ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดอุดรธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดอุดรธานี
Regional Distance Education Center-Udon Thani, Sukhothai Thammathirat Open University
ป้ายศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. จังหวัดอุดรธานี
สถาปนาพ.ศ. 2543
ผู้อำนวยการเยียรยง ไชยรัตน์
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/main/

ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช จังหวัดอุดรธานี (อังกฤษ: Regional Distance Education Center-Udon Thani, Sukhothai Thammathirat Open University) เป็นศูนย์ให้บริการการศึกษาในส่วนภูมิภาค 1 ใน 10 แห่งของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช "ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี" ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย  สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี 

ประวัติ

[แก้]

ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี แรกเริ่มก่อสร้างด้วยมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณแผ่นดินในปี พ.ศ. 2531 เพื่อก่อสร้าง "ศูนย์วิทยบริการ" ขยายไปยังภูมิภาต่างๆของประเทศ

จนต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้เปิดให้บริการที่จังหวัดอุดรธานี ลำปาง พร้อมกันเป็นลำดับที่ 3 ของการขยายศูนย์วิทยบริการของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการทั้งหมด 10 แห่ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์วิทยพัฒนา" ซึ่งหมายถึง "แหล่งพัฒนาความรู้" เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ศูนย์ฯ เป็นเสมือนตัวแทนของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค โดยมีขอบข่ายงานกว้างขวาง ทั้งการให้บริการแก่นักศึกษาทุกระดับที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย จึงจำเป็นต้องมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องประสานกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย

ซึ่งในปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง "สำนักวิทยพัฒนา" ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในอย่างไม่เป็นทางการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ ติดต่อประสานงาน ติดตามประเมินผล และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด[1]

คำว่า "ศูนย์วิทยพัฒนา" ไม่ได้หมายถึง วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย แต่เป็นเสมือนตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคกระจายตามภาคต่างๆ ของประเทศ ปัจจุบันมี 10 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์ฯนครศรีธรรมราช นครสวรรค์ อุบลราชธานี เพชรบุรี สุโขทัย ลำปาง อุดรธานี ยะลา จันทบุรี และนครนายก

ขอบเขต

[แก้]

ศูนย์วิทยพัฒนา มีขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบให้บริการครอบคลุมจังหวัดใกล้เคียง 5-10 จังหวัด ทั้งนี้ศูนย์วิทยพัฒนาจะเป็นแหล่งในการให้บริการด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัย บริการประชุมสัมมนา และฝึกอบรม ในด้านวิชาการและวิชาชีพ บริการสื่อการศึกษาทุกรูปแบบ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยให้บริการ ณ ที่ทำการศูนย์วิทยพัฒนา และการบริการเคลื่อนที่เข้าสู่ชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยาพัฒนาแต่ละแห่ง การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งการวิจัยของคณาจารย์ และนักวิชาการของมาหวิทยาลัย ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและชุมชน การกระจายความรู้ เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาชุมชนให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

การเดินทาง

[แก้]
  • รถโดยสารประจำทาง
  1. จากในตัวเมืองอุดรธานี รถสองแถวสาย 45 บริเวณห้าแยกวงเวียนน้ำพุ,หน้าห้างสรรพสินค้าท๊อปเวิล ผ่านราชภัฎอุดรธานี ผ่านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ ผ่านบายพาสอุดร-ขอนแก่น ผ่านแยกผ่านปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด ลงบริเวณแยกทางศูนย์วิทยพัฒนา (มีป้าย��่อมถนน) เดินทางเข้าซอยประมาณ 500 เมตร 
  2. จากในตัวเมืองอุดรธานี รถสองแถวสาย 44 บริเวณฝั่งตรงข้ามห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ผ่าน บขส. ผ่านห้างสรรพสินค้าท๊อปเวิล ผ่านราชภัฎอุดรธานี ผ่านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ ผ่านบายพาสอุดร-ขอนแก่น ลงปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด (เดินทางต่อโดยรถสามล้อรับจ้าง) เข้าศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี 
  3. จากในตัวเมืองอุดรธานี รถมินิบัสสายโนนสูงนาข่า บริเวณหน้าโรงพยาบาลไพโรจน์แยกหนองคาย ผ่านตลาดบ้านห้วย ผ่านหอนาฬิกา ผ่าน กศน. ผ่านราชภัฎอุดรธานี ผ่านโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ ผ่านบายพาสอุดร-ขอนแก่น ลงปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด เดินทางต่อโดยรถสามล้อรับจ้าง เข้าศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี 
  4. กรณีเดินทางจากเส้นทางขอนแก่น ก่อนเข้าเมือง 6 ก.ม. ลงปากทางดงเค็ง เข้าซอยวัดป่าบ้านตาด(วัดหลวงตามหาบัว) เดินทางต่อโดยรถสามล้อรับจ้าง เข้าศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี
  • รถส่วนตัว
  1. เดินทางตามเส้นทางเดียวกันรถโดยสาร

เขตพื้นที่รับผิดชอบ

[แก้]

ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี มีเขตพื้นที่รับผิดชอบในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ด้านทิศตะวันตก) 11 จังหวัด ได้แก่ ประกอบด้วย 17 ศูนย์สนามสอบโรงเรียน[2]

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]