกายโปรเตสแตนต์ได้รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐดัตช์ ในขณะที่ดินแดนทางใต้ ประกอบด้วยเบลเยียมและลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน เรียกชื่อว่าเนเธอร์แลนด์ใต้

ต่อมาเบลเยียมได้เปลี่ยนมือจากสเปนไปยังออสเตรีย ในช่วงที่ฝรั่งเศสขึ้นเป็นมหาอำนาจในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 พื้นที่ประเทศต่ำได้เป็นสนามรบหลายครั้ง อาทิ สงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ สงครามเก้าปี สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย จนกระทั่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1ได้ยึดเบลเยียมในปี พ.ศ. 2338 ยุติการปกครองของสเปนและออสเตรียในบริเวณนี้ หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน กลุ่มประเทศต่ำได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์กได้รวมกันอีกครั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2358

การปฏิวัติเบลเยียม

ภาพเหตุการณ์ปฏิวัติเบลเยียม ของ Egide Charles Gustave Wappers ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะในบรัสเซลส์

ความแตกต่างด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ นิกายศาสนา และวัฒนธรรมกับเนเธอร์แลนด์ผู้ปกครอง นำไปสู่การปฏิวัติในเบลเยียมในปี พ.ศ. 2373 ก่อตั้งเป็นรัฐเอกราช ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ เป็นกลางทางการเมือง และเลือกเจ้าชายเลโอโปลด์จากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2374 โดยมีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เป็นวันชาติของเบลเยียมนับตั้งแต่นั้นมา

เบลเยียมได้รับคองโกเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2428 จากที่เคยเป็นดินแดนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แต่การปกครองคองโกของพระเจ้าโลโอโปลด์ที่ 2 เป็นไปอย่างโหดร้าย กดขี่ใช้แรงงานชาวอาณานิคมอย่างหนักเพื่อสร้างความมั่งคั่งจากการค้างาช้างและผลิตยาง ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตหลายล้านคน กลายมาเป็นกรณีอื้อฉาวระหว่างประเทศที่เสื่อมเสียอย่างมาก ชาวอาณานิคมต่อต้านอย่างรุนแรง ท้ายที่สุดพระองค์ทรงถูกบีบให้ยกเลิกและโอนการควบคุมคองโกรัฐบาลเบลเยียม ก่อตั้งเป็นเบลเจียนคองโกเมื่อ พ.ศ. 2451

เยอรมนีเข้ารุกรานเบลเยียมในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพื่อเปิดเส้นทางสู่การบุกฝรั่งเศส ในช่วงนี้เบลเยียมเข้าครอบครองรวันดา-อุรุนดี (ปัจจุบันคือประเทศรวันดาและบุรุนดี) ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมนีในช่วงสงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมนี สันนิบาตชาติรับรองให้รวันดา-อุรุนดีอยู่ภายใต้การปกครองของเบลเยียม ต่อมาเบลเยียมถูกรุกรานจากเยอรมนีอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง จนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทัพสัมพันธมิตร หลังสงครามสงบเกิดการประท้วงนัดหยุดงานครั้งใหญ่ในเบลเยียมเมื่อปี พ.ศ. 2493 กดดันให้สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียมทรงสละราชสมบัติเนื่องจากมองว่าพระองค์ให้ความร่วมมือกับเยอรมนีในช่วงถูกปกครอง พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติให้กับสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง พระราชโอรสในปีต่อมา

คองโกได้รับเอกราชในปีพ.ศ. 2503 ในขณะที่รวันดา-อุรุนดีได้รับในอีกสองปีถัดมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เบลเยียมเข้าร่วมนาโต ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บรัสเซลส์ และจัดตั้งกลุ่มเบเนลักซ์ร่วมกับเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก[27] เบลเยียมเป็นหนึ่งในหกสมาชิกก่อตั้งของประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรปในปีพ.ศ. 2494 และในปีพ.ศ. 2500 ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งต่อมาคือสหภาพยุโรป เบลเยียมเป็นที่ตั้งของหน่วยงานหลายอย่างของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นต้น

การเมืองการปกครอง

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป
พระมหากษัตริย์เบลเยียม องค์ปัจจุบัน ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2556

เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา[28] ในปีพ.ศ. 2536 ได้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญ โดยบัญญัติให้เบลเยียมเป็นสหพันธรัฐ หลังจากเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่พ.ศ. 2513[29]

บริหาร

นิติบัญญัติ

รัฐสภากลางของเบลเยียมนั้นใช้ระบบสภาคู่ โดยประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ดัตช์: de Kamer van Volksvertegenwoordigers; ฝรั่งเศส: la Chambre des Représentants) และวุฒิสภา (ดัตช์: de Senaat; ฝรั่งเศส: le Sénat) วุฒิสภานั้นประกอบด้วยนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งโดยสภาชุมชนสี่สภา 50 คนและอีก 10 คนมาจากการเลือกเพิ่มเติมโดยวุฒิสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คนจากเขตเลือกตั้ง 11 เขต เบลเยียมนั้นมีการกำหนดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2435[30]

พรรคการเมือง

พรรคการเมืองของเบลเยียมนั้น มีลักษณะแบ่งตามกลุ่มภาษาอย่างชัดเจน พรรคการเมืองของเบลเยียมอยู่ในสามกลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มพรรคคริสเตียนเดโมแครต แบ่งเป็น Centre démocrate humaniste (CDH) และ Christen-Democratisch & Vlaams (CD&V) กลุ่มพรรคสังคมนิยม ประกอบด้วย Parti Socialiste (PS) และ Socialistische Partij – Anders (SP.A) และกลุ่มพรรคเสรีนิยม ได้แก่ Mouvement Réformateur (MR) และ Vlaamse Liberalen en Democraten (VLD) นอกจากสามกลุ่มหลักนี้แล้ว ยังมีกลุ่มพรรคกรีน ได้แก่ พรรค Ecolo และ Groen! ซึ่งเป็นพรรคของผู้พูดภาษาฝรั่งเศสและฟลามส์ตามลำดับ[31][32]

ตุลาการ

กองทัพ

เรือรบ Leopold I (F930) ของกองทัพเรือเบลเยียม

กองทัพเบลเยียมมีทหารประจำการอยู่ประมาณ 47,000 นาย ในปี 2019 งบประมาณด้านการป้องกันประเทศของเบลเยียมมีมูลค่ารวม 4.303 พันล้านยูโร (4.921 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็น 93% ของจีดีพีรวมในประเทศ กองกำลังเบลเยียมประกอบด้วยสี่กองทัพหลัก: กองทัพบก กองทัพอากาศ นาวิกโยธินหรือกองทัพเรือ และกองกำลังแพทย์ ทั้งหมดอยู่ใต้บังคับบัญชาของแผนกเสนาธิการทั้งในช่วงปฏิบัติการและการฝึกอบรม ควบคุมโดยกระทรวงกลาโหมซึ่งนำโดยหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการหรือเสนาธิการ

ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้เบลเยียมมีนโยบายด้านการทหารที่เข้มงวดและรัดกุมตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในเดือนมีนาคม ปี 1948 เบลเยียมลงนามในสนธิสัญญาบรัสเซลส์และเข้าร่วมกับเนโทในปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้มีการนำกองกำลังในประเทศเข้าร่วมกับเนโทจนถึงช่วงสงครามเกาหลี[33] เบลเยียมพร้อมด้วยรัฐบาลลักเซมเบิร์กได้ส่งกองทหารกำลังพลออกรบในสงครามเกาหลีที่รู้จักกันในชื่อ Belgian United Nations Command ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการทหารครั้งแรกในระดับนานาชาติของเบลเยียม[34][35] นอกจากนี้เบลเยียมยังมีหน่วยนาวิกโยธินและกองทัพเรือที่มีชื่อเสียงในชื่อ Belgian Marine Component ซึ่งปฏิบัติการร่วมกับกองทัพเรือของเนเธอร์แลนด์อย่างใกล้ชิด[36] ภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกเบเนลักซ์ (ผู้บัญชาการทหารรวมของกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์และส่วนประกอบทางเรือของกองทัพเบลเยียม)

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่��สดง การแบ่งเขตการปกครองของเบลเยียม

ชาววัลลูนและชาวเฟลมิชในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามเขต คือ เขตฟลามส์ เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ แต่ละเขตมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

การปกครองของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามระดับ ได้แก่ รัฐบาลสหพันธรัฐ มีศูนย์กลางอยู่ที่บรัสเซลส์ ชุมชนภาษาสามชุมชน ได้แก่ ฟลามส์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน และสามภูมิภาค ได้แก่ เขตฟลามส์หรือฟลานเดอส์ เขตวัลลูนหรือวัลโลเนีย และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์

โดยเขตฟลามส์และเขตวัลลูนแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้

เขตฟลามส์ (Vlaams Gewest) เขตวัลลูน (Région wallonne)
แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) แอโน (Hainaut)
ฟลานเดอส์ตะวันออก (Oost-Vlaanderen) ลีแยฌ (Liège/Lüttich)
เฟลมิชบราแบนต์ (Vlaams Brabant) ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
ลิมเบิร์ก (Limburg) นามูร์ (Namur)
ฟลานเดอส์ตะวันตก (West-Vlaanderen) วัลลูนบราแบนต์ (Brabant wallon)

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

เศรษฐกิจของเบลเยียมเชื่อมโยงกับตลาดโลกค่อนข้างมาก เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นของยุโรป เบลเยียมเป็นประเทศแรกในภาคพื้นทวีปยุโรปที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม[37] โดยมีการพัฒนาการทำเหมืองแร่ ตีเหล็ก และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เบลเยียมได้พัฒนาสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง ทั้งท่าเรือ คลอง รถไฟ และทางหลวง เชื่อมเศรษฐกิจเข้ากับประเทศอื่น จนกลายเป็นประเทศที่มีการค้าขายระหว่างประเทศสูงสุดเป็นอันดับ 15 ของโลกในปี พ.ศ. 2550[38][39] จุดเด่นของเศรษฐกิจเบลเยียมคือ ผลิตภาพของแรงงาน รายได้ประชาชาติ และการส่งออกต่อประชากรสูง[40] การส่งออกของเบลเยียมคิดเป็นมากกว่าสองในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นพี) [31] สินค้าส่งออกหลักของเบลเยียมได้แก่เครื่องจักรและอุปกรณ์ สารเคมี เพชรเจียรไน ผลิตภัณฑ์จากเหล็กและโลหะ และอาหาร ส่วนสินค้านำเข้าหลักได้แก่วัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สารเคมี เพชรดิบ ยา อาหาร อุปกรณ์ระบบคมนาคม และผลิตภัณฑ์น้ำมัน[41] เบลเยียมได้เปรียบจากตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ในศูนย์กลางพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจสูง เบลเยียมเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

อุตสาหกรรมถลุงเหล็กริมแม่น้ำเมิซ ใกล้เมืองลีแยฌ

เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของประชาคมยุโรป และสนับสนุนการขยายอำนาจของสหภาพยุโรปเพื่อรวมเศรษฐกิจของชาติสมาชิก[31] เบลเยียมเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรในปีพ.ศ. 2542 และทดแทนฟรังก์เบลเยียมอย่างสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2545 ทั้งนี้ เบลเยียมเข้าร่วมสหภาพศุลกากรและสกุลเงินกับประเทศลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465[42]

ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัลโลเนียเป็นเขตที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูง มีการขุดเหมืองแร่และผลิตเหล็กกล้า หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฟลานเดอส์เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปรากฏการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมปิโตรเลียม โดยเฉพาะที่แอนต์เวิร์ป อุตสาหกรรมเหล็กในเขตวัลโลเนียเริ่มสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการน้ำมัน พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ หลังจากนั้น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศขยับไปทางเขตฟลานเดอส์[31] ความแตกต่างระหว่างเศรษฐกิจของทั้งสองเขตนำมาซึ่งความตึงเครียดทางการเมืองของประชาชนทั้งสองพื้นที่ อัตราการว่างงานของเขตวัลโลเนียสูงเป็นสองเท่าของเขตฟลานเดอร์สในปี พ.ศ. 2550 มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรียกร้องการแบ่งประเทศอยู่เป็นระยะๆ[43][44][45]

ราว พ.ศ. 2530 เบลเยียม ประสบปัญหาหนี้สาธารณะสูงถึง 120 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อันเป็นผลพวงจากเศรษฐกิจมหภาคของรัฐบาล จนมีการปรับโครงสร้างบริหารครั้งใหญ่ และมามีงบประมาณสมดุลเมื่อปี พ.ศ. 2549 หนี้สาธารณะลดลงมาเหลือ 90.30 เปอร์เซ็นต์[46] อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วงนี้อยู่ที่ราวร้อยละ 3 นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรปเล็กน้อย

เบลเยียมมีโครงข่ายระบบรางที่หนาแน่นเป็นอันดับต้นๆของยุโรป มีค่าเฉลี่ย 113.8 กิโลเมตรต่อพื้นที่ 1,000 ตารางกิโลเมตร มีระบบทางด่วนพิเศษที่หนาแน่นราว 55.1 กิโลเมตรต่อพื้นที่ 1,000 ตารางกิโลเมตร[47] อย่างไรก็ตาม เบลเยียมประสบปัญหาการจราจรติดขัด ประชาชนในเมืองแอนต์เวิร์ปและบรัสเซลส์ต้องใช้เวลาอยู่บนท้องถนนรวม 64-65 ชั่วโมงต่อปีในช่วงที่มีการจราจรติดขัดเมื่อปี พ.ศ. 2553[48]

ท่าอากาศยานที่สำคัญของเบลเยียมคือท่าอากาศยานบรัสเซลส์ รองรับปริมาณการขนส่งทางอากาศราว 80 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ส่วนท่าเรือที่สำคัญคือ ท่าเรือแอนต์เวิร์ป ที่รองรับการขนส่งสินค้า���ากถึง 214 ล้านตันในปี พ.ศ. 2559 โดยมีอัตราการเติบโตปีละ 2.7 เปอร์เซ็นต์[49] และยังมีท่าเรือบรูชอีกหนึ่งแห่ง เชื่อมต่อการขนส่งกับทะเลแอตแลนติก

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การประชุมโซลเวย์ ครั้งที่ 5 ที่บรัสเซลส์ เมื่อปี พ.ศ. 2470 มีนักฟิสิกส์และเคมีที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของประเทศมาอย่างช้านาน เคาน์ตีฟลานเดอร์มีนักภูมิศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และช่างทำแผนที่ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น เชราร์เดิส แมร์เกเตอร์ ช่างทำแผนที่  แอนเดรียส เวซาเลียสผู้แต่งตำรากายวิภาคศาสตร์มนุษย์สมัยใหม่ แรมเบิร์ต โดดูนส์ นักพฤกษศาสตร์สมุนไพร[50][51][52][53] และซิโมน สเตฟิน นักคณิตศาสตร์

ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ของเบลเยียมสร้างชื่อเป็นที่ประจักษ์ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น การค้นพบกระบวนการโซลเวย์ผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยเออร์เนส โซลเวย์[54] การประดิษฐ์ไดนาโมโดยเซโนป แกรมมี[55] การคิดค้นพลาสติกเบคิไลต์โดยเลโอ บาเกอลันด์ ตลอดจนฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ บาทหลวงโรมันคาทอลิกผู้เสนอทฤษฎีบิกแบง เกี่ยวกับต้นกำเนิดของจักรวาลเมื่อปี พ.ศ. 2470[56]

โซลเวย์มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์และปรัชญาของเบลเยียม มีการก่อตั้งสถาบันสังคมวิทยาโซลเวย์ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการจัดการโซลเวย์บรัสเซลส์ และสถาบันฟิสิกส์และเคมีนานาชาติโซลเวย์ขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเสรีแห่งบรัสเซลส์ในปัจจุบัน เออร์เนส โซลเวย์ได้เริ่มจัดการประชุมวิชาการโซลเวย์ขึ้นในปี พ.ศ. 2454 มีนักวิชาการด้านเคมีและฟิสิกส์เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีผลต่อการผลักดันการพัฒนาวงการฟิสิกส์และเคมีควอนตัมอย่างมากในเวลาต่อมา[57]

นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียมได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาและการแพทย์ 3 คน สาขาฟิสิกส์ 1 คน และสาขาเคมี 1 คน[58] มีนักคณิตศาสตร์ชาวเบลเยียมได้รับรางวัลเหรียญฟีลดส์ 2 คน[59][60]

ประชากร

จากการสำรวจเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เบลเยียมมีประชากรทั้งหมด 11,515,793 คน[61] คิดเป็นความหนาแน่น 376 คนต่อตารางกิโลเมตรสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก มณฑลที่มีประชากรมากที่สุดคือ แอนต์เวิร์ป และน้อยสุดคือลักเซมเบิร์ก ข้อมูลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 เผยว่า ประชากร 6,589,069 คนอาศัยอยู่ในเขตฟลามส์ (ราว 57.6 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด) อาศัยอยู่มากที่ แอนต์เวิร์ป (523,248 คน) เกนต์ (260,341 คน) และบรูช (118,284 คน) ส่วนเขตวัลลูนมีประชากร 3,633,795 คน (ราว 31.8 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ) อาศัยอยู่มากที่ชาร์เลอรัว (201,816 คน) ลีแยฌ (197,355 คน) และนามูร์ (110,939 คน) เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์มีประชากร 1,208,542 คนหรือราว 10.6 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ[3]

เชื้อชาติ

เมื่อปี พ.ศ. 2550 ประชากร 92 เปอร์เซ็นต์มีสัญชาติเบลเยียม[62] และอีก 6 เปอร์เซ็นต์มีสัญชาติประเทศอื่นในสหภาพยุโรป ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลี (171,918 คน) ชาวฝรั่งเศส (125,061 คน) ชาวเนเธอร์แลนด์ (116,970 คน) ชาวโมร็อกโก (80,579 คน) ชาวโปรตุเกส (43,509 คน) ชาวสเปน (42,765 คน) ชาวตุรกี (39,419 คน) และชาวเยอรมนี (37,621 คน)[63][64] มีชาวต่างชาติที่เกิดที่ต่างประเทศอาศัยอยู่ในเบลเยียมราว 1.38 ล้านคน คิดเป็น 12.9 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ แบ่งเป็นผู้ที่เกิดนอกสหภาพยุโรปราว 685,000 คน และในสหภาพยุโรปราว 695,000 คน[65][66]

คนที่มีภูมิหลังเป็นชาวต่างชาติหรือเป็นลูกหลานของชาวต่างชาตินั้นมีสูงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด เรียกกันว่า นิวเบลเจียน[67] ในจำนวนนี้ 1.2 ล้านคนเป็นลูกหลานชาวยุโรป และ 1.35 ล้านคนไม่ได้เป็นลูกหลานชาวตะวันตก[68] ส่วนใหญ่มาจากโมร็อกโก ตุรกี และคองโก โดยนับตั้งแต่เบลเยียมออกกฎหมายว่าด้วยสัญชาติในปี พ.ศ. 2527 มีผู้อพยพได้สัญชาติเบลเยียมไปแล้ว 1.3 ล้านคน กลุ่มใหญ่ที่สุดมาจากโมร็อกโก[69]

 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเบลเยียม
Nationaal Instituut voor de Statistiek, table 3 (01/01/2018)
อันดับ ชื่อ จังหวัด ประชากร
แอนต์เวิร์ป
แอนต์เวิร์ป
เกนต์
เกนต์
1 แอนต์เวิร์ป จังหวัดแอนต์เวิร์ป 523,248 ชาร์เลอรัว
ชาร์เลอรัว
ลีแยฌ
ลีแยฌ
2 เกนต์ จังหวัดฟลานเดอส์ตะวันออก 260,341
3 ชาร์เลอรัว จังหวัดแอโน 201,816
4 ลีแยฌ จังหวัดลีแยฌ 197,355
5 บรัสเซลส์ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 179,277
6 สการ์เบก เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 133,010
7 อันเดอร์เลคต์ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ 118,382
8 บรูช จังหวัดฟลานเดอส์ตะวันตก 118,284
9 นามูร์ จังหวัดนามูร์ 110,939
10 เลอเฟิน จังหวัดเฟลมิชบราแบนต์ 101,396

ภาษา

เบลเยียมมีภาษาทางการ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาดัตช์ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน โดยคาดว่า มีผู้พูดภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักราว 59 เปอร์เซนต์ และประมาณ 40 เปอร์เซนต์สำหรับภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาเยอรมันมีผู้พูดน้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์[22] ผู้พูดภาษาดัตช์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือของประเทศ โดยเป็นภาษาทางการของเขตฟลามส์และชุมชนฟลามส์ และหนึ่งในสองภาษาทางการของเขตเมืองหลวง ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นภาษาทางการของชุมชนฝรั่งเศส อีกหนึ่งภาษาทางการของเขตเมืองหลวง และภาษาหลักของเขตวัลลูน ภาษาเยอรมันมีผู้พูดอยู่ในเขตชายแดนตะวันออกของประเทศ เป็นภาษาทางการในบางส่วนของวัลลูน ภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดในเบลเยียมได้แก่ ภาษาวัลลูน ภาษาปีการ์ ภาษาช็องเปอนัว และภาษาลอแร็ง

ศาสนา

มหาวิหารพระหฤทัยแห่งบรัสเซลส์

นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกกลายเป็นศาสนาหลักของเบลเยียมแต่ได้มีการผสมกับแนวความคิดเสรี เบลเยียมเป็นรัฐโลกวิสัยคือรัฐมีความเป็นกลางทางศาสนา[70] ให้อิสรภาพและความเคารพในการนับถือศาสนา ราชวงศ์ของเบลเยียมนับถือนิกายคาทอลิกมาอย่างช้านาน[71]

จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558 ประชาชน 60.7 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาคริสต์ แบ่งเป็นนิกายโรมันคาทอลิก 52.9 เปอร์เซ็นต์ โปรเตสแตน์ 2.1 เปอร์เซ็นต์ และนิกายออร์โธด็อกซ์อีก 1.6 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นมีกลุ่มไม่นับถือศาสนาอีก 32 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาอิสลาม 5.2 เปอร์เซ็นต์ และศาสนาอื่นๆอีก 2.1 เปอร์เซ็นต์[72]

สาธารณสุข

ชาวเบลเยียมมีสุขภาพที่ดี ผลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2555 ระบุว่าชาวเบลเยียมมีอายุขัยเฉลี่ย 79.65 ปี[73] โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเบลเยียมได้แก่โรคทางเดินโลหิตและหัวใจ เนื้องอก ความผิดปกติทางระบบหายใจ และอุบัติเหตุกับการฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ อัตราการฆ่าตัวตายของเบลเยียมนั้นสูงสุดในยุโรปตะวันตกและนับว่าสูงมากในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน[74]

ระบบสาธารณสุขของเบลเยียมได้รับงบประมาณสนับสนุนจากระบบประกันสังคมและจากการเก็บภาษี ประชาชนมีหน้าที่จ่ายประกันสุขภาพ หน่วยงานของรัฐและเอกชนเป็นผู้ให้บริการสาธารณสุขร่วมกัน ประชาชนจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าก่อนและจะขอเบิกเงินคืนได้ทีหลังจากประกันสุขภาพ ยกเว้นบริการบางหมวดเท่านั้น รัฐบาลเบลเยียมและสภาท้องถิ่นมีหน้าที่ให้คำแนะนำและสนับสนุนการเงินกับระบบสุขภาพ[75]

การศึกษา

หอสมุดกลางแห่งมหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน

การศึกษาภาคบังคับของเบลเยียมอยู่ระหว่าง 6 ถึง 18 ปี องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจระบุว่าชาวเบลเยียมศึกษาต่อหลังระดับมัธยมศึกษาราว 42 เปอร์เซ็นต์[76]นับเป็นตัวเลขที่สูง ประชากร 99 เปอร์เซ็นต์รู้หนังสือ นอกจากนี้ โครงการเพื่อการประเมินนักเรียนนานาชาติเผยว่า การศึกษาของเบลเยียมติดอันดับ 19 ของประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก[77] โดยเฉพาะในเขตฟลามส์

นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 การเมืองของเบลเยียมได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเสรีและแนวคิดคาทอลิก ดังนั้น ระบบการศึกษาจึงมีการผสมระหว่างการศึกษาทางโลกและทางคริสต์ศาสนา ชุมชน มณฑล และเทศบาลเป็นผู้บริหารสถานศึกษาทางโลก ส่วนคริสตจักรเป็นผู้บริหารสถานศึกษาทางคริสต์โดยมีชุมชนให้คำแนะนำและให้งบสนับสนุนบ้าง[78]

กีฬา

สโมสรและสมาพันธ์กีฬาของเบลเยียมตั้งแยกกันในแต่ละกลุ่มชุมชนภาษา[79] ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเบลเยียม รองลงมาเป็นจักรยาน เทนนิส ว่ายน้ำ ยูโด และบาสเก็ตบอล[80]

เบลเยียมชนะเลิศรายการตูร์เดอฟร็องส์สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากเจ้าภาพฝรั่งเศส มีนักกีฬาจักรยานที่มีชื่อเสียงหลายคน ได้แก่ ฟิลิป กิลเบิร์ต โตม โบเนิน และเอดดี เมิกซ์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาจักรยานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[81]

ในด้านฟุตบอล เบลเยียมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1972 และร่วมกับเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ทีมฟุตบอลทีมชาติเบลเยียมทะยานขึ้นสู่เบอร์หนึ่งในอันดับโลกของฟีฟ่าครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558[82]

เบลเยียมผลิตนักเทนนิสหญิงมือหนึ่งของโลกถึงสองคน คือ กิม ไกลส์เติร์ส และฌุสตีน เอแน็ง

วัฒนธรรม

ชุมชนเบลเยียมมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นกลุ่มภาษา การพัฒนวัฒนธรรมร่วมกันยังคงมีอุปสรรคอยู่มาก[83][84] สถานศึกษาเกือบทั้งหมดมักพูดภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาดัตช์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีสื่อร่วมกัน[85] ไม่มีองค์กรวัฒนธรรมหรือวิทยาศาสตร์ใดที่ทั้งสองกลุ่มตั้งร่วมกัน

ศิลปะ

ภาพ หอคอยบาเบล ของปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ศิลปินชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียง

ฟลานเดอส์เป็นแหล่งกำเนิดของจิตรกรที่มีชื่อเสียงหลายยุคสมัย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 บริเวณยุโรปเหนือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญของยุคนี้ประกอบไปด้วย ยัน ฟัน ไอก์, โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน และปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟลานเดอส์มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์[86]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เบลเยียมเกิดรูปแบบและสำนักแตกต่างกันมากมาย มีจิตรกรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเช่น เจมส์ เอนซอร์ และเรเน มากริตต์ นอกจากนี้ เบลเยียมยังมีสถาปนิกชื่อดังสองคน ซึ่งเป็นศิลปินอาร์ตนูโวคนแรก ๆ คือวิกตอร์ ฮอร์ตา และอ็องรี ฟัน เดอแฟ็ลเดอ[87] เบลเยียมยังเป็นต้นกำเนิดของแซกโซโฟน ประดิษฐ์โดยอดอล์ฟ แซกซ์ ในปีพ.ศ. 2483[88]

ประเพณี

ขบวนยักษ์ในงานดูว์กัสดัต (Ducasse d'Ath – เทศกาลเมืองอัต) หนึ่งในเมืองที่อยู่ในประกาศของยูเนสโก

ตลอดปี เบลเยียมมีงานเทศกาลท้องถิ่นจำนวนมาก[89] ขบวนยักษ์และมังกรในหลายเมืองของเบลเยียมได้รับการยอมรับในประกาศผลงานชิ้นเอกมุขปาฐะและมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ:Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity) ของยูเนสโก ได้แก่ อัต, บรัสเซลส์, เดนเดอร์โมนเดอ, เมเคอเลิน และมงส์[90] งานเทศกาลที่สำคัญในเบลเยียมอีกอย่างหนึ่ง คือวันนักบุญนิโคลัส 6 ธันวาคม เรียกในภาษาดัตช์ว่าซินเตอร์กลาส (Sinterklaas) [91]

อาหาร

ชาวเบลเยียมเป็นที่รู้กันดีว่าชื่นชอบวัฟเฟิลและมันฝรั่งทอดเฟรนช์ฟรายส์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดจากประเทศนี้[92][93][94] อาหารสำคัญของประเทศอีกอย่างหนึ่งคือหอยแมลงภู่ เสิร์ฟร่วมกับมันฝรั่งทอด[95] เบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านการผลิตช็อกโกแลต[96] โดยมียี่ห้อช็อกโกแลตหลายยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น โกไดวา, Neuheus และ Guylian นอกจากนี้ เบลเยียมยังเป็นประเทศที่นิยมเบียร์ มีเบียร์มากกว่า 1,100 ชนิด[97][98] เอบีอินเบฟ เครือบริษัทผู้ผลิตเบียร์ยักษ์ใหญ่ที่มียอดจำหน่ายเบียร์สูงสุดในโลกมีสำนักงานอยู่ที่เมืองเลอเฟิน

อ้างอิง

  1. "Government type: Belgium". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2012. สืบค้นเมื่อ 19 December 2011. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  2. "be.STAT". Bestat.statbel.fgov.be. 26 November 2019.
  3. 3.0 3.1 "Structure of the Population" (ภาษาอังกฤษ). Statbel. สืบค้นเมื่อ 8 June 2023.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "World Economic Outlook Database". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  5. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  6. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  7. "Belgium Population (2021) - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Bruxelles-Capitale". web.archive.org. 2007-06-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-11.
  9. Janssens, Rudi (2008-01-07). "Language use in Brussels and the position of Dutch". Brussels Studies. La revue scientifique pour les recherches sur Bruxelles / Het wetenschappelijk tijdschrift voor onderzoek over Brussel / The Journal of Research on Brussels (ภาษาอังกฤษ). doi:10.4000/brussels.520. ISSN 2031-0293.
  10. C. Julius Caesar, De Bello Gallico, book 8, chapter 46
  11. "Battlefields in Belgium | Belgium Travel Guides | DFDS". DFDS A/S.
  12. eub2. "Belgium country profile — EUbusiness.com | EU news, business and politics". www.eubusiness.com (ภาษาอังกฤษ).
  13. "CAIN: Democratic Dialogue: New Order? International models of peace and reconciliation (Report No. 9)". cain.ulster.ac.uk.
  14. https://web.archive.org/web/20070925221249/http://www.args.k12.va.us/academics/history/Stoneking/chapters/world2/world27.pdf
  15. "Belgium's genocidal colonial legacy haunts the country's future". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2017-10-17.
  16. "More than meets the eye: the Ethiopian War and the origins of the Second World War", Origins of the Second World War Reconsidered, Routledge, pp. 190–215, 2002-02-07, ISBN 978-0-203-01024-2, สืบค้นเมื่อ 2022-10-11
  17. "Quality of Life Index by Country 2021 Mid-Year". www.numbeo.com.
  18. https://www.who.int/healthinfo/paper30.pdf
  19. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  20. "Belgium - Safety and Security | Privacy Shield". www.privacyshield.gov (ภาษาอังกฤษ).
  21. "Crime in Belgium". www.numbeo.com (ภาษาอังกฤษ).
  22. 22.0 22.1 22.2 ข้อมูลประเทศเบลเยียมจากเวิลด์แฟกต์บุก เก็บถาวร 2019-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 23 ส.ค. 2550 (อังกฤษ)
  23. 23.0 23.1 23.2 "Belgium". Microsoft Encarta Online Encyclopedia 2007. Microsoft Corporation. © 1997-2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 23 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ)
  24. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  25. "Climate averages — Brussels". EuroWEATHER/EuroMETEO, Nautica Editrice Srl, Rome, Italy. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  26. Pearce, Fred (5 มี.ค. 2548). "Sewage-laden Belgian water worst in world". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-22. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  27. 27.0 27.1 "History of Belgium". Visit Belgium. สำนักงานท่องเที่ยวเบลเยียมในทวีปอเมริกา. © 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-10. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)(อังกฤษ)
  28. Morris, Chris (13 พ.ค. 2548). "Language dispute divides Belgium". บีบีซีนิวส์. สืบค้นเมื่อ 27 มิ.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  29. "Historical outline of the federalism in Belgium". AWEX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ)
  30. Maria Gratschew (Apr 2001). "Compulsory Voting" (ภาษาอังกฤษ). International IDEA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 26 ก.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 "Background Note: Belgium" (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สำนักงานกิจการยุโรปและยูเรเชีย. April 2007. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "Belgium - Political parties". Encyclopedia of the Nations (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "United Nations Command > Organization > Contributors > Belgium". www.unc.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  34. "Korean War commemoration with the memory of Belgian Veterans – Korea Belgium 120" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  35. David Isby and Charles Kamps Jr, 'Armies of NATO's Central Front,' Jane's Publishing Company, 1985, p.59
  36. Defensie, Ministerie van (2014-02-13). "The Belgian and Netherlands navies under 1 command - International cooperation - Defensie.nl". english.defensie.nl (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  37. "Industrial History Belgium". European Route of Industrial Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-31. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ)
  38. "Rank Order – Exports". CIA – The 2008 world factbook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2008. สืบค้นเมื่อ 5 October 2008. 15[th]: Belgium $322,200,000,000 (2007 est.)
  39. "Rank Order – Imports". CIA – The 2008 world factbook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2008. สืบค้นเมื่อ 5 October 2008. 15[th]: Belgium $323,200,000,000 (2007 est.)
  40. "Belgian economy". Belgium. กระทรวงการต่างประเทศ การค้าต่างประเทศ และความร่วมมือการพัฒนา เบลเยียม. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  41. "Belgium". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2016.
  42. "Belgium in the European Union". Belgium. Belgian Federal Public Service (ministry) of Foreign Affairs, Foreign Trade and Development Cooperation. สืบค้นเมื่อ 25 ก.ย. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  43. "The Belgian Crisis". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.
  44. John Lichfield (2007). "Belgium: A nation divided". Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2016. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.
  45. Cook, B.A. (2002). Belgium: A History. Peter Lang. p. 139. ISBN 9780820458243. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2016. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017.
  46. "The World Factbook—(Rank Order—Public debt)". CIA. 17 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2007. สืบค้นเมื่อ 8 May 2007.
  47. Panorama of Transport (PDF). Office for Official Publications of the European Communities. 2003. ISBN 978-92-894-4845-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 สิงหาคม 2011.
  48. Fidler, Stephen (3 November 2010). "Europe's Top Traffic Jam Capitals". Wallstreet Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2011.
  49. "Double record for freight volume". port of Antwerp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2017. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017.
  50. "Rembert Dodoens: iets over zijn leven en werk—Dodoens' werken". Plantaardigheden—Project Rembert Dodoens (Rembertus Dodonaeus) (ภาษาดัตช์). Balkbrug: Stichting Kruidenhoeve/Plantaardigheden. 20 December 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2007. สืบค้นเมื่อ 17 May 2007. het Cruijdeboeck, dat in 1554 verscheen. Dit meesterwerk was na de bijbel in die tijd het meest vertaalde boek. Het werd gedurende meer dan een eeuw steeds weer heruitgegeven en gedurende meer dan twee eeuwen was het het meest gebruikte handboek over kruiden in West-Europa. Het is een werk van wereldfaam en grote wetenschappelijke waarde. De nieuwe gedachten die Dodoens erin neerlegde, werden de bouwstenen voor de botanici en medici van latere generaties. (... the Cruijdeboeck, published in 1554. This masterpiece was, after the Bible, the most translated book in that time. It continued to be republished for more than a century and for more than two centuries it was the mostly used referential about herbs. It is a work with world fame and great scientific value. The new thoughts written down by Dodoens, became the building bricks for botanists and physicians of later generations.)
  51. O'Connor, J. J.; Robertsonfirst2=E. F. (2004). "Simon Stevin". School of Mathematics and Statistics, University of St Andrews, Scotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2007. สืบค้นเมื่อ 11 May 2007. Although he did not invent decimals (they had been used by the Arabs and the Chinese long before Stevin's time) he did introduce their use in mathematics in Europe.
  52. De Broe, Marc E.; De Weerdt, Dirk L.; Ysebaert, Dirk K.; Vercauteren, Sven R.; De Greef, Kathleen E.; De Broe, Luc C. (1999). "Abstract (*)". American Journal of Nephrology. 19 (2): 282–289. doi:10.1159/000013462. ISSN 0250-8095. PMID 10213829. The importance of A. Vesalius' publication 'de humani corporis fabrica libri septem' cannot be overestimated. (*) Free abstract for pay-per-view article byDe Broe, Marc E.; De Weerdt, Dirk L.; Ysebaert, Dirk K.; Vercauteren, Sven R.; De Greef, Kathleen E.; De Broe, Luc C. (1999). "The Low Countries – 16th/17th century". American Journal of Nephrology. 19 (2): 282–9. doi:10.1159/000013462. PMID 10213829.
  53. Midbon, Mark (24 March 2000). "'A Day Without Yesterday': Georges Lemaitre & the Big Bang". Commonweal, republished: Catholic Education Resource Center (CERC). pp. 18–19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2007. สืบค้นเมื่อ 7 June 2007.
  54. Day, Lance (2003). Lance Day; Ian McNeil (บ.ก.). Biographical Dictionary of the History of Technology. Routledge. p. 1135. ISBN 978-0-203-02829-2.
  55. Woodward, Gordon (2003). Lance Day; Ian McNeil (บ.ก.). Biographical Dictionary of the History of Technology. Routledge. p. 523. ISBN 978-0-203-02829-2.
  56. "Georges Lemaître, Father of the Big Bang". American Museum of Natural History. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 9 December 2010.
  57. Larsson, Ulf (2001). Cultures of Creativity: the Centennial Exhibition of the Nobel Prize. Science History Publications. p. 211. ISBN 978-0-88135-288-7.
  58. "The Nobel Prize in Chemistry 1977". Nobelprize.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2010. สืบค้นเมื่อ 9 December 2010.
  59. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Pierre Deligne", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews. (Retrieved 10 November 2011)
  60. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Jean Bourgain", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews. (Retrieved 10 November 2011)
  61. "Structuur van de bevolking" (ภาษาดัตช์). Statbel. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
  62. This number evolved to 89% in 2011. Belgian Federal Government. "Population par sexe et nationalité pour la Belgique et les régions, 2001 et 2011" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2012.
  63. Perrin, Nicolas (April 2006). "European Migration Network—Annual Statistical Report on migration and asylum in Belgium (Reference year 2003)—section A. 1) b) Population by citizenship & c) Third country nationals, 1 January 2004" (PDF). Study Group of Applied Demographics (Gédap). Belgian Federal Government Service (ministry) of Interior—Immigration Office. pp. 5–9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 June 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2007.
  64. De vreemde bevolking. ecodata.mineco.fgov.be
  65. L'IMMIGRATION EN BELGIQUE. EFFECTIFS, MOUVEMENTS. ET MARCHE DU TRAVAIL เก็บถาวร 31 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Rapport 2009. Direction générale Emploi et marché du travai
  66. Belgian Federal Government. "Structure de la population selon le pays de naissance" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2012.
  67. BuG 155 – Bericht uit het Gewisse – 01 januari 2012 เก็บถาวร 8 กันยายน 2012 ที่ archive.today. npdata.be (1 January 2012).
  68. BuG 159 – Bericht uit het Gewisse – 7 mei 2012 เก็บถาวร 26 มกราคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. npdata.be (7 May 2012).
  69. Voor het eerst meer Marokkaanse dan Italiaanse migranten เก็บถาวร 18 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. hbvl.be. 21 May 2007
  70. See for example Belgium entry of the Catholic Encyclopedia
  71. Loopbuyck, P. & Torfs, R. (2009). The world and its people – Belgium, Luxembourg and the Netherlands. Vol. 4. Marshall Cavendish. p. 499. ISBN 978-0-7614-7890-4.
  72. Eurobarometer 437: Discrimination in the EU in 2015. European Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017 – โดยทาง GESIS. {{cite book}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  73. "Belgium". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2016.
  74. "GHO | By category | Suicide rate estimates, age-standardized - Estimates by country". WHO. สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.
  75. Corens, Dirk (2007). "Belgium, health system review" (PDF). Health Systems in Transition. 9 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011. {{cite journal}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  76. "Table 388. Percentage of population enrolled in secondary and postsecondary institutions, by age group and country – Chapter 6. International Comparisons of Education, data: 2002". Digest of Education Statistics—Tables and Figures. National Center for Education Statistics, Institute of Education Sciences (IES), US Department of Education. 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2007. สืบค้นเมื่อ 6 June 2007.
  77. "Range of rank on the PISA 2006 science scale" (PDF). OECD. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2009. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  78. De Ley, Herman (2000). "Humanists and Muslims in Belgian Secular Society (Draft version)". Centrum voor Islam in Europe (Center for Islam in Europe), Ghent University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2007. สืบค้นเมื่อ 7 June 2007.
  79. Task, Marijke; Renson, Roland & van Reusel, Bart (1999). Klaus Heinemann (บ.ก.). Organised sport in transition: development, structures and trends of sports clubs in Belgium. Sport clubs in various European countries. Schattauer Verlag. pp. 183–229. ISBN 978-3-7945-2038-1.
  80. Geno Jezek (2006). "Popular Sports". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-10. สืบค้นเมื่อ 3 Oct 2007. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ)
  81. Majendie, Matt (18 April 2005). "Great, but there are greater". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2007. สืบค้นเมื่อ 20 September 2007. [the Author's] top five [cyclists] of all time: 1 Eddy Merckx, 2 Bernard Hinault, 3 Lance Armstrong, 4 Miguel Indurain, 5 Jacques Anquetil
  82. "Belgium go top, Chile and Austria soar". FIFA. 5 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2016. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
  83. "Belgium—Arts and cultural education". Compendium of Cultural Policies and Trends in Europe, 8th edition. Council of Europe / ERICarts. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2007. สืบค้นเมื่อ 8 May 2007. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  84. "Belgique". European Culture Portal. European Commission. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2007. สืบค้นเมื่อ 10 May 2007.
  85. Gonthier, Adrien (2003). "Frontière linguistique, frontière politique, une presse en crise". Le Monde diplomatique (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2008. สืบค้นเมื่อ 17 June 2008.
  86. "Low Countries, 1600–1800 AD". Timeline of Art History. Metropolitan Museum of Art. 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  87. "Low Countries, 1900 a.d.–present". Timeline of Art History. Metropolitan Museum of Art. 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  88. น้าชาติ ประชาชื่น (17 ก.พ 2548). "แซกโซโฟน -- ประวัติที่มา". มติชน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-11. สืบค้นเมื่อ 3 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  89. "Belgian folklore festivals" (ภาษาอังกฤษ). Expatica. Jun 2005. สืบค้นเมื่อ 10 Oct 2007.[ลิงก์เสีย]
  90. "Processional Giants and Dragons in Belgium and France". ยูเนสโก. สืบค้นเมื่อ 10 Oct 2007.
  91. "The tradition of Sinterklaas" (ภาษาอังกฤษ). Expatica. 2 Dec 2005. สืบค้นเมื่อ 10 Oct 2007.[ลิงก์เสีย]
  92. "Origin of Waffles". Augustin's Waffles. Cezam USA, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ)
  93. Gavin Clabaugh (2006-08-19). "French Fries — Near and Far". Gavin’s Digital Diner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-06. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help) (อังกฤษ)
  94. "The French Fry". Professor's House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-30. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  95. "Belgium". Global Gourmet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 8 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) เผยแพร่ซ้ำจาก Van Waerebeek, Ruth; Robbins, Maria (ตุลาคม 1996). Everybody Eats Well in Belgium Cookbook. Workman Publishing. ISBN 1-56305-411-6 (Paperback) , ISBN 0-7611-0106-3 (Cloth).{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) (อังกฤษ)
  96. Michael Pollick. "What is Unique About Belgian Chocolate?". WiseGeek. สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  97. Snick, Chris (18 October 2011). "Nieuwe bierbijbel bundelt alle 1.132 Belgische bieren". Het Nieuwsblad (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2012.
  98. "Nieuwe bierbijbel met 1.132 Belgische bieren voorgesteld in Brugge". Krant van West-Vlaanderen (ภาษาดัตช์). 18 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บทางการ
ข้อมูลทั่วไป