ประเทศซูดาน
สาธารณรัฐซูดาน جمهورية السودان (อาหรับ) | |
---|---|
ซูดานในสีเขียวเข้ม ดินแดนพิพาทในสีเขียวอ่อน | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | คาร์ทูม 15°38′N 032°32′E / 15.633°N 32.533°E |
ภาษาราชการ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ | |
เดมะนิม | ชาวซูดาน |
การปกครอง | สหพันธ์ภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[4] |
• ประธานสภาเปลี่ยนผ่านอธิปไตย | อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน |
• รองประธานสภาเปลี่ยนผ่านอธิปไตย | มาลิก อักกอร |
อุษมาน ฮุซัยน์ (รักษาการ) | |
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติเฉพาะกาล |
ก่อตั้ง | |
1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |
ค.ศ. 1885 | |
ค.ศ. 1899 | |
• เป็นเอกราชและสิ้นสุดการปกครอง ของอังกฤษ-อียิปต์ | 1 มกราคม ค.ศ. 1956 |
• การแยกตัวของซูดานใต้ | 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 |
11 เมษายน ค.ศ. 2019 | |
4 สิงหาคม ค.ศ. 2019 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 1,886,068 ตารางกิโลเมตร (728,215 ตารางไมล์) (อันดับที่ 15) |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2021 ประมาณ | 44,909,353 [5] (อันดับที่ 33) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2008 | 30,894,000 (กำกวม)[6] |
21.3 ต่อตารางกิโลเมตร (55.2 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 177.678 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] |
• ต่อหัว | 4,232 ดอลลาร์สหรัฐ[8] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2018 (ประมาณ) |
• รวม | 33.903 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] |
• ต่อหัว | 808 ดอลลาร์สหรัฐ[10] |
จีนี (ค.ศ. 2014) | 34.2[11] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.510[12] ต่ำ · อันดับที่ 170 |
สกุลเงิน | ปอนด์ซูดาน (SDG) |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +249 |
รหัส ISO 3166 | SD |
โดเมนบนสุด | .sd سودان. |
ซูดาน (อังกฤษ: Sudan; อาหรับ: السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (อังกฤษ: Republic of the Sudan; อาหรับ: جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ[13] ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร์
ประวัติศาสตร์
[แก้]ซูดานหรือนิวเบียสมัยโบราณ มีชาวอียิปต์เข้ามาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยเก่าแก่ ในศตวรรษที่ 6 ชาวพื้นเมืองในซูดานหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติกอาหรับเข้ามาพิชิตแล้วนำเอาศาสนาอิสลามมาให้ ในทศวรรษของปี ค.ศ. 1820 อียิปต์เอาซูดานไปครอบครองโดยรบชนะอาณาจักรในยุคแรก ๆ ได้รวมทั้งอาณาจักรของฟุง ในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1880 โมฮัมหมัด อาห์หมัด ซึ่งเรียกตัวเองว่ามาห์ธี (ผู้นำแห่งความสัตย์) กับสาวกของเขาก่อการปฏิวัติ ในปี ค.ศ. 1898 กองกำลังผสมระหว่างอังกฤษและอียิปต์ บุกทำลายกองทัพผูสืบตำแหน่งต่อจากมาห์ธีร์จนพังพินาศ ในปี ค.ศ. 1951 รัฐสภาอียิปต์ประกาศยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษฉบับปี ค.ศ. 1899 และ 1936 แล้วแก้ไขรัฐธรรมนูญอียิปต์ให้ซูดานมีรัฐธรรมนูญแยกไปจากอียิปต์ ซูดานได้รับอิสรภาพโดยสมบูรณ์มีการปกครองระบบรัฐสภาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1956 ในปี ค.ศ. 1969 สภาปฏิวัติเข้ายึดอำนาจแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนบริหารประเทศ รัฐบาลประกาศจะสร้างซูดานเป็นรัฐสังคมนิยม 12 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับนับถือศาสนาอิสลามและเคยมีอำนาจในรัฐบาลกลางมาช้านาน ใน 3 จังหวัดทางภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นคนดำนับถือศาสนาเดิมของแอฟริกา ในปี ค.ศ. 1972 รัฐบาลยอมให้จังหวัดทางใต้ปกครองตนเอง แล้วทั้งสองซีกของประเทศก็เริ่มทำสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1988 ในทศวรรษของปี ค.ศ. 1980 ซูดานมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและเลวร้ายลงไปอีก เมื่อมีผู้ลี้ภัยจากประเทศใกล้เคียงหลั่งไหลเข้ามา ภายหลังอยู่ในอำนาจมา 16 ปี ประธานาธิบดีไนไมรีก็ถูกโค่นอำนาจจากการทำรัฐประหารเมื่อปี ค.ศ. 1985 ในปี ค.ศ. 1986 ซูดานมีการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตยครั้งแรกในรอบ 18 ปี แต่แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ถูกโค่นล้มอีก จากการรัฐประหารแบบไม่เสียเลือดเนื้อของฝ่ายทหารในปี ค.ศ. 1989 ในปี ค.ศ. 1991 ซูดานยอมให้สหประชาชาติช่วยบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่ เพราะมีประชากรประมาณ 7 ล้านคนที่กำลังขาดแคลนอาหาร
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ซูดานมีรัฐทั้งหมด 17 รัฐ ได้แก่
|
พื้นที่ที่เกิดความขัดแย้ง
[แก้]นอกจากการบริหารโดยรัฐบาลกลาง ยังมีการบริหารภายนอกที่เกิดจากการทำสนธิสัญญาสันติภาพกับกลุ่มกบฏได้แก่
ส่วนการบริหารเฉพาะพื้นที่
[แก้]- เขตการปกครองตนเองดาร์ฟูร์ จัดตั้งตามข้อตกลงสันติภาพดาร์ฟูร์
- สภาศูนย์กลางรัฐซูดานตะวันออก จัดตั้งตามข้อตกลงสันติภาพซูดานตะวันออก ระหว่างรัฐบาลซูดานและกลุ่มกบฏ แนวร่วมตะวันออกเพื่อเป็นศูนย์กลางบริหารรัฐทางตะวันออกสามรัฐ
- อับเยอีตั้งอยู่ตามแนวชายแดนระหว่างซูดานกับซูดานใต้ เป็นเขตบริหารพิเศษ บริหารโดย องค์กรบริหารบริเวณอับเยอี ซึ่งเป็นไปตามประชามติใน พ.ศ. 2554 ว่าอับเยอีจะเข้าร่วมกับซูดานใต้หรืออยู่กับซูดานต่อไป
พื้นที่พิพาทหรือเกิดความขัดแย้ง
[แก้]- รัฐกูร์ดูฟันใต้ และ รัฐบลูไนล์ ซึ่งจะต้องมีการตัดสินอนาคตต่อไป
- สามเหลี่ยมฮาลาอิบ เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างซูดานกับอียิปต์ ขณะนี้อียิปต์เป็นผู้บริหารดินแดนนี้
- บริเวณอับเยอี เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างซูดานกับซูดานใต้ ปัจจุบันยังอยู่ในเขตของซูดาน
- บิร์ ตาวิลเป็นพื้นที่ว่างตามแนวชายแดนระหว่างอียิปต์กับซูดาน ไม่มีรัฐใดกล่าวอ้างว่าเป็นของตน
- กาเฟีย กิงงี และ สวนสาธารณะแห่งชาติราดอม เป็นส่วนหนึ่งของบัรห์เอลฆาซัล ใน พ.ศ. 2499[14] ซูดานยอมรับแนวเขตแดนของซูดานใต้ตามแนวชายแดนที่เคยกำหนดไว้เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2499[15]
- ในกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 กองทัพซูดานใต้เข้ายึดครอง บ่อน้ำมันเฮกลิก จากซูดาน
ภูมิศาสตร์
[แก้]ซูดานตั้งอยู่ในทวีฟแอฟริกาตอนเหนือ มีทางออกทะเลที่ทะเลแดง และมีความยาวของชายฝั่งประมาณ 853 กิโลเมตร[16] ซูดานมีพื้นที่ทั้งหมด 2,505,810 ตารางกิโลเมตร และเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นอันดับสิบของโลก ซูดานมีอาณาเขตติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศชาด ลิเบีย อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา ยูกันดา และมีความสำคัญทางภูมิศาสตร์เพราะมีจุดที่แม่น้ำบลูไนล์และไวท์ไนล์รวมกันเป็นแม่น้ำไนล์ซึ่งอยู่ในเขตคาร์ทูม
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ซึ่งถูกแบ่งออกจากกันด้วยเทือกเขาหลายแห่ง ได้แก่เทือกเขาเจเบล มาร์ราทางตะวันตก ภูเขาคินเยติ อิมาตองบริเวณใกล้ชายแดนยูกันดา ซึ่งเป็นภูขาที่สูงที่สุด และในเขตตะวันออกมีเนินเขาทะเลแดง[17]
ทางตอนเหนือมีทะเลทรายนิวเบีย ตั้งแต่อดีตในทางตอนใต้มีปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าจึงมีพื้นที่ที่มีบึงและป่าดิบชื้น ฤดูฝนของซูดานมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือน (กรกฎาคมถึงกันยายน) ในตอนเหนือ และนานถึง 6 เดือน (มิถุนายนถึงพฤศจิกายน) ในตอนใต้ ในเขตแห้งแล้งมักเกิดพายุทรายที่เรียกว่าฮาบูบซึ่งสามารถบดบังแสงอาทิตย์ได้โดยสิ้นเชิง ในตอนเหนือและตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย ผู้คนทำการเกษตรง่าย ๆ โดยพึ่งพาฝนที่ไม่ค่อยพอเพียง และมีชนเผ่าเร่ร่อนจำนวนมากที่เดินทางไปพร้อมกับฝูงแกะและอูฐ ในบริเวณใกล้แม่น้ำไนล์ มีการทำไร่ที่มีการชลประทานที่ดีกว่า ส่วนใหญ่ปลูกพืชที่ปลูกเพื่อการค้า[18]
ประเทศซูดานมีแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุหลายอย่าง เช่น ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ทอง เงิน โครไมท์ แร่ใยหิน แมงกานีส ยิปซัม ไมกา สังกะสี เหล็ก ตะกั่ว ยูเรเนียม ทองแดง เกาลิไนท์ โคบอลต์ หินแกรนิต นิกเกิล และดีบุก[19]
การแปรสภาพเป็นทะเลทรายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของซูดาน[20] เกษตรกรมักทำการเกษตรโดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเช่น การทำลายป่าไม้ ปัญหาดินจืด และปัญหาระดับน้ำบาดาลลดลง[21]
ประชากร
[แก้]จากการสำรวจของซูดานในปี พ.ศ. 2536 จำนวนประชากรถูกบันทึกไว้ที่ 25 ล้านคน แต่เนื่องจากสงครามกลางเมืองที่ดำเนินต่อเนื่อง หลังจากนั้นก็ไม่มีการสำรวจที่ทั่วถึงอีก ในปี พ.ศ. 2549 สหประชาชาติประมาณว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 36.9 ล้านคน[22] ประชากรในเขตเมืองคาร์ทูม (คาร์ทูม โอมเดอร์มาน และคาร์ทูมเหนือ) เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนประมาณ 5-7 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งประชากรประมาณ 2 ล้านคนที่ต้องย้ายถิ่นฐานจากเขตสงครามทางใต้และทางตะวันตก และพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันออก
แม้ว่าซูดานจะเป็นต้นกำเนิดของผู้อพยพมากมาย แต่กลับมีชาวต่างชาติไม่น้อยอพยพเข้ามาในซูดาน ตามรายงาน World Refugee Survey 2008 ของคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของสหรัฐอเมริกา (U.S. Committee for Refugees and Immigrants: USCRI) พบว่ามีผู้อพยพและลี้ภัยอาศัยอยู่ในซูดาน 310,500 คนในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอริเทรีย (240,400 คน) ชาด (45,000 คน) เอธิโอเปีย (19,300 คน) และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (2,500 คน)[23] มีการรายงานว่ารัฐบาลซูดานไม่ให้ความร่วมมือต่อข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในปี 2007 และยังส่งตัวผู้อพยพและผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 1,500 คนกลับประเทศในปีเดียวกัน[23]
ซูดานมีชนเผ่า 597 เผ่าซึ่งพูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า 400 สำเนียงภาษา[24] แต่มีสามารถแยกออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมหลัก 2 พวก คือชาวอาหรับเชื้อสายนิวเบีย และคนแอฟริกันผิวดำซึ่งไม่ใช่พวกอาหรับ ซึ่งสามารถแยกย่อยออกเป็นเผ่าและกลุ่มภาษาได้อีกนับร้อยกลุ่ม รัฐในเขตเหนือมีอาณาเขตครอบคลุมเกือบทั้งประเทศและรวมเอาเขตเมืองส่วนใหญ่ไว้ด้วย ชาวซูดานที่อาศัยอยู่ในเขตนี้เป็นชาวมุสลิมที่พูดภาษาอาหรับ เพราะได้รับการศึกษาเป็นภาษาอาหรับ แต่ส่วนใหญ่มักมีภาษาแม่เป็นภาษาที่ไม่ใช่อาหรับ (เช่นนิวเบีย เบจา เฟอร์ นูบัน ฯลฯ)
ดังเช่นชาวอียิปต์ ชาวปาเลสไตน์ และชาวอาหรับอื่น ๆ ชาวอาหรับในซูดานส่วนใหญ่เป็นอาหรับโดยวัฒนธรรมมากกว่าด้วยเชื้อสาย ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากพวกนิวเบีย ซึ่งอยู่ในกลุ่มเซมิติก และหน้าตาเหมือนกับชาวเอธิโอเปีย ชาวเอริเทรีย และชาวโซมาเลีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ People and Society CIA world factbook
- ↑ الجهاز المركزي للتعبئة العامة والإحصاء
- ↑ Sudanese Fulani in Sudan
- ↑ Magdy, Samy; Elhennawy, Noha (21 November 2021). "Sudan military leaders reinstate deposed prime minister". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 5 July 2022.
- ↑ Sudan Population 2021
- ↑ "Discontent over Sudan census". News24. Cape Town. Agence France-Presse. 21 May 2009. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
- ↑ "Sudan". International Monetary Fund.
- ↑ "Sudan". International Monetary Fund.
- ↑ "Sudan". International Monetary Fund.
- ↑ "Sudan". International Monetary Fund.
- ↑ "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Sudan". Online Etymology Dictionary.
- ↑ Page xii – Sudan administrative map (January, 1st, 1956) เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (PDF) . Retrieved on 28 November 2011.
- ↑ South Sudan ready to declare independence เก็บถาวร 2013-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Menasborders.com (1956-01-01). Retrieved on 28 November 2011.
- ↑ "ISS Sudan geography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
- ↑ "Country Studies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-22. สืบค้นเมื่อ 2008-12-12.
- ↑ Oxfam
- ↑ "Sudan embassy website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
- ↑ "Developing a Desertification National Action Plan in Sudan". United Nations Environment Programme. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
- ↑ "Dept of Forestry, University of Khartoum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
- ↑ "World Population Prospects: Sudan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
- ↑ 23.0 23.1 World Refugee Survey: Sudan
- ↑ Peter K. Bechtold, `More Turbulence in Sudan` in Sudan: State and Society in Crisis, ed. John Voll (Boulder, Westview, 1991) p.1
- ↑ Wick, Marc. "Sudan - Largest Cities". GeoNames. GeoNames. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ชื่อ "Const_Dec_En_unofficial" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
<ref>
ชื่อ "raisethevoices_4Aug2019_const_dec" ซึ่งนิยามใน <references>
ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าบรรณานุกรม
[แก้]- หนังสือ
- Adams, William Y. (1977). Nubia. Corridor to Africa. Princeton University. ISBN 978-0691093703.
- Berry, LaVerle B., ed. (2015). Sudan: A Country Study. Library of Congress (Washington, D.C.) ISBN 978-0-8444-0750-0.
- Beswick, Stephanie (2004). Sudan's Blood Memory. University of Rochester. ISBN 978-1580462310.
- Brown, Richard P. C. (1992). Public Debt and Private Wealth: Debt, Capital Flight and the IMF in Sudan. London: Macmillan Publishers. ISBN 978-0-333-57543-7.
- Churchill, Winston (1899; 2000). The River War: An Historical Account of the Reconquest of the Soudan. Carroll & Graf (New York City). ISBN 978-0-7867-0751-5.
- Churchill, Winston (1902). "The Rebellion of the Mahdi". The River War (New and Revised ed.).
- Clammer, Paul (2005). Sudan: The Bradt Travel Guide. Bradt Travel Guides (Chalfont St. Peter); Globe Pequot Press. (Guilford, Connecticut). ISBN 978-1-84162-114-2.
- Daly (1986). Empire on the Nile.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- Evans-Pritchard, Blake; Polese, Violetta (2008). Sudan: The City Trail Guide. City Trail Publishing. ISBN 978-0-9559274-0-9.
- Edwards, David (2004). The Nubian Past: An Archaeology of the Sudan. Routledge. ISBN 978-0415369879.
- El Mahdi, Mandour. (1965). A Short History of the Sudan. Oxford University Press. ISBN 0-19-913158-9.
- Fadlalla, Mohamed H. (2005). The Problem of Dar Fur, iUniverse (New York City). ISBN 978-0-595-36502-9.
- Fadlalla, Mohamed H. (2004). Short History of Sudan. iUniverse (New York City). ISBN 978-0-595-31425-6.
- Fadlalla, Mohamed H. (2007). UN Intervention in Dar Fur, iUniverse (New York City). ISBN 978-0-595-42979-0.
- Hasan, Yusuf Fadl (1967). The Arabs and the Sudan. From the seventh to the early sixteenth century. Edinburgh University. OCLC 33206034.
- Hesse, Gerhard (2002). Die Jallaba und die Nuba Nordkordofans. Händler, Soziale Distinktion und Sudanisierung (ภาษาเยอรมัน). Lit. ISBN 978-3825858902.
- Holt, P. M.; Daly, M. W. (2000). History of the Sudan: From the coming of Islam to the present Day. Pearson. ISBN 978-0582368866.
- Jok, Jok Madut (2007). Sudan: Race, Religion and Violence. Oneworld Publications (Oxford). ISBN 978-1-85168-366-6.
- Köndgen, Olaf (2017). The Codification of Islamic Criminal Law in the Sudan. Penal Codes and Supreme Court Case Law under Numayri and al-Bashir. Brill (Leiden, Boston). ISBN 9789004347434.
- Levtzion, Nehemia; Pouwels, Randall, บ.ก. (2000). The History of Islam in Africa. Ohio University Press. ISBN 9780821444610.
- Loimeier, Roman (2013). Muslim Societies in Africa: A Historical Anthropology. Indiana University. ISBN 9780253007889.
- Morewood (1940). The British Defence of Egypt 1935–40. Suffolk.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- Morewood (2005). The British of Egypt. Suffolk.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- Morewood.
{{cite book}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] - Mwakikagile, Godfrey (2001). Slavery in Mauritania and Sudan: The State Against Blacks, in The Modern African State: Quest for Transformation. Nova Science Publishers (Huntington, New York). ISBN 978-1-56072-936-5.
- O'Fahey, R.S.; Spaulding, Jay L. (1974). Kingdoms of the Sudan. Methuen Young Books. ISBN 978-0416774504.
- Peterson, Scott (2001). Me Against My Brother: At War in Somalia, Sudan and Rwanda—A Journalist Reports from the Battlefields of Africa. Routledge (London; New York City). ISBN 978-0-203-90290-5.
- Prunier, Gérard (2005). Darfur: The Ambiguous Genocide. Cornell University Press (Ithaca, New York). ISBN 978-0-8014-4450-0.
- Ruffini, Giovanni R. (2012). Medieval Nubia. A Social and Economic History. Oxford University.
- Shackelford, Elizabeth (2020). The Dissent Channel: American Diplomacy in a Dishonest Age. Public Affairs. ISBN 978-1-5417-2448-8.
- Shinnie, P.L. (1978). "Christian Nubia.". ใน J.D. Fage (บ.ก.). The Cambridge History of Africa. Volume 2. Cambridge: Cambridge University. pp. 556–588. ISBN 978-0-521-21592-3.
- Spaulding, Jay (1985). The Heroic Age in Sennar. Red Sea. ISBN 978-1569022603.
- Suliman, Osman (2010). The Darfur Conflict: Geography or Institutions?. Taylor & Francis. ISBN 978-0-203-83616-3.
- Vantini, Giovanni (1975). Oriental Sources concerning Nubia. Heidelberger Akademie der Wissenschaften. OCLC 174917032.
- Welsby, Derek (2002). The Medieval Kingdoms of Nubia. Pagans, Christians and Muslims Along the Middle Nile. London: British Museum. ISBN 978-0714119472.
- Werner, Roland (2013). Das Christentum in Nubien. Geschichte und Gestalt einer afrikanischen Kirche (ภาษาเยอรมัน). Lit. ISBN 978-3-643-12196-7.
- Zilfū, ʻIṣmat Ḥasan (translation: Clark, Peter) (1980). Karari: The Sudanese Account of the Battle of Omdurman. Frederick Warne & Co (London). ISBN 978-0-7232-2677-2.
- บทความ
- "Sudan." Background Notes, U.S. Department of State, 2009. online
- "Quo Vadis bilad as-Sudan? The Contemporary Framework for a National Interim Constitution". Law in Africa (Cologne; 2005). Vol. 8, pp. 63–82. ISSN 1435-0963.
- Lajtar, Adam (2011). "Qasr Ibrim's last land sale, AD 1463 (EA 90225)". Nubian Voices. Studies in Christian Nubian Culture.
- Martens-Czarnecka, Malgorzata (2015). "The Christian Nubia and the Arabs". Studia Ceranea. 5: 249–265. doi:10.18778/2084-140X.05.08. ISSN 2084-140X.
- McGregor, Andrew (2011). "Palaces in the Mountains: An Introduction to the Archaeological Heritage of the Sultanate of Darfur". Sudan&Nubia. 15: 129–141.
- Peacock, A.C.S. (2012). "The Ottomans and the Funj sultanate in the sixteenth and seventeenth centuries". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 75 (1): 87–11. doi:10.1017/S0041977X11000838. ISSN 0041-977X.
- Sharkey, Heather J. (2007). "Arab Identity and Ideology in Sudan: The Politics of Language, Ethnicity and Race" (PDF). African Affairs. 107 (426): 21–43. doi:10.1093/afraf/adm068. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- Spaulding, Jay (1974). "The Fate of Alodia" (PDF). Meroitic Newsletter. 15: 12–30. ISSN 1266-1635.
- Vantini, Giovanni (2006). "Some new light on the end of Soba". ใน Alessandro Roccati and Isabella Caneva (บ.ก.). Acta Nubica. Proceedings of the X International Conference of Nubian Studies Rome 9–14 September 2002. Libreria Dello Stato. pp. 487–491. ISBN 978-88-240-1314-7.
- เว็บลิงก์
- O'Fahey, R. S.; Tubiana, Jérôme (2007). "Darfur. Historical and Contemporary Aspects" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-28. สืบค้นเมื่อ 23 August 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Government of Sudan website
- Archaeological sites in Sudan
- ประเทศซูดาน แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศซูดาน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Sudan
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศซูดาน ที่โอเพินสตรีตแมป
- Sudan. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Sudan profile from BBC News
- CIMIC activities in the African Union Mission in Sudan
- The conflict in South Sudan – The Economist
- UNAMID | UNITED NATIONS – AFRICAN UNION HYBRID OPERATION IN DARFUR