อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย
คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.1999 โดยได้รับการอนุมัติจากอัครบิดรอะเลคเซย์ที่ 2 แห่งมอสโก (อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวงขณะนั้น) โดยบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย[1]
ประวัติการเผยแผ่
[แก้]การเริ่มก่อตั้งศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อที่จะตอบสนองแก่ข้อเรียกร้องของเหล่าชาวออร์ทอดอกซ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย สภาบาทหลวงแห่งเขตอัครบิดรกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้มีการประชุมหารือในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2542 มีมติขอการดำเนินการจัดตั้งศาสนจักรขึ้นในกรุงเทพฯ โดยโบสถ์คริสตศาสนจักรออร์ทอดอกซ์แห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "อาสนวิหารแห่งนักบุญนิโคลัสผู้กระทำการอัศจรรย์" และได้มีการแต่งตั้งบาทหลวงจากยาโรสลาฟล์ คุณพ่อโอเลก เชเรปานิน (Oleg Cherepanin) เพื่อเป็นบาทหลวงประจำศาสนจักรแห่งใหม่นี้ ในปี พ.ศ. 2544 พระคุณเจ้าคิรีล อัครมุขนายกแห่งเมืองสโมเลนส์คและคาลินินกราด ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประธานบาทหลวงด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัสเซียได้เสด็จเยือนกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการผลลัพธ์ในการเยือนครั้งนั้น โบสถ์แห่งนักบุญนิโคลัสฯ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ (ศาสนจักรแห่งกรุงมอสโกประจำประเทศไทย) และคุณพ่อโอเลก เชเรปานิน เป็นผู้แทนแห่งโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย เป็นผู้แนะแนวทางจิตวิญญาณ แก่หมู่ประชาชนชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย ถึงในประเทศลาวและประเทศกัมพูชา เป็นเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์ทอดอกซ์ โดยมีบาทหลวงดาเนียล ดนัย วรรณะ เป็นบาทหลวงออร์ทอดอกซ์ชาวไทยคนแรก โดยได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551[2]
ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังกว่า 7 เดือน สำนักงานของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย และนั่นโบสถ์ออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยจึงได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นองค์เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางสังคมและศาสนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[3]
ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในการประชุมสมัชชาศักดิ์สิทธิ์ (Holy Synod) ของศาสนจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ได้มีมติพิเศษเกี่ยวกับการดูแลและอภิบาลเขตของศาสนจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในป���ะเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าคณะนักบวชในเขตแพริชที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยคุณพ่อโอเลก เชเรปานิน ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะให้เป็น "ผู้แทนพิเศษ" ของศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในราชอาณาจักรไทย
โบสถ์ในประเทศไทย
[แก้]ปัจจุบันโบสถ์คริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยมีทั้งหมด 10 แห่งดังนี้[4]
- อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส กรุงเทพมหานคร
- โบสถ์พระตรีเอกภาพ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
- โบสถ์นักบุญทั้งปวง เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
- โบสถ์พระมารดาพระเจ้าทรงคุ้มครอง เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
- อารามแม่พระบรรทม จังหวัดราชบุรี
- โบสถ์พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏ์ธานี
- โบสถ์นักบุญวลาดิมีร์ จังหวัดเชียงใหม่
- โบสถ์กษัตริย์มรณะสักขี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- โบสถ์นักบุญเซอร์เกย์ แห่งราโดเนช อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
- โบสถ์นักบุญเซราฟิม แห่งซารอฟสกี้ อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี[5]
เซมินารีในประเทศไทย
[แก้]"วิทยาลัยศาสนศาสตร์คริสเตียนออร์ทอดอกซ์" (Orthodox Christian Theological College)[6]" เป็นเซมินารีแห่งแรกของนิกายออร์ทอดอกซ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวของวิทยาลัยตั้งอยู่ภายในเขตโบสถ์พระตรีเอกภาพ อ.ถลาง จังหวัดภูเก็ต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือโบสถ์นิกายรัสเซียออร์โธด็อกซ์คริสเตียน พิมพ์เมื่อ ค.ศ.2001 แปลโดยบาทหลวงดนัย วรรณะ หน้าที่ 36-37
- ↑ http://www.orthodox.or.th/index.php?content=representation&lang=th[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-19. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.
- ↑ "วิทยาลัยศาสนศาสตร์คริสเตียนออร์โธด๊อกซ์ในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-23. สืบค้นเมื่อ 2017-03-20.