ข้ามไปเนื้อหา

อี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่
พินอิน: Yìyǒngjūn Jìnxíngqǔ
คำแปล: เพลงเดินขบวนทหารกล้าและทรงธรรม
(มาร์ชทหารอาสา)
แผ่นเสียงเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่
โดยห้างแผ่นเสียงปาเต๊ะฮ่องกง นครเซี่ยงไฮ้

เพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน
รวมทั้งเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า

เพลงมาร์ชประจำกองพลที่ 200 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
(ค.ศ. 1938–1949)
ชื่ออื่นอังกฤษ: March of the Volunteers
เนื้อร้องเถียน ฮั่น, ค.ศ. 1934
ทำนองเนี่ย เอ่อร์, 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1935
รับไปใช้27 กันยายน ค.ศ. 1949 (เพลงชาติชั่วคราว)[1]
4 ธันวาคม ค.ศ. 1982 (ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ)
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (ในฮ่องกง)[2]
20 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (ในมาเก๊า)[3]
14 มีนาคม ค.ศ. 2004 (ฐานะตามรัฐธรรมนูญ)[4]

อี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ (จีนตัวย่อ: 义勇军进行曲; จีนตัวเต็ม: 義勇軍進行曲; พินอิน: Yìyǒngjūn Jìnxíngqǔ; "เพลงเดินขบวนทหารกล้าและทรงธรรม"; อังกฤษ: March of the Volunteers) เดิมเป็นบทเพลงปลุกใจซึ่ง ประพันธ์เนื้อร้องโดย เถียน ฮั่น (田漢) เมื่อปี ค.ศ. 1934 และประพันธ์ทำนองโดย เนี่ย เอ่อร์ (聶耳) เมื่อปี ค.ศ. 1935 ในช่วงที่จีนแผ่นดินใหญ่ยังปกครองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง ขณะนั้นการเมืองภายในจีนกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก จากการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่าง ๆ และเผชิญหน้ากับการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถปฏิวัติและสถาปนารัฐจีนใหม่สำเร็จใน ค.ศ. 1949 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติตลอดมา แม้ว่าในสมัยหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงนี้ก็ตาม แต่เนื้อร้องเดิมก็ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ภายหลังรัฐบาลจีนจึงนำเนื้อร้องเดิมที่เถียนฮั่นประพันธ์ไว้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งตราบจนถึงทุกวันนี้

ประวัติ

[แก้]

ต้นกำเนิด

[แก้]
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง "Sons and Daughters in a Time of Storm" ("风云儿女") ซึ่งได้มีการนำเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่มาใช้ประกอบภาพยนตร์ เมื่อ ค.ศ. 1935

เพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1934 โดย เถียน ฮั่น ซึ่งขณะนั้นประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง เพื่อใช้เป็นเพลงประกอบบทละครเรื่องหนึ่งที่เขากำลังแต่งอยู่ในขณะนั้น เรื่องเล่าที่กล่าวขานกันทั่วไปนั้น กล่าวกันว่า เขาได้เขียนบทเพลงนี้ลงบนกดระดาษห่อใบยาสูบ หลังจากที่เขาถูกฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งจับกุมที่เมืองเซี่ยงไฮ้และจำคุกด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1935 ระหว่างนั้นเนี่ย เอ่อร์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกับเถียน ได้อ่านเนื้อเพลงดังกล่าวแล้วเกิดความฮึกเหิมในเนื้อหาของเพลง จึงได้แต่งทำนองประกอบเพลงที่เถียนแต่งไว้ และสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็ว ผลงานชิ้นนี้ต่อมาถือเป็นผลงานประพันธ์ชิ้นสุดท้ายของเนี่ย เอ่อร์

ต่อมาเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ได้ถูกนำไปใช้ประกอบในภาพยนตร์ปลุกใจเรื่อง "Sons and Daughters in a Time of Storm" ("风云儿女") ซึ่งออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1935 โดยมีการดัดแปลงเพลงบ้างเล็กน้อย ซึ่งเนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวถึงปัญญาชนชาวจีนคนหนึ่งที่เดินทางออกจากเมืองเซี่ยงไฮ้เพื่อไปรบในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เพลงนี้จึงเป็นหนึ่งในหลายบทเพลงที่โด่งดังอย่างลับ ๆ ในหมู่ประชาชนที่ต่อต้านญี่ปุ่น และมีการบันทึกลงแผ่นเสียงโดยห้างแผ่นเสียงปาเต๊ะ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทอีเอ็มไอในปีเดียวกัน

เพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]
เพลง "อี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่" ในฉากจบของภาพยนตร์เรื่อง "Sons and Daughters in a Time of Storm" ("风云儿女")

เพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ได้เริ่มใช้ในฐานะเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างไม่เป็นทางการ ในการประชุมนานาชาติที่กรุงปราก เชโกสโลวาเกีย เมื่อ ค.ศ. 1949 ซึ่งขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนเพิ่งจะชนะสงครามกลางเมือง และได้ปกครองประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

ในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้น เพื่อสรรหาเพลงชาติ ธงชาติ และตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะได้สถาปนาอย่างเป็นทางการขึ้นในเวลาอันใกล้ คณะทำงานดังกล่าวได้ประกาศสรรหาเพลงชาติในหนังสือพิมพ์ต่า�� ๆ ภายในประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบจากเหมา เจ๋อตง และเติ้ง เสี่ยวผิง สองผู้นำระดับสูงของพรรคในเวลานั้น ซึ่งผลตอบรับออกมาได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่ง

ถึงปลายเดือนสิงหาคม คณะทำงานสามารถรวบรวมเนื้อเพลงที่ส่งมาจากทั่วประเทศได้มากถึง 350 ชิ้น แต่ยังไม่ได้เนื้อเพลงที่เหมาะสม จึงต้องขอเวลาทำการรวบรวมเนื้อเพลงเพิ่มเติมอีกครั้ง กระทั่งปลายเดือนกันยายน จึงรวบรวบผลงานได้ทั้งสิ้น 632 ชิ้น จึงได้มีการเปิดประชุมเรื่องธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติจีนขึ้น เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1949 ในที่ประชุมนั้น หม่า ซฺวี่หลุน ได้เสนอให้เลือกเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่เป็นเพลงชาติ โดยได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วนท้นจากคณะกรรมการในที่ประชุมจำนวนมาก เนื่องจากเพลงบทนี้ มีใจความช่วงหนึ่งที่เขียนว่า "ถึงเวลาอันเป็นวิกฤตยิ่งของชนชาวจีนแล้ว” (中华民族到了最危险的时候) ซึ่งทุกคนมีความเห็นว่าเป็นประโยคที่สะท้อนถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี และเพลงนี้ก็แพร่หลายในต่างประเทศในฐานะเพลงปลุกใจชาวจีนทั้งในและต่างประเทศอยู่แล้ว[5]

เหมา เจ๋อตง และโจว เอินไหล ยอมรับเหตุผลของที่ประชุมดังกล่าว พร้อมเสริมว่า แม้ขณะนี้ศึกในประเทศจะสงบแล้ว แต่ก็ยังต้องเผชิญกับศัตรูนอกประเทศอีก ซึ่งเพลงชาติควรทำหน้าที่สะท้อนถึงพลังและจิตวิญญาณของประชาชนในประเทศ และเนื้อเพลงเดิมก็ให้ความรู้สึกถึงความฮึกเหิม ไม่กลัวที่จะบุกไปข้างหน้าอยู่แล้ว จึงเห็นชอบใช้เนื้อเพลงเดิม ที่ประชุมจึงมีมติใช้เพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่เป็นเพลงชาติจีนในวันนั้น โดยผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการจากมติสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของประเทศในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1949 และบรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949[5]

ยุคปฏิวัติวัฒนธรรมและสมัยต่อมา

[แก้]
โน้ตเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ จากภาคผนวก 4 ของกฎหมายมาเก๊าเลขที่ 5/1999

ในระหว่างยุคปฏิวัติวัฒนธรรม เถียน ฮั่น ถูกจำคุกจนเสียชีวิต เนื่องจากถูก "แก๊งสี่คน" ป้ายสีว่าเป็นฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติวัฒนธรรม เพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่จึงถูกห้ามขับร้อง และเพลง "ตงฟางหง" หรือ "บูรพาแดง" (The East Is Red) ซึ่งมีเนื้อหาเชิดชูการปฏิวัติของเหมา เจ๋อตง ได้แพร่หลายจนกลายเป็นเพลงชาติจีนอย่างไม่เป็นทางการในยุคนั้น ทั้งนี้ เพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ได้มีการบรรเลงเพียงครั้งเดียวในงานวันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนปีที่ 20 เมื่อ ค.ศ. 1969[6]

เพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ได้รับการฟื้นฟูฐานะอีกครั้งโดยสภาประชาชนแห่งชาติได้กำหนดเนื้อร้องฉบับใหม่ขึ้นใน ค.ศ. 1978 อย่างไรก็ตาม เนื้อร้องฉบับใหม่นี้ไม่ได้รับความนิยมและสร้างความสับสนอย่างใหญ่หลวง ตัวอย่างเช่น ในประโยคสุดท้ายของเพลงที่ว่า "高举毛泽东旗帜,前进! ("ชูธงเหมา เจ๋อตง รุกเข้า!") ซึ่งมีความหมายถึงการสืบทอดความคิดของเหมา เจ๋อตง เป็นต้น

เมื่อประเทศจีนชนะการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับโลกใน ค.ศ. 1981 ได้ปรากฏว่าผู้ชมชาวจีนได้ขับร้องเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ทั้งในเนื้อร้องเดิมและเนื้อร้องใหม่[7]

จนในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1982 สภาประชาชนแห่งชาติจึงได้ผ่านการรับรองเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่พร้อมเนื้อร้องที่เถียน ฮั่นแต่งไว้ในปี ค.ศ. 1935 ให้เป็นเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการ การรับรองเพลงชาติครั้งนี้มีความหมายสำคัญตรงที่เนื้อร้องฉบับเดิมนั้น ไม่เน้นความสำคัญของทั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนและอดีตประธานเหมา เจ๋อตง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ถึงการสิ้นอำนาจของฮฺว่า กั๋วเฟิง พร้อม ๆ กับลัทธิบูชาบุคคลของเหมา เจ๋อตง และการก้าวขึ้นสู่อำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิง

ในการตรารัฐธรรมนญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 2004 โดยสภาประชาชนแห่งชาติจีน เมื่อ ค.ศ. 2004 ได้มีการระบุในรัฐธรรมนูญด้วยว่าเพลงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ โดยกล่าวไว้อย่างสั้น ๆ ถัดจากบทบัญญัติว่าด้วยธงชาติ

อนึ่ง แม้เพลงนี้จะเป็นที่นิยมของชาวจีนในยุคการปกครองของฝ่ายชาตินิยม (พรรคก๊กมินตั๋ง) ระหว่างช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1937–1945 แต่เพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงต้องห้ามในสาธารณรัฐจีนมาโดยตลอด

เพลงชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้บรรเลงในฮ่องกงครั้งแรก ในพิธีการส่งมอบอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงกลับคืนสู่จีนในปี ค.ศ. 1997 และบรรเลงในมาเก๊าครั้งแรกในพิธีส่งมอบมาเก๊าเมื่อ ค.ศ. 1999

สำหรับการใช้เพลงชาติในมาเก๊านั้น เป็นไปตามกฎหมายมาเก๊าเลขที่ 5/1999 (zh:第5/1999號法律, pt:Lei de Macau 5 de 1999) ลงวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1999 มาตรา 7 ซึ่งระบุให้การบรรเลงเพลงชาติให้เป็นไปตามโน้ตเพลงซึ่งระบุในภาคผนวก 4 ของกฎหมายดังกล่าว และห้ามขับร้องเพลงนี้ด้วยเนื้อร้องอื่นนอก��หนือจากที่กำหนดไว้ ผู้ใดเจตนาละเมิดข้อกฎหมายดังกล่าว มีโทษทางอาญาโดยการจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือจำคุกแทนค่าปรับไม่เกิน 360 วัน ทั้งนี้ โน้ตเพลงที่อยู่ในภาคผนวก 4 นั้นมีเฉพาะเนื่อร้องภาษาจีนเท่านั้น ไม่มีการแปลเป็นภาษาโปรตุเกส แม้ว่าในมาเก๊าจะใช้ทั้งภาษาจีนและภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการก็ตาม ส่วนในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง ไม่มีการตรากฎหมายเพลงชาติไว้เป็นการเฉพาะดังเช่นในมาเก๊า

เนื้อร้อง

[แก้]

เนื้อร้องดั้งเดิมและปัจจุบัน

[แก้]
จีนตัวย่อ
พินอิน
จีนตัวเต็ม
จู้อิน
คำแปล

起来(Qǐlái!)不愿(Búyuàn)(zuò)奴隶(núlì)(de)人们(rénmen!)
()我们(wǒmen)(de)血肉(xuèròu,)筑成(zhùchéng)我们(wǒmen)新的(xīnde)长城(chángchéng!)
中华(Zhōnghuá)民族(Mínzú)(dào)(liao)(zuì)危险的(wēixiǎnde)时候(shíhòu,)
每个(Měige)(rén)被迫着(bèipòzhe)发出(fāchū)最后的(zuìhòude)吼声(hǒushēng.)
起来(Qǐlái!)起来(Qǐlái!)起来(Qǐlái!)
我们(Wǒmen)万众一心(wànzhòngyīxīn,)
冒着(Màozhe)敌人(dírén)(de)炮火(pàohuǒ,)前进(qiánjìn!)
冒着(Màozhe)敌人(dírén)(de)炮火(pàohuǒ,)前进(qiánjìn!)
前进(Qiánjìn!)前进(Qiánjìn!)(Jìn!)

起來ㄑㄧˇ ㄌㄞˊ不願ㄅㄨ' ㄩㄢ'ㄗㄨㄛ'奴隸ㄋㄨ' ㄌㄧ'˙ㄉㄜ人們ㄖㄣ' ˙ㄇㄣ
ㄅㄚˇ我們ㄨㄛˇ ˙ㄇㄣ˙ㄉㄜ血肉ㄒㄩㄝ' ㄖㄡ'築成ㄓㄨˋ ㄔㄥ'我們ㄨㄛˇ ˙ㄇㄣ新的ㄒㄧㄣ ˙ㄉㄜ長城ㄔㄤ' ㄔㄥ'
中華ㄓㄨㄥ ㄏㄨㄚ'民族ㄇㄧㄣ' ㄗㄨ'ㄉㄠ'ㄌㄧㄠˇㄗㄨㄟ'危險的ㄨㄟ ㄒㄧㄢˇ ˙ㄉㄜ時候ㄕ' ㄏㄡˋ
每個ㄇㄟˇ ˙ㄍㄜㄖㄣ'被迫著ㄅㄟ' ㄆㄛ' ˙ㄓㄜ發出ㄈㄚ ㄔㄨ最後的ㄗㄨㄟ' ㄏㄡ' ˙ㄉㄜ吼聲ㄏㄡˇ ㄕㄥ
起來ㄑㄧˇ ㄌㄞˊ起來ㄑㄧˇ ㄌㄞˊ起來ㄑㄧˇ ㄌㄞˊ
我們ㄨㄛˇ ˙ㄇㄣ萬眾一心ㄨㄢ' ㄓㄨㄥ' ㄧˋ ㄒㄧㄣ
冒著ㄇㄠ' ˙ㄓㄜ敵人ㄉㄧ' ㄖㄣ'˙ㄉㄜ炮火ㄆㄠ' ㄏㄨㄛˇ前進ㄑㄧㄢ' ㄐㄧㄣ'
冒著ㄇㄠ' ˙ㄓㄜ敵人ㄉㄧ' ㄖㄣ'˙ㄉㄜ炮火ㄆㄠ' ㄏㄨㄛˇ前進ㄑㄧㄢ' ㄐㄧㄣ'
前進ㄑㄧㄢ' ㄐㄧㄣ'前進ㄑㄧㄢ' ㄐㄧㄣ'ㄐㄧㄣ'

ลุกมา! ประชาผู้หาได้เป็นข้าใคร!
เสโทโลหิตเราไซร้ ล้วนสร้างใหม่ให้ปราการยาวเรา!
ซึ่งกาลอันวิกฤตนั้น พลันสู่ชนจีนทุกเหล่า
สรรพชนพงศ์เผ่า ต้องเร่าร้องคำรามคราสุดท้าย
ลุกมา! ลุกมา! ลุกมา!
หมื่นชนถ้วนล้วนหนึ่งใจ
ผจญไฟฝ่ายอริชน รุกเข้า!
ผจญไฟฝ่ายอริชน รุกเข้า!
รุกเข้า! รุกเข้า! รุก!

สัทอักษรสากล

[t͡ɕʰi²¹⁴ laɪ̯³⁵ pu⁵¹ ɥɛn⁵¹ t͡swɔ⁵¹ nu³⁵ li⁵¹ ti⁵¹ ʐən³⁵ mən³⁵]
[pä²¹⁴ wɔ²¹⁴ mən³⁵ ti⁵¹ ɕɥɛ⁵¹ ʐoʊ̯⁵¹ ʈ͡ʂu⁵¹ ʈ͡ʂʰɤŋ³⁵ wɔ²¹⁴ mən³⁵ ɕin⁵⁵ ti⁵¹ ʈ͡ʂʰɑŋ³⁵ ʈ͡ʂʰɤŋ³⁵]
[ʈ͡ʂʊŋ⁵⁵ xwä³⁵ min³⁵ t͡su³⁵ tɑʊ̯⁵¹ ljɑʊ̯²¹⁴ t͡sweɪ̯⁵¹ weɪ̯⁵⁵ ɕjɛn²¹⁴ ti⁵¹ ʂʐ̩³⁵ xoʊ̯⁵¹]
[meɪ̯²¹⁴ kɤ⁵¹ ʐən³⁵ peɪ̯⁵¹ pʰwɔ⁵¹ ɖ͡ʐ̥ə fä⁵⁵ ʈ͡ʂʰu⁵⁵ t͡sweɪ̯⁵¹ xoʊ̯⁵¹ ti⁵¹ xoʊ̯²¹⁴ ʂɤŋ⁵⁵]
[t͡ɕʰi²¹⁴ laɪ̯³⁵ t͡ɕʰi²¹⁴ laɪ̯³⁵ t͡ɕʰi²¹⁴ laɪ̯³⁵]
[wɔ²¹⁴ mən³⁵ wän⁵¹ ʈ͡ʂʊŋ⁵¹ i⁵⁵ ɕin⁵⁵]
[mɑʊ̯⁵¹ ɖ͡ʐ̥ə ti³⁵ ʐən³⁵ ti⁵¹ pʰɑʊ̯⁵¹ xwɔ²¹⁴ t͡ɕʰjɛn³⁵ t͡ɕin⁵¹]
[mɑʊ̯⁵¹ ɖ͡ʐ̥ə ti³⁵ ʐən³⁵ ti⁵¹ pʰɑʊ̯⁵¹ xwɔ²¹⁴ t͡ɕʰjɛn³⁵ t͡ɕin⁵¹]
[t͡ɕʰjɛn³⁵ t͡ɕin⁵¹ t͡ɕʰjɛn³⁵ t͡ɕin⁵¹ t͡ɕin⁵¹]

เนื้อร้องช่วง ค.ศ. 1978–1982 (ไม่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ)

[แก้]
จีนตัวย่อ
พินอิน
จีนตัวเต็ม
จู้อิน
คำแปล

前进(Qiánjìn!)! ()民族(mínzú)英雄(yīngxióng)(de)人民(rénmín!)
伟大(Wěidà)(de)共产党(gòngchǎndǎng,)领导(lǐngdǎo)我们(wǒmen)继续(jìxù)长征(chángzhēng!)
万众一心(Wànzhòngyīxīn)(bēn)(xiàng)共产主义(gòngchǎnzhǔyì)明天(míngtiān!)
建设(Jiànshè)祖囯(zǔguó,)保卫(bǎowèi)祖囯(zǔguó,)英勇地(yīngyǒngde)斗争(dòuzhēng.)
前进(Qiánjìn!)前进(Qiánjìn!)前进(Qiánjìn!)
我们(Wǒmen)千秋万代(qiānqiūwàndài,)
高举(Gāojǔ)毛泽东(Máo Zédōng)旗帜(qízhì,)前进(qiánjìn!)
高举(Gāojǔ)毛泽东(Máo Zédōng)旗帜(qízhì,)前进(qiánjìn!)
前进(Qiánjìn!)前进(Qiánjìn!)(Jìn!)

前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋㄍㄜˋ民族ㄇㄧㄣˊ ㄗㄨˊ英雄ㄧㄥ ㄒㄩㄥˊㄉㄧˊ 人民ㄖㄣˊ ㄇㄧㄣˊ
偉大的ㄨㄟˇ ㄉㄚˋ ㄉㄧˊ共產黨ㄍㄨㄥˋ ㄏㄢˇ ㄉㄤˇ領導ㄌㄧㄥˇ ㄉㄠˇ我們ㄨㄛˇ ㄇㄣˊ 繼續ㄐㄧˋ ㄒㄩˋ長征ㄏㄤˊ ㄓㄥ
萬眾一心ㄨㄢˋ ㄓㄨㄥˋ ㄧ ㄒㄧㄣㄅㄣㄒㄧㄤˋ共產主義ㄍㄨㄥˋ ㄏㄢˇ ㄓㄨˇ ㄧˋ明天ㄇㄧㄥˊ ㄊㄧㄢ
建設ㄐㄧㄢˋ ㄕㄜˋ祖國ㄗㄨˇ ㄍㄨㄛˊ保衛ㄅㄠˇ ㄨㄟˋ祖國ㄗㄨˇ ㄍㄨㄛˊ英勇地ㄧㄥ ㄩㄥˇ ㄉㄧˋ鬥爭ㄉㄡˇ ㄓㄥ
前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋ前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋ前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋ
我們ㄨㄛˇ ㄇㄣˊ千秋萬代ㄑㄧㄢ ㄑㄧㄡ ㄨㄢˋ ㄉㄞˋ,
高舉ㄍㄠ ㄐㄩˇ毛澤東ㄇㄠˊ ㄗㄜˊ ㄉㄨㄥ旗幟ㄑㄧˊ ㄓˋ前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋ
高舉ㄍㄠ ㄐㄩˇ毛澤東ㄇㄠˊ ㄗㄜˊ ㄉㄨㄥ旗幟ㄑㄧˊ ㄓˋ前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋ
前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋ前進ㄑㄧㄢˊ ㄐㄧㄣˋㄐㄧㄣˋ

รุกเข้า! เหล่าวีรชนของผู้คนทุกเชื้อสาย!
พรรคสังคมนิยมอันยิ่งใหญ่นำพาพวกเราไปบนหนทางไกล!
หมื่นคนหนึ่งใจรุดสู่วันรุ่งแห่งสังคมนิยม
สรรค์สร้างแดนบรรพชน ปกปักแดนบรรพชน รบราอย่างยิ่งยง
รุกเข้า! รุกเข้า! รุกเข้า!
พวกเราพันยุคหมื่นสมัย
ชูเชิดทวยธงเหมา เจ๋อตง รุกเข้า!
ชูเชิดทวยธงเหมา เจ๋อตง รุกเข้า!
รุกเข้า! รุกเข้า! รุก!

สื่อ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตามมติว่าด้วยเมืองหลวง ปฏิทิน เพลงชาติ และเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492
  2. ตามผนวก 3 แห่งกฎหมายพื้นฐานของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เมื่อมติว่าด้วยเมืองหลวง ปฏิทิน เพลงชาติ และเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 มีผลใช้บังคับในฮ่องกงนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ด้วยการประกาศและตรากฎหมายโดยเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
  3. ตามผนวก 3 แห่งกฎหมายพื้นฐานของเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เมื่อมติว่าด้วยเมืองหลวง ปฏิทิน เพลงชาติ และเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 มีผลใช้บังคับในมาเก๊านับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ด้วยการประกาศและตรากฎหมายโดยเขตบริหารพิเศษมาเก๊า และในวันเดียวกัน กฎหมายมาเก๊าเลขที่ 5/1999 (zh:第5/1999號法律, pt:Lei de Macau 5 de 1999) ซึ่งว่าด้วยเพลงชาติโดยเฉพาะ ได้มีผลใช้บังคับด้วยเช่นกัน
  4. ตามมาตรา 31 แห่งรัฐธรรมนญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 2004 หมวด 4
  5. 5.0 5.1 เส้นทางประวัติศาสตร์ของเพลงชาติจีน เก็บถาวร 2007-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2548
  6. วิดีโอเพลงอี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ จากงานฉลองวันชาติจีน พ.ศ. 2492 - 2552
  7. Gonga.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]