มหาวิทยาลัยสยาม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
13°43′18″N 100°27′11.5″E / 13.72167°N 100.453194°E
Siam University | |
ชื่อย่อ | มส. / SU |
---|---|
คติพจน์ | ปญญา นรานํ รตนํ (ปัญญาเป็นรัตนของนรชน) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
สถาปนา | 28 กันยายน พ.ศ. 2516 |
นายกสภาฯ | พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข |
อธิการบดี | ดร.พรชัย มงคลวนิช |
ผู้ศึกษา | 9,565 คน (2566)[1] |
ที่ตั้ง | |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยสยาม |
ต้นไม้ | หูกวาง |
สี | เหลือง น้ำตาล |
มาสคอต | ช้าง |
เว็บไซต์ | www.siam.edu |
มหาวิทยาลัยสยาม (อังกฤษ: Siam University; ชื่อย่อ: มส. - SU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและสถานีเอ็มอาร์ที รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลสายสีน้ำเงิน เพียง 200 เมตร เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 จาก "โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม" และได้สถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช เดิมคือ "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมายกระดับเป็น "มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" และเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยสยาม" ตามลำดับ มหาวิทยาลัยสยามนับได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในย่านฝั่งธนบุรี อธิการบดีคนปัจจุบันคือ ดร.พรชัย มงคลวนิช
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยสยามเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 สถาบันแรกของประเทศไทย ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 และได้สถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ใช้ชื่อเดิมว่า "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น "มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" และเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยสยาม" ในลำดับต่อมา โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยสยามมีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรีเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยและ ดร.พรชัย มงคลวนิชเป็นอธิการบดี
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสยามมีนักศึกษารวมกว่า 10,000 คน มีนักศึกษานานาชาติกว่า 1,000 คนจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เปิดดำเนินการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 50 หลักสูตร โดยแบ่งออกเป็น 16 คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง บัณฑิตวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ (ก่อตั้งปี พ.ศ. 2565) ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมแล้วกว่า 80,000 คน
มหาวิทยาลัยสยาม ได้รับการรับรองให้เป็นภาคีสมาชิกของสมาคมมหาวิทยาลัยนานาชาติ (International Association of Universities-IAU) สมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ (International Association of University Presidents - IAU) ซึ่งอธิการบดีได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการบริหารสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยยังได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกของสมาคมการศึกษาขั้นอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Institutions of Higher Learning - ASAIHL) สมาคมสถาบันการศึกษาด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวแห่งภาคพื้น ยุโรป (EUHOFA) และสมาคมฝึกอบรมและพัฒนาองค์กรแห่งภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asian Regional Training and Development Organization-ARTDO) และเป็นพันธมิตรทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างประเทศชั้นนำกว่า 54 สถาบันทั่วโลก
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]- ตราประจำมหาวิทยาลัยสยาม ประกอบด้วย ฟันเฟือง แผนที่ประเทศไทยและเรือใบ ซึ่งหมายถึงสถาบันที่ขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหน้าถาวรสืบไป
- สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระวิษณุกรรม บรมครูแห่งการช่าง ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยยังเป็น "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บริเวณประตูด้านหน้ามหาวิทยาลัย
- สีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีเหลือง-น้ำตาล โดยสีเหลือง หมายถึง ปัญญา ส่วนสีน้ำตาล หมายถึง ความรู้ความเชี่ยวชาญ สอดคล้องกับคำขวัญของมหาวิทยาลัยที่ว่า "ปัญญาเป็นรัตนของนรชน"
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นหูกวาง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในมหาวิทยาลัยสยาม ในฤดูผลัดใบจะมีใบสีเหลืองและผลสีน้ำตาล สอดคล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัย
- สัตว์สัญลักษณ์ ได้แก่ ช้าง ซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชาว "สยาม" มาแต่โบราณ
- แนวคิดของมหาวิทยาลัย เน้นเรื่อง FREEDOM OF THOUGHT การให้อิสรภาพนักศึกษาทางความคิด เพราะอิสรภาพคือบ่อเกิดแห่งปัญญา นั่นก็คือ THINK FREELY WORK WISELY หรือ “คิดด้วยอิสระ ทำด้วยปัญญา”
คณะวิชา
[แก้]
(ปัจจุบันยกระดับเป็นภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์)
|
|
หน่วยงานต่างๆ
[แก้]- สำนักอธิการบดี
- สำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม
- สำนักวิชาการ
- สำนักประกันคุณภาพ
- สำนักรับสมัครนักศึกษา
- สำนักทะเบียนและวัดผล
- สำนักแผนงานและวิจัยสถาบัน
- สำนักสหกิจศึกษา
- สำนักประชาสัมพันธ์
- สำนักวิเทศสัมพันธ์
การประสาทปริญญาบัตร
[แก้]มหาวิทยาลัยสยาม จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสยามเป็นประจำทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2566 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรีเป็นประธานในพิธี
บุคคลจากมหาวิทยาลัยสยามที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ด้านศาสนา
- สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, อดีตเจ้าอาวาสวัดยานนาวา, กรรมการมหาเถรสมาคม, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ฝ่ายศาสนศึกษา)
- ด้านวงการบันเทิง
- ธนิดา ธรรมวิมล ปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ (นักร้องสังกัด Bar entertainment และอดีตสมาชิกวงเอ็นโดรฟิน)
- พศุตม์ บานแย้ม ปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ สาขาการโฆษณา (วิชาโท การหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์) และระดับปริญญาโทที่คณะบัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรบริหารธุรกิจ (นักแสดงอิสระ,นักธุรกิจ)
- วริษฐ์ ทิพโกมุท สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ (นักแสดงอิสระ)
- คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัส ปริญญาตรีศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง SCA (นักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี)
- อรวิสา ทิวไผ่งาม ปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรการประชาสัมพันธ์ (นักแสดง,ช่างภาพ)
- รุ่งรัตน์ เหม็งพานิช ปริญญาตรีคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาดนตรี-เอกขับร้อง (นักร้องสังกัดแกรมมี่โกลด์,นักแสดง)
- ด้านกีฬา
- ทนงศักดิ์ แสนสมบูรณ์สุข ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ (นักกีฬาแบดมินตันชายทีมชาติไทย)
- ด้านการเมือง
- กอบกุล นพอมรบดี ปริญญาตรีสาขาการบัญชี (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
- ประชา ประสพดี ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์บัณฑิต (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- ประไพพรรณ พศบูรณินทร์ ปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ เอกการประชาสัมพันธ์ (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
- ปารเมศ โพธารากุล ปริญญาตรี สาขาการเงินและการธนาคาร (ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์)
- ศักดา โมกขมรรคกุล ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ (อดีตองคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา)
- เฉลิมชัย สาดแจ่ม ปริญญาตรี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (นักการเมือง)
- ด้านบุคลากรทางการศึกษา
- กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ อาจารย์ในสถาบันกวดวิชาพีนัคเคิล และอดีตอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎ์ โทณวณิก บัณฑิตวิทยาลัย (นักวิชาการและนักวิเคราะห์ด้านการเมือง)
- รองศาสตราจารย์ จำนง วิบูลย์ศรี อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปี พ.ศ. 2551
- อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสยาม
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ (อดีตอาจารย์สอนพิเศษภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนที่เตรียมศึกษาต่อต่างประเทศ)
- รองศาสตราจารย์ สมาน งามสนิท บัณฑิตวิทยาลัย (ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม)
- ด้านวงการทหาร
- พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี, นายกสภามหาวิทยาลัยสยาม และอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศของไทย
- ด้านวงการพิธีกร
- ภูณทัศน์ วิวัฒพัฒนอนันต์ ปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ เอกโฆษณา (ยูทูบเบอร์)
- เอก ฮิมสกุล ปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ (พิธีกรรายการกีฬา, นักพากษ์กีฬา, นักจัดรายการวิทยุ และอดีตพิธีกรรายการแฟนพันธุ์แท้)
- ด้านวงการผู้ประกาศข่าว
- ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ (รุ่น 1) เอกการประชาสัมพันธ์ (ผู้ประกาศข่าวสังกัดช่อง 3 เอชดี)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ หนุ่มหล่อสาวสวยสายนิเทศฯ แนะ 4 ทริค เรียนสื่อสารอย่างไรให้ปัง – ม.สยาม
- ↑ เลือกเรียนตามสไตล์ที่ชอบ สตางค์-ศุฑาลักษณ์ ม.สยาม
- ↑ วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง SCA