เขตภาษีเจริญ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตภาษีเจริญ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Phasi Charoen |
ชุมชนไม้วัดนิมมานรดี (ฝั่งซ้าย) และวัดนิมมานรดี (ฝั่งขวา) ริมคลองภาษีเจริญ | |
คำขวัญ: แห่พระธาตุวัดนางชี บารมีหลวงพ่อ วัดปากน้ำ ศิลปกรรมอารามมากมี ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือเกื้อหนุนความดี ชมของดีที่... ภาษีเจริญ | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตภาษีเจริญ | |
พิกัด: 13°42′53″N 100°26′14″E / 13.71472°N 100.43722°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 17.834 ตร.กม. (6.886 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 121,833[1] คน |
• ความหนาแน่น | 6,831.50 คน/ตร.กม. (17,693.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1022 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 46 ซอยเพชรเกษม 54 (ทิพย์นิยม 2) ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
เว็บไซต์ | www |
ภาษีเจริญ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตภาษีเจริญตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองบางเชือกหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองด่านเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตบางบอน มีคลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองตาม่วง คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองบางหว้า คลองสวนหลวงใต้ คลองรางบัว คลองตาฉ่ำ คลองบางประทุน ลำรางสาธารณะ คลองวัดสิงห์ และคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางแค มีคลองพระยาราชมนตรี คลองบางแวก คลองบางไผ่ และคลองลัดตากลั่นเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต
[แก้]ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของคลองภาษีเจริญซึ่งขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็นพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ ต้นสกุลพิศลยบุตร และบรรพบุรุษของราชสกุลกิติยากร) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้
ประวัติศาสตร์
[แก้]หลังการขุดคลองภาษีเจริญ ได้มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นใน พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี ใน พ.ศ. 2498 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งสุขาภิบาลบางแคขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางแค บางหว้า และบางด้วนที่ตั้งอยู่ริมคลองสายนี้ และใน พ.ศ. 2513 ได้ขยายเขตออกไปจนครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งอำเภอ (เหลือเพียงตำบลบางไผ่ ตำบลบางแวก ส่วนตำบลคูหาสวรรค์และตำบลปากคลองภาษีเจริญอยู่ในเขตเทศบาลนครธนบุรีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2479)
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ซึ่งได้ยุบการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ ตั้งแต่นั้น มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง
ต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขตภาษีเจริญมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และใน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของสำนักงานเขตภาษีเจริญสาขาดังกล่าวออกไปตั้งเป็นเขตบางแค
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตภาษีเจริญแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 แขวง คือ
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
บางหว้า | Bang Wa | 5.105 |
38,106 |
7,464.45 |
|
2. |
บางด้วน | Bang Duan | 2.514 |
27,047 |
10,758.55
| |
6. |
บางจาก | Bang Chak | 1.394 |
7,940 |
5,695.84
| |
7. |
บางแวก | Bang Waek | 3.022 |
18,135 |
6,000.99
| |
8. |
คลองขวาง | Khlong Khwang | 2.992 |
10,510 |
3,512.70
| |
9. |
ปากคลองภาษีเจริญ | Pak Khlong Phasi Charoen | 1.898 |
14,332 |
7,551.11
| |
10. |
คูหาสวรรค์ | Khuha Sawan | 0.909 |
5,763 |
6,339.93
| |
ทั้งหมด | 17.834 |
121,833 |
6,831.50
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตบางแค
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตภาษีเจริญ[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 260,595 | ไม่ทราบ |
2536 | 268,020 | +7,425 |
2537 | 273,109 | +5,089 |
2538 | 274,552 | +1,443 |
2539 | 144,114 | แบ่งเขต |
2540 | 143,113 | -1,001 |
2541 | 142,694 | -419 |
2542 | 142,174 | -520 |
2543 | 141,063 | -1,111 |
2544 | 140,293 | -770 |
2545 | 140,254 | -39 |
2546 | 140,051 | -203 |
2547 | 137,460 | -2,591 |
2548 | 136,240 | -1,220 |
2549 | 135,149 | -1,091 |
2550 | 134,407 | -742 |
2551 | 133,622 | -785 |
2552 | 132,670 | -952 |
2553 | 131,363 | -1,307 |
2554 | 130,493 | -870 |
2555 | 129,800 | -693 |
2556 | 129,559 | -241 |
2557 | 129,238 | -321 |
2558 | 128,461 | -777 |
2559 | 127,582 | -879 |
2560 | 126,824 | -758 |
2561 | 125,981 | -843 |
2562 | 126,160 | +179 |
2563 | 124,318 | -1,842 |
2564 | 122,824 | -1,494 |
2565 | 122,070 | -754 |
2566 | 121,833 | -237 |
การคมนาคม
[แก้]ถนน
[แก้]ถนนสายหลัก
[แก้]- ถนนเพชรเกษม ตัดผ่านพื้นที่ทางใต้ของเขตภาษีเจริญ ตัดผ่านทางด้านทิศตะวันออกไปยังทิศใต้ เริ่มต้นเข้าสู่เขตภาษีเจริญจากคลองบางกอกใหญ่ แขวงปากคลองภาษีเจริญ ต่อเนื่องมาจากแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ และไปสิ้นสุดที่คลองพระยาราชมนตรี แขวงบางหว้า ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางแค เขตบางแค ต่อไป
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ถนนพุทธมณฑล สาย 1
ถนนสายรอง
[แก้]- ถนนเทอดไท
- ถนนรัชมงคลประสาธน์ (เทอดไท / คลองภาษีเจริญ)
- ถนนศาลธนบุรี
- ถนนบางแวก
- ถนนราชมนตรี
- ซอยเพชรเกษม 48 / ซอยบางแวก 69 (วัดจันทร์ประดิษฐาราม)
รถไฟฟ้า
[แก้]รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลหรือสายสีน้ำเงิน
[แก้]- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (โครงการส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง–บางแค) เป็นโครงการยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ต่อเนื่องมาจากเขตบางกอกใหญ่ ผ่านพื้นที่เขตภาษีเจริญ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและเข้าสู่เขตบางแค มีสถานีที่อยู่ในพื้นที่เขตภาษีเจริญทั้งหมด 4 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 และสถานีภาษีเจริญ ซึ่งใน��ณะนี้เปิดให้บริการแล้ว
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
[แก้]- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ตัดผ่านในเขตภาษีเจริญ เป็นโครงการส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่–บางหว้า โดยเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่เขตภาษีเจริญจากเขตธนบุรี เป็นโครงการยกระดับตามแนวถนนราชพฤกษ์ สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมนั้น มีสถานีอยู่ในเขตภาษีเจริญ 1 สถานีและเป็นสถานีปลายทาง คือ สถานีบางหว้า
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดและศาลเจ้า
- วัดปากน้ำภาษีเจริญ
- วัดอัปสรสวรรค์
- วัดนางชีวรวิหาร
- วัดนวลนรดิศวรวิหาร
- ศาลขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า
- วัดนิมมานรดี
- วัดทองศาลางาม
- วัดคูหาสวรรค์
- วัดจันทร์ประดิษฐาราม
- วัดอ่างแก้ว
- วัดโคนอน ภาษีเจริญ
- วัดธรรมมาสน์นักบุญเปโตร
- วัดตะล่อม
- วัดกำแพง
- วัดไชยฉิมพลี
- วัดมะพร้าวเตี้ย
- วัดโบสถ์อินทรสารเพชร
- วัดยางบางจาก
- วัดกำแพงบางจาก
- วัดวิจิตรการนิมิตร
- วัดโตนด
- วัดตะโน
- วัดนก
- วัดบางแวก
- วัดเพลง ภาษีเจริญ
- วัดจันทร์ประดิษฐาราม
- วัดรางบัว
- วัดปากน้ำฝั่งใต้
- วัดนาคปรก
- ศาลเจ้ารางบัว (ศาลเจ้าพ่อกวนอู)
- ศาลเจ้าปึงเถ่ากง สมาคมมิตรภาพบางแค
- โรงพยาบาลและสถานสงเคราะห์
- ตลาด
สถานศึกษา
[แก้]
ระดับอนุบาล–ประถมศึกษา
|
ระดับอนุบาล–มัธยมศึกษา
|
ระดับมัธยมศึกษา |
ระดับอุดมศึกษา
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. สืบค้น 21 กันยายน 2552.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.