ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนนางรอง

พิกัด: 14°37′42″N 102°47′27″E / 14.628321°N 102.790949°E / 14.628321; 102.790949
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนางรอง
Nangrong School
แผนที่
19 ถนนณรงค์รักษาเขต ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110

,
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ร. / NR
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
(บัณฑิตย่อมฝึกตน)
ศาสนาศาสนาพุทธ
ก่อตั้ง17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1031260863
ผู้อำนวยการนายอุดม นามสวัสดิ์
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
รองผู้อำนวยการนายอุดม นามสวัสดิ์
นางมนัญชยา แกกูล
นางสาวปาริชาติ สุดตาชาติ
จำนวนนักเรียน3,395 คน (พ.ศ. 2567)
ชั้นเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาเขมร
ห้องเรียนชั้นละ 15 ห้อง รวม 90 ห้อง
สี   เหลือง-แดง
เพลงมาร์ชนางรอง[1]
เบอร์โทรศัพท์044-631383
แฟกซ์044-632298
ต้นไม้อินทนิล
ดอกไม้การเวก (พืช)
เว็บไซต์www.nangrong.ac.th

โรงเรียนนางรอง เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประเภทโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (บุรีรัมย์) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอนางรอง ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบันมี นายอุดม นามสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ และในปัจจุบันอำเภอนางรองมี โรงเรียนนางรองพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเพิ่มขึ้นอีกแห่ง โรงเรียนนางรองจึงมีสถานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอคู่กับโรงเรียนนางรองพิทยาคม คนในพื้นที่จึงนิยมเรียกชื่อโรงเรียนนางรองว่า "นางรองใน" ส่วนโรงเรียนนางรองพิทยาคมเรียกว่า "นางรองนอก" ตามสภาพพื้นที่ที่ตั้งของโรงเรียนทั้งสองแห่งโดยยึดหลักตาม พื้นที่ เทศบาลเมืองนางรอง เป็นเกณฑ์

ประวัติ

[แก้]

พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอดีต ที่ตั้งโรงเรียนนางรองในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษา (ป.4-ป.5 เก่า) มีอาคารเก่า 1 หลัง ซึ่งได้ยุบโรงเรียนไปนานแล้ว ที่ดินแบ่งออกเป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 เป็นที่ดินของราชพัสดุ อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินของประถมศึกษา ที่ดินทั้ง 2 แปลง มีเนื้อที่ติดต่อกันเมื่อทางราชการอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนรัฐบาล จึงได้ปลูกสร้างตัวอาคารเรียนในที่ดินดังกล่าวด้วยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างจริง 147,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) เป็นอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว ตามแบบแปลนของโรงเรียนประจำอำเภอรุ่นแรก สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2492

โรงเรียนนางรอง ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 จัดตั้งขึ้นโดยการอนุมัติของทางราชการตามหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 18071/2491 ลงวันที่ 1 กันยายน 2491 เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทสามัญ มี ชื่อเรียกเมื่อตั้งโรงเรียนว่า “โรงเรียนประจำอำเภอนางรอง” ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2492 ได้เรียกชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนนางรอง” ตามหนังสือคณะกรรมการอำเภอนางรอง ที่ 3186/2492 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2492 เรื่องการขนานนามโรงเรียน

เหตุผลที่จัดตั้ง

[แก้]

โรงเรียนนางรองเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของอำเภอนางรอง จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองความต้องการของชุมชน เนื่องจากอำเภอนางรองเป็นอำเภอขนาดใหญ่ ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี สถานที่เรียนเดิมรับนักเรียนได้จำกัดและไปศึกษาที่อื่นไม่สะดวก ซึ่งทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ก็มีเพียงโรงเรียนเดียวคือ โรงเรียนประจำจังหวัด "โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม" จึงเสนอเรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ และได้รับการอนุมัติตามหนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ 118017/2491 ลงวันที่ 1 กันยายน 2491 จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนางรองขึ้นเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอนางรองเป็นครั้งแรก โดยถือว่าเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งที่ 2 ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจัดตั้งบริเวณป่าโจดข้างวัดป่าเรไร

พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอดีต

[แก้]

ที่ตั้งโรงเรียนนางรองในปัจจุบัน เดิมเคยเป็นโรงเรียนชั้นประถมศึกษา (ป.4-ป.5 เก่า) มีอาคารเก่า 1 หลัง ซึ่งได้ยุบโรงเรียนไปนานแล้ว ที่ดินแบ่งออกเป็น 2 แปลง แปลงที่ 1 เป็นที่ดินของราชพัสดุ อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินของประถมศึกษา ที่ดินทั้ง 2 แปลง มีเนื้อที่ติดต่อกันเมื่อทางราชการอนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนรัฐบาล จึงได้ปลูกสร้างตัวอาคารเรียนในที่ดินดังกล่าวด้วยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างจริง 147,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) เป็นอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว ตามแบบแปลนของโรงเรียนประจำอำเภอรุ่นแรก สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2492 โรงเรียนนางรอง ได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ในระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 35 คน เป็นนักเรียนชาย 27 คน นักเรียนหญิง 8 คน มีครู 1 คน คือ นายสุรพล กมลชัย ซึ่งนับเป็นครูคนแรกของโรงเรียน แต่เนื่องจากอาคารเรียนอยู่ระหว่างปลูกสร้าง จึงใช้ศาลาการเปรียญวัดป่าเรไรเป็นที่เรียนชั่วคราว ประมาณ 15 วัน เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จ จึงย้ายจากอาคารเรียนชั่วคราววัดป่าไรไร มาเรียนอาคารถาวร พร้อมกับให้นักเรียนโรงเรียนราษฎ์อำนวย��ิทย์ประชาการ (ซึ่งใช้ศาลาโรงธรรมวัดกลางนางรองเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว) มาเรียนที่อาคารถาวรด้วยกันทั้งหมดเพื่อขอแรงครูช่วยสอนบางวิชาและขอแรงนักเรียนช่วยงานโยธา และสร้างความสามัคคี โรงเรียนนางรองพัฒนาการเรียนการสอนตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เมื่อล่วงเวลามาถึงประมาณปี พ.ศ. 2500 โรงเรียนอำนวยวิทย์จึงได้ยุบเลิกร่วมเป็นโรงเรียนนางรองเพียงแห่งเดียว และได้พัฒนาด้านอาคารสถานที่เพิ่มมากขึ้น ภายใต้การนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการถึง 14 ท่าน ตลอดระยะเวลาเปิดทำการเรียนการสอนได้มีการขยายชั้นเรียนตามลำดับจนถึงปัจจุบันมีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ระดับชั้นละ 15 ห้อง รวม 90 ห้อง ปัจจุบันมี นายมานัส เวียงวิเศษ เป็นผู้อำนวยการ ปีการศึกษา 2562-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) อีกทั้งได้เปิดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษเพิ่มเติม โรงเรียนนางรองเปิดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา โดยเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รวมเวลาจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน 73 ปี โรงเรียนนางรองได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งได้รับยกฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ นับเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกประจำอำเภอนางรอง และเป็นโรงเรียนแนวหน้าแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ครบรอบ 73 ปีการสถาปนาโรงเรียนในปี พ.ศ. 2565

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]
ลำดับที่ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง ช่วงเวลา
1 นายสเริง วัฒนสุข ครูใหญ่ พ.ศ. 2493-2500
2 นายเสถียร โพธิ์พิพัฒน์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2500-2503
3 นายสุภณ กมลชัย อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2503-2520
4 นายกิตติ ศรีเพชรพงษ์ อำนวยการ พ.ศ. 2520-2523
5 นายพีรพันธุ์ ฉกรรจ์ศิลป์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2523-2530
6 นายไสว คงนันทะ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2530-2533
7 นายบุญช่วย บุญญะภานุพล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2533-2536
8 นายประกิจ แมนประโคน ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2536-2543
9 นายดำรง กรเกศกมล ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2543-2551
10 นายวิชัย อำไธสง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2551-2553
11 นายปัณณทัต วิวัตรชัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2554-2558
12 นายสมศักดิ์ แต้มโคกสูง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2558-2560
13 นายสรายุทธ เสลารักษ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2560-2562
14 นายมานัส เวียงวิเศษ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562 - 2567
15 ผู้อำนวยการ 2567-ปัจจุบัน

สัญลักษณ์

[แก้]
ตราสัญลักษณ์

ตราประจำโรงเรียนนางรอง เป็นตราชฎาเปล่งรัศมี ครอบสัญลักณ์ "อุณาโลม"(เวียนขวา) ตามดติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่บนอักษรย่อ "นร" ในธงปลายพริ้วมีคติธรรมว่า "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" ซึ่งแปลว่า "บัณฑิตย่อมฝึกตน"

สีธงประจำโรงเรียน

ธงประจำโรงเรียนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นสีเหลือง ครื่งล่างเป็นสีแดง

  • ความหมายของสีประจำโรงเรียน
    •   สีเหลือง หมายถึง มีคุณธรรมและรักความสงบ
    •   สีแดง หมายถึง ความรักบ้านเกิดเมืองนอน
ต้นไม้และดอกไม้ประจำโรงเรียน

ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ อินทนิล ดอกไม้ประจำโรงเรียนคือ การเวก (พืช)

ปรัชญา

"ผู้มีความสุข ย่อมสร้างผลงานที่ดีงาม" (เก่า) "ปัญญาทำให้เกิดนักปราชญ์ ความฉลาดเป็นผลจากการศึกษา" (ใหม่)

คติธรรม

"อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกตน)

คำขวัญ

"ประพฤติดี เรียนเด่น กีฬาดัง สร้างงานได้"

อัตลักษณ์

"มีคุณธรรม นำความรู้ สู่สากล"

เอกลักษณ์

สืบสานศิลปะ และวัฒนธรรม

สถานที่ภายใน

[แก้]
  • โดมอเนกประสงค์ จัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีเคารพธงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพิธีอื่น ๆ รวมทั้งใช้ฝึกกีฬาของนักเรียน
  • อาคาร 1 หรือ อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และชั้นล่างจัดเป็นห้องทำงาน สำนักงานต่าง ๆ
  • อาคาร 2 เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่ง จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะนาฏศิลป์และดนตรีไทย ยังมีห้องปฏิบัติการ
  • อาคาร 3 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • อาคาร 4 เป็นอาคาร 3 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและห้องศูนย์สื่อการศึกษา
  • อาคาร 5 เป็นอาคาร 7 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการทางเคมี ชั้นล่างมีสหกรณ์ร้านค้าและห้องประชุมคณาจารย์กับห้องประชุมสมาคมผู้ปกครอง​นักเรียน​ ยังมีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์​ (ม.ต้น)​

และห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ

  • อาคาร 6 เป็นอาคาร 4 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ,​ ภาษาญี่ปุ่น​, ภาษาเขมร​, ภาษาจีน​)​ และห้องดนตรีสากลห้องโยธวาทิต และชั้น​ 1 เป็นห้องเกียรติยศจัดแสดงรางวัลผลงานวิชาการและทักษะ และเป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์​ คณิตศาสตร์​ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ ยังมีห้อง IEP​ ชั้น​ 2
  • อาคาร 7 เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การเกษตร
  • อาคาร 8 หรือ อาคารอุตสาหกรรม เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
  • อาคาร 9 หรือ อาคารชั่วคราว เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • อาคารคหกรรมอาหาร เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
  • ศูนย์อาหาร มีร้าน 24​ ร้าน​ อยู่ข้างโดมทางทิศตะวันออก และข้างหอประชุมการเวกทางทิศเหนือ
  • หอประชุมการเวก อยู่ทิศเหนือของสนามฟุตบอล หรือทางทิศตะวันตกของสวนลานเสาธงใหญ่
  • หอสมุด หรือ ศูนย์วิทยบริการ อยู่ทางทิศตะวันตกของอาคาร 2
  • เรือนแนะแนว หรือ อาคารศิษย์เก่านางรอง-อำนวยวิทย์ อยู่ข้างอาคาร 3 ทางทิศตะวันออก
  • เรือนพยาบาล หรือ อาคารศิษย์เก่านางรอง-อำนวยวิทย์ อยู่หลังอาคารสภานักเรียน
  • อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ หรือ ศูนย์ไทยบริดจสโตน อยู่หลังอาคาร 2
  • ธนาคารออมสินสาขาโรงเรียนนางรอง อยู่หลังอาคาร 2
  • อาคารสภานักเรียน อยู่ข้างธนาคาร
  • สวนเสาธงใหญ่ ตั้งอยู่หน้าอาคาร 1 เป็นสวนพิธีการใช้ประกอบพิธีการหน้าเสาธงในอดีตและพิธีการในวันปิยมหาราช วันลูกเสือ เป็นต้น โดยมีลักษณะการจัดองค์ประกอบซ้ายขวาสมมาตรกัน ประกอบด้วยเสาธงชาติขนาดใหญ่อยู่บนแท่นหินอ่อนตรงกลางสวน ด้านหลังมีเสาธงชาติประเทศอาเซียน​ ด้านหน้าเสาธงประกอบด้วยซุ้มพระพุทธรูป และโพเดียมหินอ่อนประดับตราสัญลักษณ์โรงเรียน ซ้ายขวาของเสาธงชาติ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 และมีสระบัวพร้อมประติมากรรมนารายณ์บรรทมสินณ์ อยู่ด้านหลังของพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้งสอง อีกทั้งทั่วบริเวณจัดเป็นสวนย่อมสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา
  • ลานสัตบรรณ เป็นลานกิจกรรมและพักผ่อน อยู่ระหว่างอาคาร 2 และอาคาร 3
  • ลานปาล์ม เป็นลานกิจกรรมและพักผ่อน อยู่ข้างอาคาร 2 ทางทิศตะวันออก
  • เรือนการเวก เรือน 1 และ 2 อยู่หน้าอาคาร 1 เรือน 3 อยู่หลังอาคาร 1 และเรือน 4 อยู่หลังอาคาร 3
  • เรือนเพาะชำและแปลงเกษตร อยู่หลังอาคาร7
  • เรือนเกษตรและแปลงเกษตร อยู่ข้างอาคาร7
  • สวนวรรณคดี ประดิษฐานอนุสาวรีย์สุนทรภู่ รวมทั้งจัดแสดงรูปปั้นนางยักษ์ผีเสือสมุทร พระอภัยมณี และนางเงือก ตั้งอยู่ในสระน้ำจำลองแทนมหาสมุทร อยู่หน้าอาคาร 2
  • สวนวิทยาศาสตร์ ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปปั้นนักวิทยาศาสตร์อันดับโลก เช่น "เซอร์ไอแซกนิวตัน" "หลุยส์ปาสเตอร์" "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" เป็นต้น อยู่หน้าอาคาร 5
  • สนามกีฬา ประกอบด้วย สนามฟุตบอลร่วมลู่วิ่ง, สนามเปตอง, สนามวอลเลย์บอลรวมเซปักตะกร้อกลางแจ้ง 1 และ 2, สนามบาสเกตบอลกลางแจ้ง, สนามบาสเกตบอลในร่ม 1 และ​ 2 (โดมอเนกประสงค์)
  • โรงยิม ใช้เป็นสนามเทเบิลเทนนิส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหอประชุมร่มการเวก
  • โดมอ​เนกประสงค์​ใหม่ ใช้เป็นสนาม​บาสเกตบอล​ ตั้งอยู่หน้าอาคาร 5

แผนการเรียน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°37′42″N 102°47′27″E / 14.628321°N 102.790949°E / 14.628321; 102.790949