ธีรชัย นาควานิช
ธีรชัย นาควานิช | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | พลเอก อุดมเดช สีตบุตร |
ถัดไป | พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท |
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | อุดมเดช สีตบุตร |
ถัดไป | เฉลิมชัย สิทธิสาท |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 |
คู่สมรส | พลโทหญิง บุญรักษา นาควานิช |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2519 - 2559 |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพบก |
พลเอก ธีรชัย นาควานิช (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498) เป็นนายทหาร อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตองคมนตรี[1][2] และอดีตราชองครักษ์พิเศษ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. ธีรชัย นาควานิช ชื่อเล่น หมู หรือ บิ๊กหมู เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของพลตรี ธวัชชัย นาควานิช กับ ม.ร.ว.พิศวาส ดิศกุล นาควานิช[3] มีพี่น้อง 4 คนคือ
- พล.ต.หญิง มนัสสวาสดิ์ อานุภาพ ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงกลาโหม
- พล.อ. ธีรชัย นาควานิช อดีตองคมนตรี อดีตผู้บัญชาการทหารบก
- พล.ท. ปิยวัฒน์ นาควานิช ตุลาการศาลทหารสูงสุด[4] อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไข้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตราชองครักษ์เวร[5]
- พล.อ. วุฒิชัย นาควานิช ราชองครักษ์[6] ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 1 อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9
การศึกษา
[แก้]จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน รุ่นที่ 15 รุ่นเดียวกับ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง และน.อ. วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 รุ่นเดียวกับ พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร, พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์, พล.อ. นิพัทธ์ ทองเล็ก, พล.อ. ประสูตร รัศมีแพทย์
การรับราชการ
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2550 : เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1[7]
- พ.ศ. 2551 : รองแม่ทัพน้อยที่ 1[8]
- พ.ศ. 2552 : รองแม่ทัพภาคที่ 1[9]
- พ.ศ. 2553 : แม่ทัพน้อยที่ 1[10]
- พ.ศ. 2554 : ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายส่งกำลังบำรุง[11]
- พ.ศ. 2555 : รองเสนาธิการทหารบก[12]
- พ.ศ. 2556 : แม่ทัพภาคที่ 1[13]
- พ.ศ. 2557 : ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[14]
- พ.ศ. 2558 : ผู้บัญชาการทหารบก[15]
พล.อ .ธีรชัย นาควานิช ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 39 เป็นนายทหารจากถิ่นบูรพาพยัคฆ์ ที่ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นคนที่ 5
เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 มีบทบาทสำคัญในช่วงรัฐประหาร ถือว่าได้ร่วมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย รวมทั้งเคยเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบ ซึ่งมีความคุ้นเคยกับ ผบ.หน่วยคุมกำลังหลักในกรุงเทพฯ นอกจากความอาวุโสแล้ว ผบ.ทบ.คนใหม่ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของบ้านเมืองที่ยังมีความขัดแย้ง จึงต้องทำงานเข้าขากับทุกฝ่าย และคำนึงถึงมิติความมั่นคงด้วย [16]
ราชการพิเศษ
[แก้]- อดีตองคมนตรี
- อดีตราชองครักษ์พิเศษ[17]
- อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด[18]
- ประธานกรรมการ การประปาส่วนภูมิภาค
- กรรมการการไฟฟ้านครหลวง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- อดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์[19]และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด
- กรรมการ ธนาคารทหารไทย
- อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[21]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[22]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[23]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[24]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ พระราชโองการ ประกาศให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
- ↑ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ธวัชชัย นาควานิช บิดาแม่ทัพภาคที่ 1 ณ เมรุหลวงพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ ราชองครักษ์เวร
- ↑ โปรดเกล้าฯนายทหารตำรวจราชองครักษ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๔ ตอน ๑๐๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๕ ตอน พิเศษ ๑๖๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๑๕๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๗ ตอน พิเศษ ๑๓๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๙ ตอน พิเศษ ๑๔๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ ประวัติ 4 นายทหาร สู่ตำแหน่งสำคัญในกองทัพ
- ↑ ราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- ↑ ทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
- ↑ อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๔ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่อง���ิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๑, ๘ มีนาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า | ธีรชัย นาควานิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559) |
พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 10
- ทหารบกชาวไทย
- แม่ทัพภาคที่ 1
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ราชสกุลดิศกุล