ข้ามไปเนื้อหา

มหาเถรสมาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาเถรสมาคม
The Sangha Supreme Council of Thailand
ตราธรรมจักร
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2505; 62 ปีที่แล้ว (2505)[1]
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ไทย
อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
บุคลากร300,000 รูป (จำนวนพระสงฆ์ในประเทศไทยโดยประมาณ)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ลูกสังกัด
เว็บไซต์www.mahathera.org

มหาเถรสมาคม (อังกฤษ: The Sangha Supreme Council of Thailand) เป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทำหน้าที่คล้ายกับคณะรัฐมนตรี โดยมีสมเด็จพระสังฆราชหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูปซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควรและมีจริยวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์

ประวัติ

[แก้]

การจัดตั้งมหาเถรสมาคมครั้งแรก

[แก้]

มหาเถรสมาคมเป็นถ้อยคำที่ใช้ครั้งแรกใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) อันตราขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] คำว่า "เถระ" หมายถึง "พระผู้ใหญ่, ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่สิบขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ"[4] โดยตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) มาตรา 4 ให้เรียกสมเด็จเจ้าคณะใหญ่ และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ตำแหน่งต่าง ๆ ว่า "มหาเถระ" และมหาเถระเหล่านี้จะประชุมกันเพื่อถวายความเห็นแก่พระมหากษัตริย์ในเรื่องพุทธศาสนาตามที่ทรงปรึกษา ที่ประชุมนี้เรียกว่า "มหาเถรสมาคม" โดยต้องมีมหาเถระอย่างน้อยห้ารูปมาประชุม จึงจะเป็นองค์ประชุม[5] พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) ไม่ได้ใช้บังคับทันที แต่จะมีประกาศให้ใช้บังคับในมณฑลต่าง ๆ เป็นรายมณฑลเรื่อยไปจนทั่วประเทศสยาม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย)

ยุคสังฆสภา

[แก้]

ต่อมาใน พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 ยกเลิก พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) แล้วตรา พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ขึ้นใช้แทน[6] โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2484[7] พระราชบัญญัติใหม่นี้เปลี่ยนชื่อ "มหาเถรสมาคม" เป็น "สังฆสภา" โดยให้ประกอบด้วยกรรมการที่เรียก "สังฆสภาสมาชิก" จำนวนไม่เกินสี่สิบห้ารูป และประธานสังฆสภานั้นมาจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระสังฆราชตามคำแนะนำของสังฆสภา[8]

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 เป็นแนวคิดของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่จะเลียนการปกครองฝ่ายอาณาจักรมาใช้แก่ฝ่ายศาสนจักร โดยเรียก "สังฆสภา" ให้เป็นทำนองเดียวกับ "รัฐสภา" และมีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกันด้วย คือ ตราสังฆาณัติ แล้วถวายให้สมเด็จพระสังฆราชลงพระนาม จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติหลาย ๆ บทเลียนมาจากกฎหมายฝ่ายอาณาจักรหมวดหมู่กฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ อาทิ ให้สังฆสภามีอำนาจตราสังฆาณัติได้ ถ้าสมเด็จพระสังฆราชไม่ทรงเห็นด้วยหรือไม่ทรงลงพระนามตามกำหนด และสังฆสภาลงมติเห็นชอบตามเดิม ทำนองเดียวกับรัฐสภามีอำนาจตราพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นด้วยหรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยตามกำหนด และรัฐสภามีมติเห็นชอบตามเดิม

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

[แก้]

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

[แก้]
  • มหาเถรสมาคม มีอำนาจและหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 [10]

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560

[แก้]

เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[11] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 ว่าด้วยการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช จากเดิมเป็น "พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ" โดยให้เหตุผลว่า โดยที่ตามโบราณราชประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานนั้น เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งต่อมาได้เริ่มมีบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นต้นมา สมควรบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องเพื่อเป็นการสืบทอดและธำรงรักษาไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีดังกล่าวโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[12] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยส่วนใหญ่เป็นการมอบพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์เกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งหรือให้ออก โดยจะทรงปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชก่อนก็ได้ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชโดยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการที่จะทรงพระกรุณาโปรดหรือมีพระราชวินิจฉัยให้ปฏิบัติเป็นประการอื่นได้ตามพระราชอัธยาศัย โดยทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ การกำหนดวาระของกรรมการมหาเถรสมาคม การแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างลง การแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หรือเจ้าคณะภาคและตำแหน่งอื่นตามพระราชดำริ

กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน

[แก้]

ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

[แก้]

กรรมการมหาเถรสมาคม

[แก้]
  1. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  2. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  4. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  5. สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  6. สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี (มนตรี คณิสฺสโร) วัดเครือวัลย์ วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  7. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร
  8. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  9. พระพรหมกวี (พงศ์สันต์ ธมฺมเสฏฺโฐ) วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  10. พระพรหมวชิรมุนี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  11. พระพรหมมุนี (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  12. พระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  13. พระพรหมวชิรากร (สุนทร สุนฺทราโภ) วัดราชผาติการาม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  14. พระพรหมวชิรเวที (อมร ญาโณทโย) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  15. พระพรหมวชิรวิมล (แสวง ธมฺเมสโก) วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  16. พระพรหมวชิรรังษี (จิรพล อธิจิตฺโต) วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  17. พระพรหมวัชรวิมลมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  18. พระธรรมวชิรเมธาจารย์ (ยุทธศักดิ์ กิตฺติยุตฺโต) วัดโสมนัส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
  19. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
  20. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567[13]

หน่วยงาน

[แก้]

หน่วยงานในปกครองมหาเถรสมาคม

[แก้]

หน่วยงานในการกำกับดูแลของสมเด็จพระสังฆราช คณะสงฆ์อื่น

[แก้]

หน่วยงานเผยแผ่พระธรรมทูตในต่างประเทศ

[แก้]

สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

สำนักงานพระธรรมทูตไทยในอินเดีย-เนปาล

สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป

องค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์

สมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์

สหภาพพระธรรมทูตไทยในโอเชียเนีย

สมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น

สหภาพพระธรรมทูตไทยในอินโดนีเซีย-แอฟริกา

  • พระวิเทศธรรมาภรณ์ (บัณฑิต วรปญฺโญ) วัดพระธรรมกายไทเป ได้หวัน

สหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก

สมัชชาสงฆ์ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

องค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย

หน่วยงานรับสนองงานของมหาเถรสมาคม

[แก้]

หน่วยงานเผยแพร่พระศาสนาในประเทศ

[แก้]

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) แม่กองงานพระธรรมทูต

พระธรรมวชิราธิบดี (ฉ่ำ ป���ญฺญชโย) ประธานคณะพระธรรมจาริก

หน่วยงานด้านการศึกษาในความดูแลของมหาเถรสมาคม

[แก้]

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙-๔๔ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๕
  2. มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ บัญญัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง
  3. "พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์' (ร.ศ. 121)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 19, แผ่นที่ 13, 29 มิถุนายน ร.ศ. 121, หน้า 213). สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
  4. "พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2011.
  5. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) มาตรา 4:
    "สมเด็จเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 4 ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ 1 เจ้าคณะใหญ่คณะใต้ 1 เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา 1 เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง 1 ทั้งพระราชาคณะเจ้าคณะรองในคณะเหนือ คณะใต้ คณะธรรมยุติกา คณะกลาง ทั้ง 4 ตำแหน่งนั้น ยกเป็นพระมหาเถระที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาและการปกครองบำรุงสังฆมณฑลทั่วไป ข้อภารธุระในพระศาสนาหรือในสังฆมณฑลซึ่งได้โปรดให้พระมหาเถระทั้งนี้ประชุมวินิจฉัยในที่มหาเถรสมาคมตั้งแต่ 5 พระองค์ขึ้นไป คำตัดสินของมหาเถรสมาคมนั้น ให้เป็นสิทธิ์ขาด ผู้ใดจะอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปอีกไม่ได้"
  6. "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 58, 14 ตุลาคม 2484, หน้า 1391). สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
  7. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 58/14 ตุลาคม 2484/หน้า 1391) และมาตรา 2 ว่า:
    "ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
  8. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484: "มาตรา 11. สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก มีจำนวนรวมกันไม่เกินสี่สิบห้ารูป คือ
    (1) พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป
    (2) พระคณาจารย์ชั้นเอก
    (3) พระเปรียญเอก
    มาตรา 12. ทุกคราวสมัยประชุมสามัญ สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งสมาชิกในสังฆสภาตามมติของสังฆสภา ให้เป็นประธานสภาหนึ่งรูป เป็นรองประธานหนึ่งรูปหรือหลายรูปก็ได้"ในการตั้งประธานและรองประธานสังฆสภา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามรับสนอง"
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-27. สืบค้นเมื่อ 2013-02-03.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒ ก หน้า ๑-๒ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๐
  12. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๐ ก หน้า ๑-๔ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑
  13. โปรดแต่งตั้ง พระพรหมดิลก วัดสามพระยา-พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
  14. https://www.facebook.com/profile.php?id=100071207010333
  15. "เข้ารับตราตั้งและพัดรองพระวิปัสสนาจารย์ประจำกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย -ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศคณะสงฆ์ภาค ๑๔". www.sangha14.org.
  16. "ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์". www.pariyattinithed.net.