ข้ามไปเนื้อหา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดปทุมธานี
เขตเลือกตั้งในปัจจุบัน
จำนวนเขต7
คะแนนเสียง271,956 (ก้าวไกล)
202,026 (เพื่อไทย)
เขตเลือกตั้งปัจจุบัน
ก่อตั้งพ.ศ. 2476
ที่นั่งประชาชน (6)
เพื่อไทย (1)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดูในบทความ

จังหวัดปทุมธานี มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 7 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยจังหวัดปทุมธานีมีสมาชิกสภาผู้แทนรา���ฎรคนแรก คือ นายทองกระจาย รัชตะวรรณ

เขตเลือกตั้ง

[แก้]
การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2476 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 1 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2480
พ.ศ. 2481
พ.ศ. 2489
พ.ศ. 2491
พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2495
พ.ศ. 2500/1
พ.ศ. 2500/2
พ.ศ. 2512 2 คน (เขตละ 2 คน)
พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2529 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2535/1
พ.ศ. 2535/2
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองปทุมธานีและอำเภอลาดหลุมแก้ว (ยกเว้นตำบลคูบางหลวง ตำบลคูขวาง และตำบลบ่อเงิน)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอสามโคก, อำเภอคลองหลวง (ยกเว้นตำบลคลองหกและตำบลคลองเจ็ด) และอำเภอลาดหลุมแก้ว (เฉพาะตำบลคูบางหลวง ตำบลคูขวาง และตำบลบ่อเงิน)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอธัญบุรี (ยกเว้นตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์), อำเภอคลองหลวง (เฉพาะตำบลคลองหกและตำบลคลองเจ็ด) และอำเภอหนองเสือ (ยกเว้นตำบลหนองสามวัง)
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอลำลูกกา, อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์) และอำเภอหนองเสือ (เฉพาะตำบลหนองสามวัง)
4 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองปทุมธานี
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอลาดหลุมแก้ว, อำเภอสามโคก และอำเภอคลองหลวง (เฉพาะตำบลคลองหนึ่ง)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอคลองหลวง (ยกเว้นตำบลคลองหนึ่ง) และอำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลประชาธิปัตย์)
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอลำลูกกา (ยกเว้นตำบลบึงคอไห ตำบลลำไทร และตำบลพืชอุดม)
· เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอหนองเสือ, อำเภอธัญบุรี (ยกเว้นตำบลประชาธิปัตย์) และอำเภอลำลูกกา (เฉพาะตำบลบึงคอไห ตำบลลำไทร และตำบลพืชอุดม)
5 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองปทุมธานี, อำเภอลาดหลุมแก้ว, อำเภอสามโคก และอำเภอคลองหลวง
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอลำลูกกา, อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ
6 คน
(2 เขต เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลหลักหก ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางกะดี ตำบลบางปรอก ตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกระแชง ตำบลบางพูด และตำบลสวนพริกไทย) และอำเภอคลองหลวง (เฉพาะตำบลคลองหนึ่ง)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอสามโคก, อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ ตำบลบางคูวัด และตำบลบางขะแยง)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอคลองหลวง (ยกเว้นตำบลคลองหนึ่ง) และอำเภอหนองเสือ (เฉพาะตำบลบึงชำอ้อ)
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลบางพูน) และอำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลประชาธิปัตย์ ตำบลบึงยี่โถ และตำบลรังสิต)
· เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอลำลูกกา (เฉพาะตำบลคูคต ตำบลลาดสวาย และตำบลบึงคำพร้อย)
· เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอหนองเสือ (ยกเว้นตำบลบึงชำอ้อ), อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลลำผักกูด ตำบลบึงสนั่น และตำบลบึงน้ำรักษ์) และอำเภอลำลูกกา (เฉพาะตำบลบึงคอไห ตำบลพืชอุดม ตำบลลำไทร ตำบลบึงทองหลาง และตำบลลำลูกกา)
6 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอลาดหลุมแก้วและอำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลบ้านฉาง ตำบลบางปรอก ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ ตำบลบางคูวัด ตำบลบางขะแยง ตำบลบ้านใหม่ และตำบลบางกะดี)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอสามโคก, อำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลบางพูด ตำบลบ้านกระแชง ตำบลบ้านกลาง ตำบลสวนพริกไทย ตำบลบางพูน และตำบลหลักหก) และอำเภอคลองหลวง [เฉพาะตำบลคลองหนึ่ง (ในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวง) และตำบลคลองสอง (ในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอคลองหลวง [เฉพาะตำบลคลองสาม ตำบลคลองสี่ ตำบลคลองหนึ่ง (ในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง) และตำบลคลองสอง (ในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลประชาธิปัตย์) และอำเภอลำลูกกา (เฉพาะตำบลคูคต)
· เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลบึงยี่โถ) และอำเภอลำลูกกา (ยกเว้นตำบลคูคต)
· เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอหนองเสือ, อำเภอคลองหลวง (เฉพาะตำบลคลองห้า ตำบลคลองหก และตำบลคลองเจ็ด) และอำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลรังสิต ตำบลลำผักกูด ตำบลบึงสนั่น และตำบลบึงน้ำรักษ์)
6 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2566 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอลาดหลุมแก้ว, อำเภอสามโคก และอำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง และตำบลบางเดื่อ)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเมืองปทุมธานี (ยกเว้นตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง ตำบลบางเดื่อ และตำบลสวนพริกไทย)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอคลองหลวง [เฉพาะตำบลคลองสาม ตำบลคลองสอง (ในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง) และตำบลคลองหนึ่ง (ในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตำบลสวนพริกไทย), อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลประชาธิปัตย์) และอำเภอคลองหลวง [เฉพาะตำบลคลองหนึ่ง (ในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวง) และตำบลคลองสอง (ในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวง)]
· เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลลำผักกูด ตำบลรังสิต และตำบลบึงยี่โถ), อำเภอคลองหลวง (เฉพาะตำบลคลองสี่ ตำบลคลองห้า ตำบลคลองหก และตำบลคลองเจ็ด) และอำเภอหนองเสือ (เฉพาะตำบลบึงชำอ้อ ตำบลบึงกาสาม และตำบลนพรัตน์)
· เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอลำลูกกา (เฉพาะตำบลคูคตและตำบลลาดสวาย)
· เขตเลือกตั้งที่ 7 : อำเภอลำลูกกา (ยกเว้นตำบลคูคตและตำบลลาดสวาย), อำเภอธัญบุรี (เฉพาะตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์) และอำเภอหนองเสือ (ยกเว้นตำบลบึงชำอ้อ ตำบลบึงกาสาม และตำบลนพรัตน์)
7 คน (เขตละ 1 คน)

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต

[แก้]

ชุดที่ 1–7; พ.ศ. 2476–2495

[แก้]
      พรรคอิสระ (พ.ศ. 2488)
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 1 พ.ศ. 2476 นายทองกระจาย รัชตะวรรณ
ชุดที่ 2 พ.ศ. 2480 นายดาบ ทิว มะโนทัย
ชุดที่ 3 พ.ศ. 2481 ร้อยตรี ลมัย กฤษณภักดี (ขาดคุณสมบัติ)
นายเอี่ยม ราษฎรนิยม (แทนร้อยตรี ลมัย)
ชุดที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2489 นายสุจิตร หิรัญพฤกษ์
สิงหาคม พ.ศ. 2489 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 5 พ.ศ. 2491 พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์)
พ.ศ. 2492 – (เลือกตั้งเพิ่มเติม)
ชุดที่ 7 พ.ศ. 2495 พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์)

ชุดที่ 8–9; พ.ศ. 2500

[แก้]
      พรรคเสรีมนังคศิลา
      พรรคสหภูมิพรรคชาติสังคม
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นายยิ่ง รัศมิทัต
ชุดที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2500 นายนนท์ วรรักษา

ชุดที่ 10–14; พ.ศ. 2512–2526

[แก้]
      พรรคสหประชาไทย
      พรรคสังคมชาตินิยม
      พรรคสันติชน
      พรรคธรรมสังคม
      พรรคชาติไทย
      พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2522)พรรคสยามประชาธิปไตย
      พรรคประชากรไทย
      ไม่สังกัดพรรคการเมือง
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512 นายลำภู สงวนสัตย์ นายสนอง กฤษณะเศรณี
ชุดที่ 11 พ.ศ. 2518 นายจรูญ กุวานนท์ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์
ชุดที่ 12 พ.ศ. 2519 นายลำภู สงวนสัตย์ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์
ชุดที่ 13 พ.ศ. 2522 นายลำภู สงวนสัตย์
ชุดที่ 14 พ.ศ. 2526 นายจรูญ กุวานนท์

ชุดที่ 15–20; พ.ศ. 2529–2539

[แก้]
      พรรคชาติไทย
      พรรคประชากรไทย
      พรรคความหวังใหม่
      พรรคประชาธิปัตย์
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1
ชุดที่ 15 พ.ศ. 2529 นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ นางวาณี หาญสวัสดิ์
ชุดที่ 16 พ.ศ. 2531 นายจรูญ กุวานนท์
ชุดที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 นายจรูญ กุวานนท์
ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 นางวาณี หาญสวัสดิ์
ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538
ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539 นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ นายเอกพจน์ ปานแย้ม

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548

[แก้]
      พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)พรรคไทยรักไทย
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคไทยรักไทย
      พรรคชาติไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
2 นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายเอกพจน์ ปานแย้ม
3 ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา
4 นายลิขิต หมู่ดี
5 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550

[แก้]
      พรรคชาติไทย
      พรรคชาติไทยพรรคเพื่อไทย
      พรรคพลังประชาชนพรรคเพื่อไทย
      พรรคประชาราช
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายเอกพจน์ ปานแย้ม
(ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี)
นางชนากานต์ ยืนยง
(แทนนายเอกพจน์)
นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
นายสุทิน นพขำ
2 นางสาวพรพิมล ธรรมสาร
ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี
นายชูชาติ หาญสวัสดิ์

ชุดที่ 24–25; พ.ศ. 2554–2562

[แก้]
      พรรคเพื่อไทย
      พรรคเพื่อไทยพรรคภูมิใจไทย
      พรรคประชาธิปัตย์
      พรรคอนาคตใหม่พรรคภูมิใจไทย
      พรรคภูมิใจไทย
เขต ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562
1 นายสุทิน นพขำ นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
2 นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล นายศุภชัย นพขำ
3 นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว นายอนาวิล รัตนสถาพร
4 นางสาวพรพิมล ธรรมสาร นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์
5 ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี (ลาออก) นางสาวพรพิมล ธรรมสาร
นายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง
(แทนว่าที่ร้อยตรี สุเมธ)
6 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ นายพิษณุ พลธี

ชุดที่ 26; พ.ศ. 2566

[แก้]
      พรรคก้าวไกลพรรคประชาชน
      พรรคเพื่อไทย
เขต ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566
1 นายสรวีย์ ศุภปณิตา
2 นายเจษฎา ดนตรีเสนาะ
3 นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว
4 นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ
5 นายมนัสนันท์ หลีนวรัตน์
6 นายเชตวัน เตือประโคน
7 นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]