ปัญญา สิงห์ศักดา
ปัญญา สิงห์ศักดา | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ |
ถัดไป | พลเอก วันชัย จิตต์จำนงค์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 มกราคม พ.ศ. 2553 (79 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 - 4 มกราคม พ.ศ. 2553) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคความหวังใหม่ อดีตนายกสมาคมไทย – ลาวเพื่อมิตรภาพ[1] และอดีตนายกสมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย
ประวัติ
[แก้]พลเอก ปัญญา สิงห์ศักดา เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เป็นชาวกรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 1 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 26
การทำงาน
[แก้]เขารับราชการทหาร เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5[2] และเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นรองเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2531 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ จนถึงก่อนเกษียณอายุในปีพ.ศ. 2533
ต่อมาหลังเกษียณอายุในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 17
ในปีพ.ศ. 2539 สมัยรัฐบาลนาย บรรหาร ศิลปอาชา ขณะนั้นมีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตย สกัดกั้นนักการเมืองที่ซื้อเสียง และหวังเข้ามาคอร์รัปชัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[3] ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ต่อมาพลเอก ปัญญา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย แต่ถูกดำเนินคดีฉ้อโกงและยักยอกเงินจำนวน 30 ล้านบาท ของสมาคมฯ โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ศาลแขวงดุสิต พิพากษาจำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่ได้ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวสู้คดี[4]
การเสียชีวิต
[แก้]เขาก่อเหตุใช้เชือกผูกคาต���ยภายในบ้านพักในกรุงเทพมหานคร แต่ญาตินำส่งโรงพยาบาลได้ทัน ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมในอีก 3 วันต่อมา เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[8]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[10]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[14]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สมาคมไทย – ลาวเพื่อมิตรภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-01-21.
- ↑ ทำเนียบ ผบ.พล.ร.5 - กองพลทหารราบที่ 5
- ↑ ประกาศรัฐสภา เรื่อง ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอน 2ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2540
- ↑ จำคุก 3 ปี “พล.อ.ปัญญา สิงห์ศักดา” โกงเงินสมาคมรัฐธรรมนูญฯ
- ↑ “พล.อ.ปัญญา” เครียดปัญหารุมเร้า-ผูกคอตายในบ้านพัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๙ ง หน้า ๒๕๓, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๙ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕๙, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๙, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๔๘๑, ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๑๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2473
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- พรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอในประเทศไทย
- ทหารในสงครามเวียดนาม