ข้ามไปเนื้อหา

พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ)

พิกัด: 52°44′53″N 1°48′15″E / 52.748026°N 1.804261°E / 52.748026; 1.804261
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวิเทศปัญญาคุณ

(เหลา ปญฺญาสิริ)
พระราชวิเทศปัญญาคุณ
ชื่ออื่นดร.พระมหาเหลา
ส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาB.A.(MCU), M.A. (London), Ph.D.(Birmingham)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร หมู่บ้านคิงส์บรอมลีย์ เมืองลิชฟีลด์ เทศมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ ตอนกลางของสหราชอาณาจักร
อุปสมบท13 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
พรรษา51
ตำแหน่งรองประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร

พระราชวิเทศปัญญาคุณ (นามเดิม: ดร.พระมหาเหลา ประชาราษฎร์) น.ธ.เอก, ป.ธ.4, พม., พธ.บ., M.A. (London), Ph.D.(Birmingham) (7 สิงหาคม พ.ศ. 2503 - ปัจจุบัน) พระธรรมทูตไทยรูปแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศอังกฤษ รองประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร, เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร รูปปัจจุบัน

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2503 บรรพชาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และอุปสมบทเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 หลังจากสำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต ท่านได้เดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูต ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ต่อมาท่านได้ออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา และทำการก่อตั้งวัดไทยขึ้นในประเทศอังกฤษหลายวัด จนมีผลงานการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับจากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระสงฆ์นักเผยแพร่ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จึงทำให้ท่านได้รับถวายรางวัลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มากมาย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดที่มอบถวายแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อศาสนาพุทธในประเทศไทย[1]

ประวัติ

[แก้]
บรรยากาศวัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร ขณะหิมะตกในฤดูหนาว

พระราชวิเทศปัญญาคุณ เกิดที่บ้านหนองรัง อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2503 เมื่ออายุได้ 14 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ��รุงเทพมหานคร โดยมีพระธรรมรัตนกร (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ. 2519 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านสอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2526 และสำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2529

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ท่านได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน และต่อมาได้เป็นผู้ช่วยพระธรรมทูต และเป็นพระธรรมทูตสายประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2533 โดยได้อยู่ช่วยงานพระพุทธศาสนา เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพุทธปทีป ในปี พ.ศ. 2536 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2537 ท่านได้เดินทางไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร แอสตัน เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เพื่อขยายผลการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ และต่อมาท่านได้รับการยอมรับจากชาวอังกฤษ ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุศาสนาจารย์ ฝ่ายพระพุทธศาสนา ประจำมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ในปี พ.ศ. 2541 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านได้ย้ายวัดจากแอสตัน เบอร์มิงแฮม ออกมาตั้งวัดใหม่ที่หมู่บ้านคิงส์บรอมลีย์ เทศมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านในชนบท มีบรรยากาศสัปปายะ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม

ปัจจุบันท่านทำการขยายผลการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังเมืองต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษ โดยมีวัดในสาขาวัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลีย์ สหราชอาณาจักร จำนวน 2 แห่ง ในปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุ เคมบริดจ์ และวัดมหาธาตุ พลิมัท[2]

การศึกษา

[แก้]

เกียรติคุณที่ได้รับ

[แก้]

รางวัลพระราชทานจากพระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2548 - รางวัลพระราชทาน "รางวัลเสาเสมาธรรมจักร" รางวัลพระราชทานแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[3]

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นที่พระครูสัญญาบัตร เทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ที่ พระครูปัญญาสุธรรมวิเทศ
  • พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปัญญาพุทธิวิเทศ[4]
  • พ.ศ. 2559 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิเทศปัญญาคุณ วิบูลศาสนกิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะกรรมการฯ. (2554). อนุสรณ์ วัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลี่ สหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
  2. คณะกรรมการฯ. (2554). อนุสรณ์ วัดมหาธาตุ คิงส์บรอมลี่ สหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
  3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ประกาศคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2556 เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [1][ลิงก์เสีย][2][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 11-6-2017
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๖ ข, ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๓, ตอน ๔๓ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

52°44′53″N 1°48′15″E / 52.748026°N 1.804261°E / 52.748026; 1.804261

ก่อนหน้า พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ) ถัดไป
- เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ สหราชอาณาจักร
(พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน)
ยังคงดำรงตำแหน่ง