กอบกุล นพอมรบดี
กอบกุล นพอมรบดี | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (2 ปี 336 วัน) | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | สมศักดิ์ รัตนมุง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | กอบกุล ศักดิ์สมบูรณ์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2502 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
เสียชีวิต | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (46 ปี) อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2547–2549) ชาติพัฒนา (2543–2547) |
คู่สมรส | มานิต นพอมรบดี |
บุตร | กุลวลี นพอมรบดี |
กอบกุล นพอมรบดี (13 ตุลาคม พ.ศ. 2502 — 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี
โดยเป็นลูกพี่ลูกน้องของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ[1] โดยเป็นบุตรีของกำนันเล็ก ศักดิ์สมบูรณ์ (กำนันตำบลท่าราบ) ซึ่งเป็นน้าชายแท้ ๆ ของนายสุวัจน์ กับนางน้ำเงิน ศักดิ์สมบูรณ์ นางกอบกุล มีน้องชายหนึ่งคนได้แก่ นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26[2]
นางกอบกุลสมรสกับนายมานิต นพอมรบดี มีบุตรธิดาทั้งหมด 3 คน หนึ่งในนั้นคือ นางสาวกุลวลี นพอมรบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 1 จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 นางกอบกุล ถึงแก่อนิจกรรมจากการถูกคนร้ายลอบยิงด้วยอาวุธปืนระหว่างเดินทางลงพื้นที่พบปะประชาชนในเขตจังหวัดราชบุรี[3] หลังชนะการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2549
การศึกษา
[แก้]- ระดับมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์
- ระดับประกาศนียบัตรทางการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- ระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชี จาก มหาวิทยาลัยสยาม (ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปี พ.ศ. 2547)
- ระดับปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เส้นทางการเมือง
[แก้]นางกอบกุล นพอมรบดี เริ่มต้นอาชีพนักการเมืองจากระดับท้องถิ่น โดยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี เขตอำเภอเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้รับตำแหน่งรองประธานสภาจังหวัด และต่อมาได้รับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี และเริ่มเข้าสู่การเมืองระดับชาติครั้งแรกจากการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ราชบุรี เขต 1 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยแรกในนามพรรคชาติพัฒนา ที่ภายหลังได้ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทยในพ.ศ. 2547 ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ซึ่งนางกอบกุล นพอมรบดี ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทยในเขตเลือกตั้งเดิมและได้รับการเลือกตั้งเช่นเดิมเป็นสมัยที่สอง
บทบาทในสภาผู้แทนราษฏร นางกอบกุลเคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในหลายคณะพร้อมดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมาธิการกิจการเด็ก สตรีและผู้สูงอายุ, ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการการตำรวจปี พ.ศ. 2548 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2549 เป็นต้น
นางกอบกุลนับว่าเป็นเป็น ส.ส.ที่ทำงานหนัก ทุ่มเทและใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดคนหนึ่ง ฐานเสียงแน่น เป็นที่รักของประชาชนมากมาย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ราชบุรีติดต่อกันถึงสามสมัย ครั้งสุดท้ายจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ราชบุรี เขต 1 ด้วยคะแนน 39,697 คะแนน ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ
การเสียชีวิต
[แก้]นางกอบกุล นพอมรบดี ถูกยิงเสียชีวิตอย่างอุกอาจในช่วงค่ำวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [4][5] โดยกลุ่มคนร้ายขับรถยนต์ประกบและใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 สองกระบอกถล่มยิงเข้าใส่รถยนต์ที่กอบกุลนั่งโดยสารขณะกำลังรอสัญญาณไฟแดงบริเวณสี่แยกเจดีย์หัก ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จึงส่งผลให้นางกอบกุลเสียชีวิตทันที ส่วนตำรวจที่ติดตามอารักขาได้รับบาดเจ็บ[6] ในส่วนของคดีอาญาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสืบสวนและจับกุมกลุ่มผู้ร่วมก่อเหตุทั้งหมดได้ในเวลาต่อมา [7] และศาลฎีกาได้พิพากษายืนให้ลงโทษประหารชีวิตผู้ลงมือสังหาร [8] และพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ร่วมก่อเหตุแต่ให้การรับสารภาพอีกสองคน [9] [10] แม้จะยังไม่มีการขยายผลเชื่อมโยงไปถึงตัวผู้บงการหรือผู้จ้างวาน ซึ่งมูลเหตุจูงใจในการสังหารโหดครั้งนี้ก็ยังคงเป็นที่คลุมเครืออยู่จนถึงปัจจุบ��น
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานโกศและน้ำหลวงอาบศพ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาเป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ต่อมาวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภและนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เดินทางมาในพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘สุวัจน์’ดีใจกลับบ้านเกิดเมืองโอ่ง-ชี้ข้อดี‘มวยรองต่อยสบาย’
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 307 ง หน้า 29 วันที่ 6 ธันวาคม 2566
- ↑ "ถล่มเอ็ม16 ส.ส.กอบกุล ดับสยองกลางราชบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-11. สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
- ↑ รวบทีมฆ่าสส."กอบกุล"ครบ เตรียมออกหมายจับผู้บงการ
- ↑ ถล่มเอ็ม16 ส.ส.กอบกุล ดับสยองกลางราชบุรี
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
- ↑ ถล่มเอ็ม16 ส.ส.กอบกุล ดับสยองกลางราชบุรี
- ↑ "ศาลฎีกาพิพากษายืนสั่งประหารชีวิต สท.ต่าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
- ↑ อุทธรณ์ยืนประหารชีวิต “ส.ท.ต่าย” สังหาร “กอบกุล นพอมรบดี" อดีตส.ส.เพื่อไทย
- ↑ บรรยากาศงานศพวันสุดท้าย อดีต ส.ส.กอบกุล นพอมรบดี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2549
- บุคคลจากอำเภอบ้านโป่ง
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดราชบุรี
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- นักการเมืองไทยที่ถูกลอบสังหาร