มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Kalasin University | |
ตรายอดใบเสมา สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ |
---|---|
ชื่อย่อ | มกส. / KSU |
คติพจน์ | ความรู้สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาสร้างสังคม |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 9 กันยายน พ.ศ. 2558 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ | คณะวิชา |
งบประมาณ | 425,191,600 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | วินัย วิทยานุกูล (ทำหน้าที่แทน) |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กีรวิชญ์ เพชรจุล (รักษาราชการแทน) |
อาจารย์ | 304 คน (พ.ศ. 2565) |
บุคลากรทั้งหมด | 557 คน (พ.ศ. 2565) |
ผู้ศึกษา | 4,916 คน (พ.ศ. 2567)[2] |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | พื้นที่ของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง |
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ |
ต้นไม้ | มะหาด |
สี | ██ สีฟ้าคราม |
ฉายา | มอน้ำดำ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (อังกฤษ: Kalasin University, อักษรย่อ: มกส. – KSU) คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดจากการรวมกันของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ มีการจัดโครงสร้างการเรียนการสอนแบ่งเป็น 6 คณะ จำนวนหลักสูตรทั้งสิ้น 67 หลักสูตร โดยแบ่งเป็น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจำนวน 10 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี (เทียบโอนรายวิชา) จำนวน 11 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีหลักสูตร 3 ปี (เทียบโอนรายวิชา) จำนวน 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี จำนวน 32 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี จำนวน 6 หลักสูตร และระดับปริญญาโท จำนวน 7 หลักสูตร
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พุทธศักราช 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งการควบรวมมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งนี้จะเป็นการปรับปรุงการดำเนินการ และเป็นการลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน โดยให้บทบาทหน้าที่ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ว่าด้วยให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันทางวิชาการที่ให้ความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่นและสังคม ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน ทะนุบำรุงศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของรัฐและท้องถิ่นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อมูลพื้นฐานมหาวิทยาลัยเดิมก่อนมีการควบรวม
[แก้]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
[แก้]พ.ศ. 2482 ก่อตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แผนกเกษตรกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม และในปี พ.ศ. 2508 ได้รับการจัดตั้งเป็นเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ สังกัดกรมอาชีวศึกษา เปิดสอนในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากนั้น พ.ศ. 2518 ได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรกรรมกาฬสินธุ์"
ในปี พ.ศ. 2531 วิทยาลัยฯ ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และวิทยาเขตเกษตรกรรมกาฬสินธุ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสิน���ุ์" และได้รับการยกฐานะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
[แก้]มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จัดตั้งขึ้นตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 สมัยนายสุขวิช รังสิตพลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ขออนุมัติ และมีมติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันราชภัฏชัยภูมิ สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ สถาบันราชภัฏนครพนม และสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์
ในระยะแรกได้ดำเนินการในรูปของ "โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์" ซึ่งสามารถเปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาได้เป็นครั้งแรก ในปีการศึกษา พ.ศ. 2542 และปริญญาตรี ในปีการศึกษา พ.ศ. 2544 ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "สถาบันราชภัฏ" และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์เปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์"
การควบรวมมหาวิทยาลัย
[แก้]ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[3][4] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน[5]ซึ่งต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระ 3 เห็นชอบให้ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ด้วยคะแนน 173-1 เสียง
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
[แก้]-
ตรายอดใบเสมา
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์ มีความหมายดังต่อไปนี้[6]
- รูปยอดใบเสมา มีที่มาจากรูปทรง 3 รูป ได้แก่
- ปลายยอดขององค์พระธาตุยาคู ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธี้คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกาฬสินธ์ สื่อความหมายถึง ป้ญญาและคุณธรรมอันเป็นสองสิ่งที่ประเสริฐที่สุด
- ใบเสมา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดกาฬสินธ์ สื่อความหมายถึง ความมีอารยธรรม ความยิ่งใหญ่ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง
- เปลวเทียน สื่อความหมายถึง ความสว่างไสว ความรู้ ปัญญา และคุณธรรม
- รูปมือสองข้างประนมเข้าหากัน สื่อความหมายถึง การบูรณาการร่วมกันของสองสถาบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธ์ ซึ่งเป็นหลัก ในการก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยกาฬสินธ์
- รูปหยดนํ้า สื่อความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดกาฬสินธ์
- รูปเปลวเทียน แบ่งเป็น 3 ส่วน สื่อความหมายถึง การผนวกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นปณิธานและพันธกิจของมหาวิทยาลัยกาฬสินธ์ ที่มุ่งใช้ เพื่อพัฒนาชุมชนและลังคม
- สีของตราสัญลักษณ์เป็นสีฟ้าคราม โดยสีฟ้าครามเข้ม สื่อความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ของความรู้และปัญญา ความเป็นอิสระ แรงบ��นดาลใจ และพลังความคิดสร้างสรรค์ และสีฟ้าครามอ่อน สื่อความหมายถึง บัณฑิตผู้มีความอดทน มุ่งมั่น สงบ และอ่อนน้อม
ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย
[แก้]นายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ | |
---|---|
รายนามนายกสภา | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ | พ.ศ. 2558 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559 |
2. นายบัณฑูร สุภัควณิช | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 9 กันยายน พ.ศ. 2559 [7] |
3. ศ.กิตติคุณ นายแพทย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และผู้รักษาการแทนนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
ทำเนียบอธิการบดี
[แก้]อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ | |
---|---|
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร โฆสิระโยธิน | พ.ศ. 2558 - 6 มีนาคม 2559 (รักษาราชการแทน) |
2. รองศาสตราจารย์ จิระพันธ์ ห้วยแสน | 6 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (รักษาราชการแทน) 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559[9] - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2564 12 กันยายน พ.ศ. 2564[10] - ปัจจุบัน |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล | 1 ตุลาคม 2567 - (รักษาราชการแทน) |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี และผู้รักษาการแทนอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
คณะที่เปิดสอน
[แก้]
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่ในเมือง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เดิม) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน (มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ เดิม)
|
หมายเหตุ ในบางสาขาวิชาอาจมีการเรียนการสอนมากกว่าหนึ่งพื้นที่
สถานที่ตั้ง
[แก้]มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน รวมเนื้อที่จำนวนทั้งสิ้น 3,800 ไร่ 2 งาน 92.5 ตารางวา ดังนี้
- พื้นที่ในเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 439 ไร่ 1 งาน 65.90 ตารางวา
- พื้นที่นามน ตั้งอยู่ที่บ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 2,119 ไร่ 30.80 ตารางวา
- พื้นที่ในเขตอำเภอกมลาไสย ตั้งอยู่ที่ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 7 ไร่ 95.80 ตารางวา (ขายทอดตลาด)
- ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูสิงห์ ตั้งอยู่ที่ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื้อที่ 1,155 ไร่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
- ↑ "โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-08.
- ↑ "หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28. สืบค้นเมื่อ 2017-06-20.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 133 ง พิเศษ หน้า 3 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 http://www.matichon.co.th/news/292784
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-16. สืบค้นเมื่อ 2017-06-20.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (นายจิระพันธ์ ห้วยแสน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 139 ง พิเศษ หน้า 6 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เก็บถาวร 2015-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน