ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศมอลโดวา

พิกัด: 47°N 29°E / 47°N 29°E / 47; 29
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Moldova)

47°N 29°E / 47°N 29°E / 47; 29

สาธารณรัฐมอลโดวา

Republica Moldova (โรมาเนีย)
ที่ตั้งของประเทศมอลโดวา (เขียว) ในทวีปยุโรป
ที���ตั้งของประเทศมอลโดวา (เขียว) ในทวีปยุโรป
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คีชีเนา
47°0′N 28°55′E / 47.000°N 28.917°E / 47.000; 28.917
ภาษาราชการโรมาเนีย
ภาษาชนกลุ่มน้อย
ที่ได้รับการรับรอง
[1][2][3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2014; ไม่รวมทรานส์นีสเตรีย)
75.1% มอลโดวา[a]
7.0% โรมาเนีย
6.6% ยูเครน
4.6% กากาอุซ
4.1% รัสเซีย
1.9% บัลแกเรีย
0.36% โรมานี
0.07% โปแลนด์
0.89% อื่น ๆ
ศาสนา
(ค.ศ. 2014; ไม่รวมทรานส์นีสเตรีย)
91.8% คริสต์
—90.1% อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
—1.7% นิกายอื่น ๆ
5.5% ไม่มี
2.4% ไม่ระบุ
0.3% อื่น ๆ[4]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
มายา ซันดู
ดอริน เรชัน
อีกอร์ กรอซู
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ก่อตั้ง
ค.ศ. 1346
ค.ศ. 1812
15 ธันวาคม ค.ศ. 1917
9 เมษายน ค.ศ. 1918
12 ตุลาคม ค.ศ. 1924
2 สิงหาคม ค.ศ. 1940
27 สิงหาคม ค.ศ. 1991b
2 มีนาคม ค.ศ. 1992
• นำรัฐธรรมนูญมาใช้
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1994
พื้นที่
33,843.5[5] ตารางกิโลเมตร (13,067.0 ตารางไมล์) (อันดับที่ 135)
1.4 (รวมทรานส์นีสเตรีย)
• ไม่รวมทรานส์นีสเตรีย
30,334 ตารางกิโลเมตร (11,712 ตารางไมล์) [b]
ประชากร
• 1 มกราคม ค.ศ. 2021 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 2,597,100 [7]
(ไม่รวมทรานส์นีสเตรีย) (อันดับที่ 138)
85.5[8] ต่อตารางกิโลเมตร (221.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 125)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 36,886 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 134)
เพิ่มขึ้น 14,257 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 118)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 12,396 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 144)
เพิ่มขึ้น 4,791 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 123)
จีนี (ค.ศ. 2018)positive decrease 25.7[10]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.750[11]
สูง · อันดับที่ 90
สกุลเงินเลวูมอลโดวา (MDL)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+373
โดเมนบนสุด.md
เว็บไซต์
moldova.md
  1. ตามที่ระบุไว้ในคำประกาศอิสรภาพมอลโดวาซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมอลโดวาตีความว่ามีศักดิ์สูงกว่ามาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญซึ่งระบุชื่อภาษาราชการว่า "ภาษามอลโดวา"[12]
  2. เป็นวันประกาศเอกราช มอลโดวาเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์หลังการยุบเลิกสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991

มอลโดวา (โรมาเนีย: Moldova, ออกเสียง: [mo̞lˈdo̞va]) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมอลโดวา (Republica Moldova) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างประเทศโรมาเนียทางทิศตะวันตกกับประเทศยูเครนทางทิศตะวันออก มีพรมแดนกับโรมาเนียตามแม่น้ำปรุตและแม่น้ำดานูบ

ในอดีตพื้นที่ประเทศมอลโดวาอยู่ในอาณาบริเวณของราชรัฐมอลเดเวียต่อมาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียใน พ.ศ. 2355 และได้รวมกับดินแดนโรมาเนียอื่น ๆ เป็นประเทศโรมาเนียใน พ.ศ. 2461 หลังจากเปลี่ยนผู้มีอำนาจเหนือดินแดนนี้ไปมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มอลโดวาก็ได้กลายเป็นดินแดนของสหภาพโซเวียตในชื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียระหว่าง พ.ศ. 2488–2534 จนในที่สุดก็ได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในบรรดากลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช มอลโดวาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเป็นอันดับที่สอง รองจากอาร์เมเนีย ในประวัติศาสตร์ มอลโดวาเป็นรัฐเล็ก ๆ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปรุตกับแม่น้ำนีสเตอร์ ซึ่งรู้จักกันในครั้งนั้นว่า เบสซาเรเบีย (Bessarabia) เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโรมาเนีย ต่อมาถูกรุกรานและมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนบ่อยครั้ง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง รัฐนี้จึงได้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหภาพโซเวียต

ในสมัยยุคกลาง ดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาที่ขณะนี้ถูกผนวกรวมกับโรมาเนียและยูเครน เคยอยู่ภายใต้การปกครองของฮังการีและลิทัวเนีย ในคริสตศวรรษที่ 16 ถูกตุรกีเข้ามาปกครอง และถูกผนวกรวมกับจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย จักรวรรดิรัสเซียต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งของมอลโดวา (ทางใต้ของเบสซาเรเบีย) ให้โรมาเนีย แต่ก็ได้กลับคืนมาอีกครั้ง ในระหว่างการประชุมใหญ่เบอร์ลิน ใน ค.ศ. 1878 ต่อมาจักรวรรดิรัสเซียต้องเสียดินแดนเบสซาเรเบียให้โรมาเนียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 และในปี ค.ศ. 1924 สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียขึ้นทางภาคตะวันออกของแม่น้ำนีสเตอร์ (ประชากรส่วนใหญ่เป็นมีเชื้อชาติยูเครน) และไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของโรมาเนียเหนือดินแดนเบสซาเรเบีย ภายหลังจากการลงนามกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ ในปี ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้ดินแดนเบสซาเรเบียกลับคืนมาและผนวกรวมกับสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียในปี ค.ศ. 1940 และเสียดินแดนส่วนใหญ่ของมอลโดวาให้โรมาเนียอีกครั้งเมื่อเยอรมันบุกสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ยกเว้นทางด้านตะวันออกของแม่น้ำนีสเตอร์ ส่วนบริเวณทรานส์นีสเตรียซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับแม่น้ำบุก (Bug) ก็ถูกครอบครองโดยกองกำลังทหารของโรมาเนียที่เข้าไปสร้างความโหดร้ายให้แก่ชาวพื้นเมืองเป็นอย่างมาก ในขณะที่ชาวยิวและชาวยิปซีได้รับการยกเว้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มอลโดวาก็กลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสหภาพโซเวียตอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944

เขตแดนในปัจจุบันของมอลโดวาถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เมื่อได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียอีกครั้ง และโรมาเนียยอมยกมอลโดวาให้สหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงมีการรื้อฟื้นการปกครองแบบโซเวียต และสาธารณรัฐมอลโดวาก็เข้าสู่กระบวนการแผลงให้เป็นรัสเซีย (Russiafication) อย่างเข้มงวด ทำให้ในระหว่างนั้น มอลโดวาถูกแยกออกจากการปกครองของโรมาเนียอย่างเด็ดขาด อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ผู้อพยพชาวยูเครนกับชาวรัสเซียเข้าไปตั้งถิ่นฐานในมอลโดวา โดยเฉพาะบริเวณเขตอุตสาหกรรมทรานส์นีสเตรีย

นโยบายแผลงให้เป็นรัสเซียในมอลโดวาดำเนินไปอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สองและเริ่มเบาบางลงเมื่อสหภาพโซเวียตมีนโยบายกลัสนอสต์ (Glasnost) ในปลายปี ค.ศ. 1986 และต่อมาในปี ค.ศ. 1989 กระบวนการแยกตัวเป็นเอกราชและการปฏิรูปประเทศของมอลโดวาก็เริ่มชัดเจนขึ้น โดยผลที่เป็นรูปธรรมที่สุด คือ การที่รัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องยอมให้ภาษามอลโดวาภาษาทางการแทนการใช้ภาษารัสเซีย

ภายหลังจากนาย Mircea Druc นักเศรษฐศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 นาย Druc ได้ริเริ่มแผนปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการเมือง จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 รัฐสภามอลโดวาได้ออกเสียงที่จะให้มีการประกาศเอกราชและการร่างรัฐธรรมนูญ จนในที่สุดมอลโดวาก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหารออกจากมอลโดวาและจัดตั้งกองกำลังแห่งชาติมอลโดว่าขึ้นมาแทน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
เขตการปกครอง

ประเทศมอลโดวาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 32 เขต, 3 เทศบาลนคร (คีชีเนา, บัลตส์ และเบนเดร์หรือตีกีนา) และ 2 เขตกึ่งปกครองตนเอง (กากาอูซียาและทรานส์นีสเตรีย — สถานะของเขตหลังนี้ยังเป็นที่ขัดแย้ง) เขตต่าง ๆ ได้แก่

ไม่มีชาติใดยอมรับอำนาจอธิปไตยของทรานส์นีสเตรีย โดยยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมอลโดวาโดยนิตินัย (ตามกฎหมาย) แม้ว่าในความเป็นจริงรัฐบาลมอลโดวาจะไม่ได้ควบคุมดินแดนนี้ก็ตาม

หมายเหตุ

[แก้]
  1. มีข้อถกเถียงว่าชาวมอลโดวาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แยกต่างหากจากชาวโรมาเนีย หรือเป็นเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยของชาวโรมาเนีย
  2. เนื้อที่ของทรานส์นีสเตรียที่รัฐบาลมอลโดวาและทางการตีรัสปอลยอมรับในทางนิตินัยมีขนาด 3,509.6 ตารางกิโลเมตร[6] เนื้อที่ที่ทรานส์นีสเตรียบริหารในทางพฤตินัยมีขนาด 3,653 ตารางกิโลเมตร ส่วนเนื้อที่ที่ทรานส์นีสเตรียอ้างกรรมสิทธิ์มีขนาด 4,163 ตารางกิโลเมตร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Președintele CCM: Constituția nu conferă limbii ruse un statut deosebit de cel al altor limbi minoritare". Deschide.md. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  2. "Chişinău, (21.01.2021) Judecătorii constituționali au decis că limba rusă nu va avea statutul de limbă de comunicare interetnică pe teritoriul Republicii Moldova". Moldpres.md. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  3. "Președintele CC Domnica Manole, explică de ce a fost anulată legea cu privire la statutul special pentru limbia rusă". ProTv.md. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  4. "Recensamântul Populației si al Locuințelor 2014". recensamant.statistica.md. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  5. "Republica Moldova - Geografie". Moldova.md. 26 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-12-03.
  6. "MOLDOVA: Transnistria (Pridnestrovie)". Citypopulation.de.
  7. "Populaţia cu reședință obișnuită, la 1 ianuarie 2021 (pg.12)" (PDF). Statistica.gov.md. BNS Rep.Moldova.
  8. BNS:Official estimate (pg.8)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, October 2021 Edition". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 13 October 2021.
  10. "Gini Index coefficient". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  11. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.[ลิงก์เสีย]
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MCC

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]