ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงแรงงาน
Ministry of Labour
เครื่องหมายราชการ
ตราพระเทพบดี
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง23 กันยายน พ.ศ. 2536; 31 ปีก่อน (2536-09-23)
กระทรวงก่อนหน้า
  • กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ประเภทกระทรวง
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
บุคลากร11,246 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี68,048,432,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์, ปลัดกระทรวง
  • บุปผา เรืองสุด, รองปลัดกระทรวง
  • สมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์, รองปลัดกระทรวง
  • ว่าง, รองปลัดกระทรวง
ต้นสังกัดกระทรวงรัฐบาลไทย
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

กระทรวงแรงงาน (อังกฤษ: Ministry of Labour) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย เดิมคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครอง แรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน

ประวัติ

[แก้]

การดำเนินนโยบายด้านแรงงานของประเทศไทย เริ่มต้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับในระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประชาชนจึงเกิดภาวะการว่างงานจำนวนมาก หน่วยงานของรัฐบาลที่ปฏิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก โดยคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายประการหนึ่งระบุว่า "จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ" จึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475[3] ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475[4] ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจด้านแรงงานของรัฐบาลไทย

ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยการโอนภารกิจบางส่วนจากกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย[5] มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อกระทรวงอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กระทรวงแรงงาน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เป็นปลัดกระทรวงแรงงาน

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานในสังกัด ได้แก่

ส่วนราชการ

[แก้]

องค์การมหาชน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กระทรวงแรงงาน, รายงานประจำปี 2565 กระทรวงแรงงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. พระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักงานจัดหางาน พุทธศักราช ๒๔๗๕
  4. พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พุทธศักราช ๒๔๗๕
  5. พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๓๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๘ เล่ม 132 ตอนที่ 43 ก หน้า 17 วันที่ 21 พฤษภาคม 2558

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]