ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศจิบูตี

พิกัด: 11°30′N 43°00′E / 11.500°N 43.000°E / 11.500; 43.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐจิบูตี

  • République de Djibouti (ฝรั่งเศส)
  • جمهورية جيبوتي (อาหรับ)
  • Jamhuuriyadda Jabuuti (โซมาลี)
  • Gabuutih Ummuuno (อาฟาร์)
ตราแผ่นดินของจิบูตี
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"เอกภาพ เสมอภาค สันติภาพ"
(ฝรั่งเศส: Unité, Égalité, Paix;
อาหรับ: اتحاد، مساواة، سلام;
โซมาลี: Midnimo, Sinnaan, Nabad;
อาฟาร์: Inkittiino, Qeedala, Wagari)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
จิบูตี
11°36′N 43°10′E / 11.600°N 43.167°E / 11.600; 43.167
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติ
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
94% อิสลาม (ทางการ)
6% คริสต์
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี ภายใต้ระบอบเผด็จการสืบตระกูล[2][3]
อิสมาอีล อูมาร์ เกลเล
อับดุลกอดิร กะมีล มุฮัมมัด
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สถาปนา
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1883
5 กรกฎาคม 1967
• เอกราชจากฝรั่งเศส
27 มิถุนายน 1977
20 กันยายน ค.ศ. 1977
4 กันยายน 1992
พื้นที่
• รวม
23,200[1] ตารางกิโลเมตร (8,958 ตารางไมล์)[1] (อันดับที่ 146)
0.09 (20 ตร.กม./ 7.7 ตร. ไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 2023 ประมาณ
976,143[4] (อันดับที่ 162)
37.2 ต่อตารางกิโลเมตร (96.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 168)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 6.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 167)
เพิ่มขึ้น 6,514 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 137)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 172)
เพิ่มขึ้น 3,666 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 126)
จีนี (ค.ศ. 2017)Negative increase 41.6[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.509[7]
ต่ำ · อันดับที่ 171
สกุลเงินฟรังก์จิบูตี (DJF)
เขตเวลาUTC+3 (EAT)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+253
โดเมนบนสุด.dj

จิบูตี (ฝรั่งเศส: Djibouti; อาหรับ: جيبوتي; โซมาลี: Jabuuti; อาฟาร์: Yibuuti) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจิบูตี (ฝรั่งเศส: République de Djibouti; อาหรับ: جمهورية جيبوتي; โซมาลี: Jamhuuriyadda Jabuuti; อาฟาร์: Gabuutih Ummuuno) เป็นประเทศในจะงอยแอฟริกาที่มีชายแดนทางใต้ติดกับประเทศโซมาเลีย[a] ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศเอธิโอเปีย ทางเหนือติดกับประเทศเอริเทรีย และทางตะวันออกติดกับทะเลแดงและอ่าวเอเดน ประเทศนี้มีพื้นที่ 23,200 ตารางกิโลเมตร (8,958 ตารางไมล์)[1]

ในสมัยโบราณ ดินแดนนี้กับเอธิโอเปีย เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนพุนต์ ส่วนบริเวณใกล้กับซัยลาอ์ (ปัจจุบันอยู่ในโซมาลีแลนด์) เคยเป็นศูนย์กลางของรัฐสุลต่านอาดัลและรัฐสุลต่านอีฟัต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการจัดตั้งอาณานิคมเฟรนช์โซมาลีแลนด์หลังสุลต่านเผ่าพงศ์ดีร์แห่งชาวโซมาลีลงนามสนธิสัญญากับฝรั่งเศส[10][11][12] และรางรถไฟไปยังดีเรดาวา (และอาดดิสอาบาบาในเวลาต่อมา) ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นเมืองท่าสำหรับเอธิโอเปียตอนใต้และโอกาเดนแทนที่ซัยลาอ์อย่างรวดเร็ว[13] จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นดินแดนอาฟาร์และอีเซของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1967 ทศวรรษต่อมา ชาวจิบูตีลงคะแนนเสียงให้เป็นเอกราช นั่นเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ สาธารณรัฐจิบูตี ซึ่งต���้งชื่อตามชื่อเมืองหลวง รัฐใหม่นี้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปีแรกที่ได้รับเอกราช[14][15] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ความตึงเครียดในการเป็นตัวแทนของรัฐบาลนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่สิ้นสุดด้วยข้อตกลงแบ่งอำนาจใน ค.ศ. 2000 ระหว่างพรรครัฐบาลกับฝ่ายค้าน[1]

ชื่อและศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อประเทศตั้งชื่อตามนครจิบูตี เมืองหลวงของประเทศ ศัพทมูลวิทยาของชื่อ จิบูตี ยังเป็นที่ขัดแย้ง โดยมีทฤษฎีและตำนานเกี่ยวกับที่มาของชื่อแตกต่างไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ ทฤษฎีหนึ่งระบุว่ามาจากคำในภาษาอาฟาร์ว่า gabouti หมายถึง "แผ่น" น่าจะสื่อถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่[16] ส่วนอีกทฤษฎีเชื่อมโยงกับคำว่า gabood แปลว่า "ที่สูง/ที่ราบสูง"[17] จิบูตี ยังอาจหมายถึง "ดินแดนของเจฮูตี" หรือ "ดินแดนของโทต" (อียิปต์: Djehuti/ Djehuty) เทพแห่งดวงจันทร์ของศาสนาอียิปต์โบราณ[18][19]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เดิมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ. 2405-2443 ทั้งโซมาเลียและเอธิโอเปียต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือจิบูตี การสู้รบของกลุ่มชนเชื้อสายเอธิโอเปียกับโซมาเลียมีมาอย่างต่อเนื่องจนจิบูตีได้รับเอกราชเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ปัจจุบันยังมีกองทหารฝรั่งเศสอยู่ในจิบูตี

ประชากร

[แก้]
ชายชาวอาฟาร์ในชุดเดินทาง
ประชากรในอดีต
ปีประชากร±% p.a.
195062,001—    
195569,589+2.34%
196083,636+3.75%
1965114,963+6.57%
1970159,659+6.79%
1977277,750+8.23%
1980358,960+8.93%
1985425,613+3.47%
1990590,398+6.76%
1995630,388+1.32%
2000717,584+2.62%
2005784,256+1.79%
2010850,146+1.63%
2015869,099+0.44%
2018884,017+0.57%
ข้อมูล: World Bank[20]

จิบูตีมีประชากรประมาณ 921,804 คน.[21] โดยเป็นประเทศที่มีหลายชาติพันธุ์ ประชากรพื้นเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากประมาณ 69,589 คนใน ค.ศ. 1955 ไปเป็นประมาณ 869,099 คนใน ค.ศ. 2015 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุด 2 กลุ่มในจิบูตีคือชาวโซมาลี (60%) และชาวอาฟาร์ (35%)[1] ส่วนอีก 5% โดยหลักประกอบด้วยชาวอาหรับเยเมน ชาวเอธิโอเปีย และชาวยุโรป (ชาวฝรั���งเศสและอิตาลี) พลเมืองประมาณ 76% อาศัยอยู่ในเมือง ส่วนที่เหลือเป็นชนร่อนเร่[1]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชายแดนจิบูตี–โซมาเลียในทางนิตินัยควบคุมโดยสหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลียที่นานาชาติให้การรับรอง แต่ในทางพฤตินัยอยู่ภายใต้การควบคุมของสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ที่ไม่ได้รับการรับรอง[8][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Djibouti". The World Factbook. CIA. 5 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013.
  2. "Democracy Index 2020". Economist Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
  3. "The world's enduring dictators". CBS News. May 16, 2011.
  4. "Djibouti". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 22 June 2023.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, October 2022". IMF.org. International Monetary Fund. October 2022. สืบค้นเมื่อ October 11, 2022.
  6. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  7. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. September 8, 2022. สืบค้นเมื่อ September 8, 2022.
  8. Mylonas, Harris. "De Facto States Unbound – PONARS Eurasia". PONARS Eurasia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  9. Ker-Lindsay, James (2012). The foreign policy of counter secession: preventing the recognition of contested states (1st ed.). Oxford University Press. pp. 58–59. ISBN 978-0-19-161197-1. OCLC 811620848.
  10. Raph Uwechue, Africa year book and who's who, (Africa Journal Ltd.: 1977), p. 209 ISBN 0903274051.
  11.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Somalia: History of French Somaliland" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 25 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 383.
  12. A Political Chronology of Africa, (Taylor & Francis: 2001), p. 132 ISBN 1857431162.
  13.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Zaila" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 28 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 950.
  14. "Today in Djibouti History". Historyorb.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2011.
  15. "United Nations member states". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2011.
  16. Everett-Heath, John (22 พฤษภาคม 2014). "Djibouti". The Concise Dictionary of World Place-Names (3 ed.). Oxford Reference. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-175139-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2019.
  17. Boujrada, Zineb (2 มีนาคม 2018). "How Djibouti Got Its Unique Name". The Culture Trip. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2019.
  18. "Countries Of The World That Are Named After Legendary Figures". Worldatlas. 7 August 2018.
  19. N.Y.), Metropolitan Museum of Art (New York (2008). Beyond Babylon: Art, Trade, and Diplomacy in the Second Millennium B.C. (ภาษาอังกฤษ). Metropolitan Museum of Art. p. 361. ISBN 978-1-58839-295-4.
  20. "Djibouti Population". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2015.
  21. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
ข้อมูล
อื่น ๆ

11°30′N 43°00′E / 11.500°N 43.000°E / 11.500; 43.000