โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม Phayaopittayakom School | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.ค. ( P.P.K.) |
ประเภท | - โรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ - โรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | คารโว วินเย เอตมฺมฺงคลมุตตมํ (การเคารพในระเบียบวินัย เป็นมงคลอันสูงสุด) |
สถาปนา | พ.ศ. 2479 |
ผู้ก่อตั้ง | นายอุ่นเรือน ฟองศรี ศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยาในขณะนั้น |
เขตการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 56012001 |
ผู้อำนวยการ | ว่าที่ร้อยตรี ญาณบดินทร์ อินเตชะ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา |
สี | ฟ้า และ บานเย็น |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนพะเยาพิทยาคม |
เว็บไซต์ | ppk.ac.th |
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดพะเยาเดิมมีชื่อว่า โรงเรียนพะเยา พะเยาพิทยาคม" ปักหน้าอกเป็น ช.ร.๓ เพราะเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งที่ ๓ ของจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2514 ได้รวมกับโรงเรียนสตรีพะเยา และเปลี่ยนเป็น โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษารูปแบบสหศึกษา เป็นสถานมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นส่วนราชการในบังคับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ[1]
ประวัติโรงเรียน
[แก้]เมื่อ พ.ศ 2479 นายอุ่นเรือน ฟองศรี ศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยา ไดัริเริ่มให้มีการสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งแรกขึ้นเป็นโรงเรียนแรกในเขตเมืองพะเยา โดยอาศัยร่วมเรียนกับโรงเรียนประชาบาล พะเยาประชานุกูล มีนักเรียนเริ่มเรียนครั้งแรก 30 คน โดยมีนายเชื้อ นนทวาสี เป็นครูประจำชั้นและ รักษาการแทนตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ 2480 จังหวัดได้ส่งนายสมัคร สิทธิเลิศ มาเป็นครูใหญ่ ประจำปีที่ 2 และในปี 2481 จังหวัดได้ส่งนายมนู ยอดปัญญา มาดำรงตำแหน่งครูประจำปีที่ 3 และ เป็นครูใหญ่ด้วย
ในปี 2482 โรงเรียนได้งบ 5000 บาท จึงสร้างอาคารเรียนแยกจากพะเยาประชานุกูล มาตั้งที่ ณ ป่าไร่สวนของเอกชนประตูชัย และได้ย้ายมาเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นอาคารหลังเดียวตลอดมา จากนั้นปี 2488 ได้สร้างอาคารหลังที่สองขึ้น ด้วยเงินบริจาคแต่เกิดสงครามก่อนในปี 2484 จึงหยุดแล้วเริ่มสร้างใหม่ในปี 2488 เรื่อยๆจนเสร็จในปี 2494 โรงเรียนได้เงินจากกระทรวงศึกษาธิการ สร้างบ้านพักครูหนึ่งหลังและกันฝาชั้นล่างอาคารทั้งสองหลัง และได้เปิดสอนไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ในปี 2495-2497 ได้สร้างโรงอาหาร ถังเก็บน้ำโรงรถ โต๊ะอาหารจำนวน 100 ชุดและที่ขายอาหาร โดยได้เงินสนับสนุนจากผู้ปกครอง ศิษย์เก่า พ่อค้า ประชาชน
พ.ศ. 2501 ได้รับเงินบริจาคจากผู้ปกครองสร้างห้องสมุดหนึ่งหลัง
พ.ศ. 2502 ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร044หนึ่งหลัง
พ.ศ. 2513-2514 ได้ประกาศรวมกับโรงเรียนสตรีพะเยากับโรงเรียนพะเยาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพะเยาพิทยาคม" ซึ่งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ216หนึ่งหลังและสร้างโรงอาหารหนึ่งหลัง
พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานสองหลัง
พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานเกษตรหนึ่งหลัง
พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ216หนึ่งหลัง
พ.ศ. 2521 ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอยู่ใน���ครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมส่วนภูมิภาค (ค.ม.ภ)รุ่นที่สอง และได้รับความตามหลักสูตรของ (ค.ม.ส) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2521ดังนี้ - โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ332 (ตามโครงการ ค.ม.ภ) - โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน3หลัง พ.ศ. 2532 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ424หนึ่งหลัง
พ.ศ. 2539 โรงเรียนกำลังได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์หนึ่งหลัง และโรงฝึกพลศึกษาหนึ่งหลัง
รายนามผู้บริหารโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
[แก้]ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายเชื้อ นนทวาสี | พ.ศ. 2479-2479 ( 1 ปี ) |
2 | นายสมัคร สิทธิเลิศ | พ.ศ. 2479-2481 ( 3 ปี ) |
3 | นายมนู ยอดปัญญา | พ.ศ. 2481-2501 ( 20 ปี ) |
4 | นายสวัสดิ์ อดุลยพงษ์ | พ.ศ. 2501-2513 ( 12 ปี ) |
5 | นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ | พ.ศ. 2513-2518 ( 5 ปี ) |
6 | นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ | พ.ศ. 2518-2520 ( 2 ปี ) |
7 | นายอรุณ อาษา (ผู้อำนวยการคนแรก) | พ.ศ. 2520-2531 ( 10 ปี ),
พ.ศ. 2536-2537 ( 2 ปี ) |
8 | นายสาหร่าย แสงทอง | พ.ศ. 2531-2534 ( 4 ปี ) |
9 | นายวรรณ จันทร์เพชร | พ.ศ. 2534-2536 ( 1 ปี) |
10 | นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ | พ.ศ. 2537-2543 ( 6 ปี ) |
11 | นาย มานิตย์ ศรีพิทักษ์ | พ.ศ. 2543-2544 ( 1 ปี ) |
12 | นายสุรัตน์ เจียตระกูล | พ.ศ. 2544-2553 ( 10 ปี ) |
13 | นายศรีวรรณ ปินใจ | พ.ศ. 2553-2557 ( 4 ปี) |
14 | นายประสงค์ พรหมสิทธิ์ | พ.ศ. 2557-2560 ( 3 ปี ) |
15 | นายพิเชษฐ์ สมฤทธิ์ | พ.ศ. 2561-2563 ( 2 ปี ) |
16 | นายมานะ พิริยพัฒนา | พ.ศ. 2564-2565 ( 1 ปี ) |
17 | นายวิจิตร วงศ์ชัย | พ.ศ. 2565-2566 ( 1 ปี ) |
18 | นายปิยะ ใจชุ่ม | พ.ศ. 2566-2567 ( 1 ปี ) |
19 | ว่าที่ร้อยตรี ญาณบดินทร์ อินเตชะ | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
รายชื่ออาคารและสถานที่ในโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
[แก้]- อาคาร 1 เป็นอาคารไม้สูง 2 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2482
ใต้ถุนอาคาร เป็นห้องพัสดุ ,ห้องนักศึกษาวิชาทหาร(รด.) ,ห้องกิจกรรมนักเรียน และห้องสภานักเรียน
ชั้น 1 เป็นห้องโสตทัศนศึกษา ,ห้องผู้อำนวยการ ,ห้องการเงิน ,ห้องวิชาการ ,ห้องปกครอง ห้องพักครูแนะแนว
ชั้น 2 เป็นห้องเรียนวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(แนะแนว)
- อาคาร 2 เป็นอาคารไม้สูง 3 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2488 (เสร็จในปี พ.ศ. 2494)
ชั้น 1 เป็นธนาคารโรงเรียน(สนับสนุนโดยธนาคารออมสิน) ,ห้องเก็บอุปกรณ์ ,ห้องคหกรรม และห้องเรียนปกติ
ชั้น 2 เป็นห้องพักครูวิทยาศาสตร์ ,ห้องเรียนคณิตศาสตร์ และห้องโครงงาน(218)
ชั้น 3 เป็นห้องเรียนคณิตศาสตร์
- อาคาร 3 เป็นอาคารปูน 3 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2502
ชั้น 1 เป็นห้องพักครูวิทยาศาสตร์(312) ,ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น 2 ห้อง(311 และ 313) ,ห้องพักครูหมวดคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์(COM1-COM4)
ชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์(321 และ 323) ,ห้องพักครูฟิสิกส์(322) ,ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ,ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์(COM5) และห้องเรียนสีเขียว(329)
ชั้น 3 เป็นห้องพักครูเคมีและชีววิทยา(339) และห้องปฏิบัติการเคมีและชีววิทยา
- อาคาร 4 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น
ชั้น 1 เป็นห้อง Sound Lab 2 ห้อง(411 และ 416) และห้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษ(412-415)
ชั้น 2 เป็นห้อง Sear(421) ,ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ(424 และ 425) และห้องภาษาฝรั่งเศส(426)
ชั้น 3 เป็นห้องภาษารัสเซีย(431) ,ห้องภาษาจีน(436) และห้องเรียนปกติ
ชั้น 4 เป็นห้องภาษาญี่ปุ่น(446) และห้องเรียนปกติ
- อาคาร 5 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น(รวมใต้ถุน)
ใต้ถุนอาคาร เป็นลานโล่ง มีห้องพักครูสังคมศึกษา และห้องอาเซียนศึกษา
ชั้น 1 เป็นห้องเรียนวิชาภาษาไทย และห้องIT 1 (518)
ชั้น 2 เป็นห้องพักครูภาษาไทย ,ห้องสมุดภาษาไทย ,ห้องเรียนภาษาไทย และห้องIT 2 (528)
ชั้น 3 เป็นห้องเรียนสังคมศึกษา และห้องปฏิบัติการสังคม
- อาคารอเนกประสงค์ เป็นอา��ารสูง 3 ชั้น
ชั้น 1 เป็นโรงอาหาร ,ร้านค้าสหการโรงเรียน และห้องโภชนาการ
ชั้น 2 เป็นห้องศิลปะ ,ห้องพักครูศิลปะ ,ห้องนาฏศิลป์ และห้องพักครูนาฏศิลป์
ชั้น 3 เป็นหอประชุม 80 ปีโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ,ห้องคหกรรม และห้องพิมพ์ดีด
- อาคารหอสมุด
เป็นอาคารหอสมุดเฉลิมพระเกียรติของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นแหล่งศูนย์กลางการเรียนรู้ ภายในอาคารมีห้อง E-Library และได้ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เทคโนโลยี RFID แบบครบวงจร ประกอบไปด้วยเครื่องยืมคืนอัตโนมัติแบบตั้งโต๊ะ (Desktop Self-check), ประตูป้องกันทรัพยากรสูญหาย (UHF Security Gate) และ เครื่องยืมคืน RFID และลงรหัสข้อมูล สำหรับบรรณารักษ์ ซึ่งถือเป็นการนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และบริการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (RFID) แบบครบวงจร ซึ่งถือเป็นการยกระดับห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยอันดับต้นๆ ของภาคเหนือตอนบนเลยก็ว่าได้
- อาคาร 6 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น(รวมใต้ถุน) ตั้งอยู่ที่โรงรถเดิม ติดกับประตู 4 ด้านหลังอาคารอเนกประสงค์ ใกล้กับหมู่บ้านพักครู มีลักษณะเป็นรูปตัว L เป็นอาคารกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
ชั้นใต้ถุน ประกอบไปด้วยห้องทดลองวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง
ชั้น 1 เป็นห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 ห้อง และมีห้องน้ำอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของชั้น
ชั้น 2 เป็นห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 ห้อง ,ห้องพักครูคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง(627 และ 628) และห้องเก็บของ จำนวน 2 ห้อง
ชั้น 3 เป็นห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 ห้อง ,ห้องพักครูคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง และห้องเก็บของ จำนวน 1 ห้อง
- อาคาร 7 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น(รวมใต้ถุน) ตั้งอยู่หน้าอาคาร 6 และอยู่ข้างอาคารศูนย์กีฬา เป็นอาคารรูปตัว L สีฟ้าบานเย็น มีลิฟต์ 1 ตัว
ใต้ถุนอาคาร เป็นลานโล่ง มีห้องเรียนวิชาเย็บปักถักร้อย และห้องเรียนวิชาช่าง
ชั้น 1 เป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น(7101-7103) ,ห้องเรียนดาราศาสตร์(7104-7105) ,ห้องพักครูดาราศาสตร์ และห้องเรียนปกติ
ชั้น 2 เป็นห้องพักครูสังคมศึกษา ,ห้องพักครูภาษาไทย และห้องเรียนปกติ
ชั้น 3 เป็นห้องเรียนปกติ
- อาคารศูนย์กีฬา
เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณข้างประตู 3 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้จัดแข่งและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม
ชั้นใต้ถุน เป็นลานกว้าง
ชั้น 1 เป็นชั้นจัดแสดงถ้วยรางวัลการแข่งขันประเภทต่างๆ
ชั้น 2 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้น 3 เป็นลานบาสเกตบอล และมีบริเวณอัฒจันทร์ล้อมรอบไว้
- สนามกีฬาโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เป็นสนามที่ประกอบด้วยลู่วิ่งมาตรฐานและสนามฟุตบอล เพื่อให้บุคลากรภายในและบุคคลภายนอกใช้เพื่อการออกกำลังกาย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เคยเสด็จทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสนามกีฬาเพื่อมวลชน ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
- หอประชุม 70 ปี โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ที่ประกอบไปด้วยเวทีขนาดย่อม และลานกว้างภายในตัวหอประชุม
- หอเกียรติยศ
เป็นหอ 2 ชั้น ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ และเกียรติยศของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมไว้ภายในหอแห่งนี้
- ลาน 70 ปี โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เป็นลานที่ใช้ทำกิจกรรมขนาดเล็ก และมีที่นั่งจำนวนหนึ่งไว้ใช้พักผ่อนหย่อนใจ
- โรงฝึกงาน 1
มีทั้งหมดจำนวน 2 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาหัตถกรรม(ทำอาหาร) ส่วนห้องที่สองเป็นสถานที่ฝึกซ้อมของชมรมประสานเสียง
- โรงฝึกงาน 2
มีทั้งหมดจำนวน 2 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องชมรมหุ่นยนต์ ส่วนห้องที่สองเป็นห้องเก็บของ
- ศาลาโลกะวิทู
เป็นศาลาที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจและกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยมีองค์พระโลกะวิทูอยู่บริเวณภายในศาลา
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.อาภา จันทร์เทวี
- มนตรี ยอดปัญญา - ประธานศาลฎีกา
- มัลลิกา บุญมีตระกูล อดีตผู้ประกาศข่าว - สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- เวนไตย ไชยวงศ์ ผู้ประกาศข่าว - สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ
- บานนา คำฟู - เจ้าของเหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13
- เสถียร เชื้อประเสริฐศักดิ์ - อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดพะเยา
- ถวัลย์ ดัชนี - ศิลปินแห่งชาติ
- จินตนัดดา อัตถวิบูลย์ - นางแบบ/นักแสดง
- ธนพร ศรีวิราช - นางสาวไทย พ.ศ. 2559
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. (2546, 6 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก. หน้า 13" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05.