ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยการปกครอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการปกครอง
Institute of Administration Development
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 (84 ปี)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • นายสิทธิชัย เทพภูษา, อธิการวิทยาลัยการปกครอง
ต้นสังกัดหน่วยงานกรมการปกครอง
เว็บไซต์http://www.iadopa.org/

วิทยาลัยการปกครอง (อั���กฤษ: Institute of Administration Development) เป็นสถาบันการฝึกอบรมข้าราชการฝ่ายพลเรือน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครอง"[1] รับนักศึกษาที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร 2 ปี ในระยะแรกใช้พระตำหนักสุวัทนาเป็นหอนอน และพระที่นั่งนงคราญสโมสรเป็นสำนักงานของโรงเรียน จัดการศึกษาเกี่ยวกับวิชาว่าด้วยกฎหมายอาญา หลักการจับกุม สืบสวน สอบสวนคดีอาญา ประวัติศาสตร์ จรรยาของนักปกครอง ขับรถยนต์ ขี่ม้า และยิงปืน เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยการปกครอง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นเรียกว่า "โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครอง" รับนักศึกษาที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการฝึกอบรมเป็นเวลา 2 ปี โดยใช้พระตำหนักสุวัทนาเป็นหอนอนของนักเรียน และพระที่นั่งนงคราญสโมสรเป็นสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ มีการศึกษาวิชาที่ว่าด้วยลักษณะกฎหมายอาญา หลักการจับกุม สืบสวน สอบสวนคดีอาญา ประวัติศาสตร์ จรรยาของนักปกครอง ขับรถยนต์ ขี่ม้า และยิงปืน เป็นต้น

ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนมารับผู้สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา และปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต เข้ามาเป็นปลัดอำเภอ โดยมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้

วิทยาลัยการปกครอง เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับกรมการปกครอง แต่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจาก สำนักและกองต่าง ฯ ตรงที่มีความเป็นสถาบันด้านการให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากรของกรมการปกครอง ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรประชาชนต่าง ฯ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี จึงมีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการวิทยาลัยการปกครองขึ้น เพื่อกำกับ ดูแล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารขึ้น เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของวิทยาลัยการปกครอง ดังนี้

  • คณะกรรมการวิทยาลัยการปกครอง
    • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ
    • ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
    • เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือผู้แทน กรรมการ
    • เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน กรรมการ
    • ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือผู้แทน กรรมการ
    • รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ฝ่ายปกครอง) กรรมการ
    • อธิบดีกรมวิเทศสหการ หรือผู้แทน กรรมการ
    • อธิบดีกรมการปกครอง กรรมการ
    • ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย กรรมการ
    • ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กรรมการ
    • นายกสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กรรมการ
    • รองอธิบดีกรมการปกครอง (ฝ่ายราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) กรรมการ
    • อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือผู้แทน กรรมการ
    • อธิการวิทยาลัยการปกครอง กรรมการและเลขานุการ
    • รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง (ฝ่ายวิชาการ)กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ
    • รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง (ฝ่ายบริหารการฝึกอบรม) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน

วิทยาลัยการปกครอง มีอำนาจหน้าที่ ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2559 คือ ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรม รวมทั้งพนักงานฝ่ายปกครอง และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

วิทยาลัยการปกครอง มีสัญลักษณ์ของวิทยาลัย คือ เข็มวิทยฐานะรูปดอกจันทร์นูน 8 แฉก มีรูปสิงห์อยู่ตรงกลาง เปรียบได้กับ มรรค 8 อันเป็นหลักธรรมของนักปกครอง หมายถึง ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ และมีคำขวัญของวิทยาลัยการปกครอง คือ เรียบ ง่าย ประหยัด สามัคคี มีวินัย ช่วยตนเอง"'

สถานที่

[แก้]

สถานที่ฝึกอบรมของวิทยาลัยการปกครอง ประกอบด้วย

  1. วิทยาลัยการปกครอง อำเภอธัญบุรี ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 129 หมู่ที่ 2 ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 6) ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีอาคารฝึกอบรม 4 อาคาร ๆ ได้แก่ โรงเรียนนายอำเภอ โรงเรียนข้าราชการฝ่ายปกครอง โรงเรียนสืบสวนสอบสวนพนักงานฝ่ายปกครอง และโรงเรียนปลัดอำเภอ โดยชั้นบนเป็นที่พัก ชั้นล่างเป็นสำนักงาน ห้องบรรยายและห้องกิจกรรม
    นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่อาศัยพื้นที่อาคารภายในวิทยาลัยการปกครองอีก 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสถาบันพัฒนาวิชาชีพการทะเบียน สำหรับเป็นที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และนอกจากอาคารฝึกอบรมแล้วยังมีอาคารอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการฝึกอบรม เช่นอาคารสำนักอธิการ อาคารศูนย์เทคโนโลยีการฝึกอบรม หอพระพุทธสีหภูมิบาล อาคารโรงอาหาร อาคารสโมสรวิทยาลัยการปกครอง โรงยิมเนเซี่ยม และสนามกีฬาหลายชนิด สามารถรองรับผู้เข้าอบรม ข้าราชการ และประชาชนที่สนใจค้นคว้าหาความรู้ และการออกกำลังกาย
  2. ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมภาค ประกอบด้วย 4 ศูนย์ ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]