ข้ามไปเนื้อหา

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

พิกัด: 48°51′36″N 2°18′12″E / 48.86000°N 2.30333°E / 48.86000; 2.30333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส

Organisation internationale de la Francophonie
(La Francophonie)
ธงชาติองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
ธง
สัญลักษณ์ขององค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
สัญลักษณ์
เพลงชาติ"Ode to Joy" (ออร์เคสตรา)
คำขวัญ
"Égalité, complémentarité, solidarité"[1]
"ความเสมอภาค ความเติมเต็ม ความสามัคคี" a
รายชื่อประเทศและสมาชิกกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (สีน้ำเงิน)
รายชื่อประเทศและสมาชิกกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (สีน้ำเงิน)
สำนักงานใหญ่ฝรั่งเศส ปารีส, ฝรั่งเศส
ภาษาทางการฝรั่งเศส
สมาชิก
สมาชิกโดยสมบูรณ์ 54 ราย[2]
ผู้นำ
• เลขาธิการ
ลูอีซ มูชิกิกิวา
• เลขาธิการอาเปแอ็ฟ
ฌัก กราบัล
• ประธานอาเปแอ็ฟ
ฟร็องซัว พาราดิส
ก่อตั้ง
• การประชุมนีอาเม
20 มีนาคม 1970
พื้นที่
• รวม
28,223,184 ตารางกิโลเมตร (10,897,032 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2016 ประมาณ
1 พันล้านคน
36 ต่อตารางกิโลเมตร (93.2 ต่อตารางไมล์)
เว็บไซต์
www.francophonie.org
  1. พาดพิงคำขวัญของประเทศฝรั่งเศสอย่างจงใจ

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Organisation internationale de la francophonie, OIF; อังกฤษ: International Organization of the Francophonie) บางครั้งย่อว่า ลาฟร็องกอฟอนี (ฝรั่งเศส: La Francophonie [la fʁɑ̃kɔfɔni])[3] เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งเป็นสื่อแทนประเทศและภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก มีรัฐสมาชิกโดยสมบูรณ์จำนวน 54 รัฐ รัฐสมาชิกร่วมจำนวน 7 รัฐ และผู้สังเกตการณ์จำนวน 27 ราย องค์การนี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1970 มีคำขวัญว่า "equality, complementarity, and solidarity"

โครงสร้าง

[แก้]

เลขาธิการฝ่ายบริหาร (เลขาธิการ)

[แก้]
ลำดับ ภาพ ชื่อ ประเทศ เกิด เสียชีวิต เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
1 บุฏรุส บุฏรุส-ฆอลี  อียิปต์ 14 พฤศจิกายน 1922 16 มีนาคม ค.ศ. 2016(2016-03-16) (93 ปี) 16 พฤศจิกายน 1997 31 ธันวาคม 2002 เลขาธิการสหประชาชาติ (1992–1996), กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ (1977, 1978–1979), รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ (1977–1991)
2 Abdou Diouf  เซเนกัล 7 กันยายน 1935 มีชีวิตอยู่ 1 มกราคม 2003 31 ธันวาคม 2014 ประธานาธิบดีเซเนกัล (1981–2000), นายกรัฐมนตรีเซเนกัล (1970–1980)
3 มิกาเอล ฌ็อง  แคนาดา 6 กันยายน 1957 มีชีวิตอยู่ 5 มกราคม 2015 2 มกราคม 2019 ผู้สำเร็จราชการแคนาดา (2005–2010)
4 Louise Mushikiwabo  รวันดา 2 พฤษภาคม 1961 มีชีวิตอยู่ 3 มกราคม 2019 ดำรงตำแหน่ง กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือรวันดา (2009–2018)

การประชุม

[แก้]

สมาชิก

[แก้]
สมาชิกและผู้เข้าร่วมองค์การ นอกจากนี้ สีน้ำเงินเข้มยังแสดงสมาชิกที่เป็นเขตปกครองย่อยของเบลเยียมและแคนาดา

หลังรัฐประหารใน ค.ศ. 2008 สมาชิกภาพของประเทศมอริเตเนียถูกระงับเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2008 จนกว่าจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย[4] สมาชิกภาพของประเทศมาดากัสการ์ถูกระงับเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 เพราะมีการถ่ายโอนอำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2009[5] สมาชิกภาพของประเทศมาลีก็ถูกระงับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012[6] เพราะรัฐประหารใน ค.ศ. 2012 หลังจากนั้น สาธารณรัฐแอฟริกากลางถูกระงับสมาชิกภาพเพราะอุบัติการณ์ในการประชุมสมัยที่ 88 ของซีพีเอฟ (CPF) เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 และประเทศกินี-บิสเซาก็ถูกระงับเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2012[7] เพราะรัฐประหารใน ค.ศ. 2012 ต่อมาใน ค.ศ. 2014 ประเทศไทย ในฐานะชาติผู้สังเกตการณ์ ถูกระงับสถานะดังกล่าวหลังเกิดวิกฤตทางการเมืองใน ค.ศ. 2013–14[8] ใน ค.ศ. 2018 รัฐลุยเซียนากลายเป็นรัฐแห่งแรกของสหรัฐที่เข้าร่วมองค์การนี้ในฐานะผู้สังเกตการณ์[9] ใน ค.ศ. 2021 รัฐบาลรัฐโนวาสโกเชียประกาศเจตจำนงว่า จะขอสถานะผู้สังเกตการณ์[10]

แม้ประเทศแอลจีเรียจะมีประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง แต่ประเทศนี้ไม่เป็นสมาชิกขององค์การนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brochure: L’Institut de l’énergie et de l’environnement de la Francophonie เก็บถาวร 2020-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (IEPF เก็บถาวร 2020-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน). Accessed 22 January 2009.
  2. "88 États et gouvernements - Organisation internationale de la Francophonie". 1 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2018.
  3. "Atlas of Canada: The Francophonie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2014.
  4. "L’OIF suspend la Mauritanie", Radio France Internationale, 27 August 2008
  5. "Madagascar". francophonie.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-05. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.
  6. "Mali". francophonie.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-21. สืบค้นเมื่อ 27 December 2014.
  7. Organisation internationale de la Francophonie เก็บถาวร 3 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Francophonie.org. Retrieved on 2013-07-12.
  8. "L'Organisation internationale de la Francophonie (OIF) suspend la Thaïlande et réintègre la Guinée-Bissau dans ses instances" (PDF). Organisation internationale de la Francophonie. 27 June 2014. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  9. Hasselle, Della (13 Oct 2018). "Louisiana joins international organization of French-speaking governments". NOLA.com.
  10. Murat, Philippe (2021-04-28). "La Nouvelle-Écosse demandera le statut d'observateur à l'OIF". ONFR.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Glasze, Georg (2007): "The Discursive Constitution of a World-spanning Region and the Role of Empty Signifiers: the Case of Francophonia." In: Geopolitics (12)4: 656–679. (pdf: Wayback Machine)
  • Milhaud, Olivier (2006): "Post-Francophonie?". EspacesTemps.net. Post-Francophonie?

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

48°51′36″N 2°18′12″E / 48.86000°N 2.30333°E / 48.86000; 2.30333