ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศมาดากัสการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐมาดากัสการ์

Repoblikan'i Madagasikara (มาลากาซี)
République de Madagascar (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของมาดากัสการ์
ตราแผ่นดิน
คำขวัญTanindrazana, Fahafahana, Fandrosoana
(ภาษามาลากาซี: แผ่นดินของบรรพบุรุษ, เสรีภาพ, การพัฒนา)
ที่ตั้งของมาดากัสการ์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อันตานานารีโว
ภาษาราชการภาษามาลากาซีและภาษาฝรั่งเศส[1]
การปกครองสาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
แอนดรี ราโจเอลินา
• นายกรัฐมนตรี
คริสเตียน นิทเซย์
ประกาศเอกราช 
• ประกาศ
26 มิถุนายน พ.ศ. 2503
พื้นที่
• รวม
587,041 ตารางกิโลเมตร (226,658 ตารางไมล์) (46)
013%
ประชากร
• ก.ค. 2005 ประมาณ
18,606,000 (56)
• สำมะโนประชากร 1997
16,099,246
32 ต่อตารางกิโลเมตร (82.9 ต่อตารางไมล์) (171)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 39.805 พันล้าน
$ 1,554
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 10.557 พันล้าน
$ 412
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.528[2]
ต่ำ · 164
สกุลเงินอารีอารีมาดากัสการ์ (MGA)
เขตเวลาUTC+3 (EAT)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (ไม่มี)
รหัสโทรศัพท์261
โดเมนบนสุด.mg
1รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ภาษามาลากาซีเป็นภาษาประจำชาติ

มาดากัสการ์ (ฝรั่งเศส: Madagascar; มาลากาซี: Madagasikara) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมาดากัสการ์ (ฝรั่งเศส: République de Madagascar; มาลากาซี: Repoblikan'i Madagasikara) คือประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกของแอฟริกา ใกล้กับโมซัมบิก เกาะมาดากัสการ์ที่เป็นเกาะหลักเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นถิ่นของสายพันธุ์พืชและสัตว์ถึงร้อยละ 5 ของโลก และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่เป็นสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่นมาดากัสการ์ ที่เด่นคือตัวลีเมอร์ซึ่งอยู่ในตระกูลไพรเมต ตัวฟอสซา (fossa) ซึ่งกินเนื้อ นกเฉพาะถิ่น 3 ตระกูล และต้นบาวบับ (baobab) 6 ชนิด ภาษาหลักคือภาษามาลากาซี สมดุลทางธรรมชาติของมาดากัสการ์ถูกคุกคาม เนื่องจากป่าส่วนใหญ่เสียหาย และลีเมอร์ได้สูญพันธุ์ถึง 15 สายพันธุ์

ประวัติศาสตร์

[แก้]

มีหลักฐานปรากฏว่า มีผู้คนอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์มาเป็นเวลา 2000 ปีมาแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกันและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของดีโอกู ดีอัช นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี พ.ศ. 2340-2404 แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการปกครองในปี พ.ศ. 2438 และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ระบอบกษัตริย์ถูกทำลายทำให้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2439 กษัตริย์องค์สุดท้ายคือสมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ และต่อมาปี พ.ศ. 2501 มีการลงประชามติให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2503

ประชากร

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

เมื่อ 2,000-1,500 ปีก่อน ชาวออสโตรนีเชียได้อพยพมายังมาดากัสการ์ และได้ผสมกับพวกชาวแอฟริกาพื้นเมือง ต่อมาก็มีชาวอาหรับ อินเดีย และยุโรป อพยพมาบนเกาะนี้ เป็นชาวมาลากาซี 16 ล้านคน เมรินา 3 ล้านคน เบตซิเลโอ 1 ล้านคน ซึมิเฮตี 989,000 คน และสะกาลาวะ 7 แสนคน

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาคริสต์ร้อยละ 41 ศาสนาอิสลามร้อยละ 7 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูร้อยละ 0.1 ที่เหลือนับถือความเชื่อท้องถิ่น ผีสางนางไม้ ไสยศาสตร์ ฯลฯ

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
  • ภาคอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมาดากัสการ์ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและอุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอ

  • ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์

ประเทศมาดากัสการ์ มีพื้นที่การเพาะปลูกประมาณร้อยละ 5 ของประเทศ โดยกาแฟเป็นสินค้าที่ส่งออกมากที่สุดประมาณร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังมีวานิลลา ข้าวเจ้า อ้อย ยาสูบ และถั่ว ที่เป็นสินค้าการเกษตรที่สำคัญ ในด้านการปศุสัตว์และการประมงนั้น ข้อมูลในปี ค.ศ. 1988 ระบุว่า วัวเป็นสัตว์ที่ประชาชนนิยมเลี้ยงมากที่สุด มีจำนวนมากถึง 10.4 ล้านตัว รองลงมา ได้แก่ สุกร ซึ่งมีจำนวนประมาณ 1.3 ล้านตัว และสามารถจับปลาได้ประมาณ 63,000 เมตริกตัน

  • สินแร่

สินแร่ธรรมชาติที่สามารถพบได้ภายในประเทศมาดากัสการ์ที่สำคัญ ได้แก่ โครเมียม แกรไฟต์ ถ่านหิน และบอกไซต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Matthew E. Hules, et al (2005). The Dual Origin of the Malagasy in Island Southeast Asia and East Africa: Evidence from Maternal and Paternal Lineages. American Journal of Human Genetics, 76:894-901, 2005.
  2. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. December 15, 2020. สืบค้นเมื่อ December 15, 2020.