พรรคสหประชาธิปไตย
พรรคสหประชาธิปไตย | |
---|---|
หัวหน้า | พันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ |
เลขาธิการ | มั่น พัธโนทัย |
ก่อตั้ง | 10 มกราคม พ.ศ. 2526 |
ถูกยุบ | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (9 ปี 285 วัน) |
รวมตัวกับ | พรรคชาติประชาชน พรรคสนับสนุนนโยบายเกรียงศักดิ์ |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคสหประชาธิปไตย (เดิมชื่อ: พรรคสยามประชาธิปไตย) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2526 โดยมีพันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็นหัวหน้าพรรค และมี ดร.มั่น พัธโนทัย เป็นเลขาธิการพรรค[1] ก่อนหน้านั้นเป็นการรวมตัวกันในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 เป็นกลุ่มการเมือง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง ส่งผลให้มีการยกเว้นการบังคับเกี่ยวกับการจัดตั้งหรือการสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยใช้คำว่า "กลุ่มการเมือง" เป็นการเรียกอย่างไม่เป็นทางการ
ประวัติ
[แก้]พรรคสหประชาธิปไตย ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ลำดับที่ 14/2526 โดยได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2526 ในนาม "พรรคสยามประชาธิปไตย" ซึ่งทางพรรคเกิดมาจากการรวมตัวกันของเหล่า ส.ส. ภาคต่างๆ ที่ไม่ได้สังกัดพรรคซึ่งลงรับเลือกตั้งเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยมีพันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็นหัวหน้าพรรคและดร. มั่น พัธโนทัย เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
ต่อมา ทางพรรคได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคสหประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529[2]
พรรคสหประชาธิปไตย ถูกยุบพรรค ตามคำสั่งของศาลฎีกา ที่ 3255/2535 ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2525 มาตรา 46 (4)[3]
รายนามหัวหน้าพรรค
[แก้]- พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ (10 มกราคม พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2526, 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535)
- เฉิดศักดิ์ แสนวิเศษ[4] (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 - 2 เมษายน พ.ศ. 2529[5]
- นิพนธ์ ศศิธร (4 เมษายน พ.ศ. 2529 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529)
- บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531)
- เริ่มรัฐ จิตรภักดี (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - 21 กรกฎาคม ��.ศ. 2535)
รายนามเลขาธิการพรรค
[แก้]- มั่น พัธโนทัย (10 มกราคม พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2526)
- ประสาทพร เทพลิบ[4] (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529)
- ตามใจ ขำภโต (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535)
- ชุมพล จิตรภักดี (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535)
การเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้งทั่วไป
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
กลุ่มสยามประชาธิปไตย | ||||||
2522 | 29 / 301
|
29 ที่นั่ง[6] | ร่วมรัฐบาล | พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ | ||
พรรคสยามประชาธิปไตย | ||||||
2526 | 18 / 324
|
11 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล[ก] | พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ | ||
พรรคสหประชาธิปไตย | ||||||
2529 | 38 / 347
|
20 ที่นั่ง | ฝ่ายค้าน | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | ||
2531 | 5 / 357
|
33 ที่นั่ง | ร่วมรัฐบาล | พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ | ||
มีนาคม 2535 | 0 / 360
|
5 ที่นั่ง | ไม่ได้รับเลือกตั้ง | เริ่มรัฐ จิตรภักดี |
- ↑ หลังจากเลือกตั้ง สส. ที่ได้รับเลือกย้ายสังกัดไปร่วมพรรคอื่น ดังนี้ พรรคชาติไทย 17 คน และ พรรคกิจสังคม 1 คน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคสยามประชาธิปไตย ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนชื่อพรรคการเมืองเป็น พรรคสหประชาธิปไตย และเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง (พรรครวมพลังใหม่, พรรคสหประชาธิปไตย, พรรคเกษตรเสรี และพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า)
- ↑ 4.0 4.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคสยามประชาธิปไตย
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หัวหน้าพรรคสยามประชาธิปไตยลาออกจากตำแหน่ง (นายเฉิดศักดิ์ แสนวิเศษ)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.